HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
22 กุมภาพันธ์ 2553

Reward Management Series: องค์ประกอบของค่าจ้าง



คำว่าค่าจ้างนั้น หมายถึง เงินที่ให้ตอบแทนการทำงานของพนักงาน โดยปกติพนักงานที่เข้ามาทำงานในบริษัทจะได้รับค่าจ้างเพื่อตอบแทนค่าเหนื่อย ค่าจ้างโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้


* เงินเดือนมูลฐาน ซึ่งก็คือ เงินเดือนรายเดือน หรือ ค่าจ้างรายวัน ที่ตอบแทนการทำงานของพนักงานโดยตรง โดยปกติเงินเดือนจะเป็นรายได้หลักของพนักงาน และเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องบริหารอย่างเป็นธรรม ซึ่งก็มักจะบริหารตามหลักของค่างานเป็นหลัก ก็คืองานไหนที่มีความยากมากกว่า ก็มักจะได้รับอัตราเงินเดือนที่สูงกว่างานที่ง่ายกว่า โดยที่ความยากง่ายนั้นโดยทั่วไปก็ใช้วิธีการประเมินค่างานเป็นเครื่องมือใน การจัดระดับงานตามความยากง่ายนี้


* เงินจูงใจ โดยทั่วไปจะเป็นเงินที่ให้นอกเหนือจากเงินเดือน และใช้ในการจูงใจพนักงานในการสร้างผลงาน ลักษณะของเงินจูงใจก็เช่น โบนัสตามผลงาน เงิน Incentive ตามผลงานในรูปแบบต่างๆ ที่ให้กับพนักงานเพื่อให้พนักงานสร้างผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ วิชาชีพที่ต้องใช้เงินจูงใจเป็นองค์ประกอบของค่าจ้างมากหน่อยก็คือ วิชาชีพการขาย ซึ่งพนักงานขายเกือบแทบทุกบริษัทจะมีเงินคอมมิชชั่นจากการขายให้ตามเป้ายอด ขายที่ทำได้


แต่อย่างไรก็คือ ในปัจจุบัน เงินจูงใจก็ได้นำมาใช้สำหรับพนักงานในสายงานสนับสนุนมากขึ้น เพราะหน่วยงานสนับสนุนก็สามารถที่จะสร้างผลงานเพื่อให้องค์กรได้กำไรมากขึ้น ได้เช่นกัน ซึ่งลักษณะการตั้งเงินจูงใจสำหรับหน่วยงานสนับสนุนก็มักจะเป็นในรูปแบบของ Gain Sharing ซึ่งก็คือ การตั้งเป้าหมายไว้ และถ้าทำงานได้ตามเป้าหมาย ก็จะแบ่งเงินในส่วนนี้เป็นเงินจูงใจให้กับพนักงานที่สามารถทำงานได้ตามเป้า หมายได้ เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าให้ลดค่าใช้จ่ายลงอีก 10% ถ้าทำได้ ก็จะนำเงินค่าใช้จ่ายที่ลดลงนี้มาแบ่งให้กับพนักงานเป็นสัดส่วน เพื่อเป็นรางวัลให้แก่พนักงานในการสร้างผลงาน


* ค่าตอบแทนความยากลำบาก เงินค่าตอบแทนก้อนนี้มักจะให้เพื่อตอบแทนพนักงานที่ต้องทำงานที่มีความยาก ลำบากแตกต่างออกไปจากพนักงานในตำแหน่งงานอื่นๆ ในองค์กร เช่น ตำแหน่งที่ต้องทำงานกับฝุ่นควัน หรือสารเคมีเป็นประจำทุกวัน งานที่มีกลิ่นเหม็น งานที่ต้องเสี่ยงกับอันตรายทางกาย ฯลฯ บริษัทจะจัดให้มีเงินค่าจ้างก้อนนี้ให้กับพนักงานเพื่อตอบแทนความยากลำบาก เหล่านี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พนักงานยินดีที่จะทำงานที่มีสภาพที่แตกต่างกับงานอื่นด้วย มิฉะนั้นก็คงจะไม่มีใครอยากทำงานดังกล่าว


โดยทั่วไปองค์กรทุกองค์กรจะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างนี้สำหรับการจ่ายค่าจ้าง การจ่ายเงินเดือนเพียงอย่างเดียวมันไม่เพียงพอที่จะจูงใจพนักงานให้ทำงานกับ องค์กรได้ สิ่งที่จะต้องมีก็คือ การให้เงินค่าจ้างจูงใจตามผลงาน เพื่อให้พนักงานมีแรงจูงใจในการสร้างผลงานให้กับองค์กรด้วย ซึ่งโดยทั่วไปก็คือ เงินโบนัสตามผลงาน


ดังนั้นองค์กรเกือบ 90% ที่ผมได้ข้อมูลจากผลการสำรวจค่าจ้างในแต่ละปี จะมีค่าจ้างอยู่สองรูปแบบให้กับพนักงานทั่วไป ก็คือ เงินเดือนมูลฐาน และโบนัสประจำปีตามผลงาน ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะจ่ายในอัตราคงที่ หรือจ่ายผันแปรตามผลงานของพนักงาน


ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ กลุ่มพนักงานขาย ที่จะได้เงินเดือนน้อยกว่ากลุ่มพนักงานปกติ แต่สิ่งที่เขาจะได้มากกว่าก็คือเงินตอบแทนการขาย หรือที่เรียกว่า คอมมิชชั่น ซึ่งยิ่งขายได้มาก ก็จะยิ่งได้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วพนักงานขายจะได้รับค่าตอบแทนโดยรวมแล้วมากกว่าพนักงานสายสนับ สนุนอื่นๆ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามหลักของการกระตุ้นยอดขายอยู่แล้ว คงไม่มีพนักงานขายคนไหนที่ขายได้มากเท่าไร ก็ได้รับเงินค่าตอบแทนเท่า หรือน้อยกว่าพนักงานสายสนับสนุนในระดับเดียวกันนะครับ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ ยอดขายของบริษัทจะทะลุเป้าได้ยากมากครับ เพราะพนักงานขายจะไม่ยอมขายให้มากขึ้น เหนื่อยมากแต่ได้ค่าตอบแทนน้อย ก็คงไม่ค่อยมีใครอยากทำหรอกครับ



Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2553 6:00:12 น. 1 comments
Counter : 1443 Pageviews.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:14:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]