HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
19 ตุลาคม 2552

ิสิ่งที่ต้องตัดสินใจในการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ตอนที่ 1

ค่าจ้างเงินเดือนเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารธุรกิจ และเป็นสิ่งที่นายจ้างจะต้องพิจารณาและตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้ระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทสามารถตอบเป้าหมายและวัตถุ ประสงค์ของตัวมันเองได้ ซึ่งก็คือ “การดึงดูด และการรักษาพนักงานให้ทำงานกับบริษัท”

สิ่งสำคัญที่นายจ้างจะต้อง “ตัดสินใจ” เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนจะมีหลักๆ อยู่ 3 ประการคือ

1. ระดับในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน (Pay Level)
2. โครงสร้างของการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน (Pay Structure)
3. ระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน (Pay System)

1. ระดับในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน (Pay Level)

CB022158สิ่ง แรกสุดเลยที่บรรดานายจ้างจะต้องตัดสินใจก็คือ ระดับในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทจะจ่ายในระดับใด เหตุผลก็คือ ถ้าจ่ายในระดับที่ต่ำเกินไป ก็จะมีปัญหาในการดึงดูด และรักษาพนักงานได้ แต่ถ้าจ่ายในระดับที่สูงเกินไป ก็จะมีปัญหาเรื่องของต้นทุนในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารธุรกิจได้ แล้วควรจะจ่ายในระดับไหนดีล่ะ??

ระดับในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและกลยุทธ์ในการ บริหารธุรกิจของบริษัท ซึ่งจะสะท้อนออกมาว่า บริษัทต้องการพนักงานแบบไหน คุณสมบัติอย่างไร เข้ามาทำงานกับบริษัท พูดง่ายๆ ก็คือ ลักษณะของแรงงานที่เราต้องการ ถ้าเราต้องการแรงงานในระดับที่ทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแรงงานฝึมือ ระดับการจ่ายของเราก็จะไม่สูงนัก ก็คือจ่ายในระดับที่สามารถแข่งขันกับธุรกิจในระดับใกล้เคียงกับเราได้ แต่ถ้าเราต้องการแรงงานฝีมือ และต้องการพนักงานในระดับวิชาชีพเฉพาะทางด้วย ระดับการจ่ายของเราก็ต้องสูงขึ้นเพราะคนเหล่านี้มักเป็นที่ต้องการของตลาด อยู่แล้ว

ดังนั้นระดับการจ่ายของบริษัท ที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณานั้น ก็คือ ระดับของการแข่งขันในการจ้างคนว่า เราแข่งกับตลาดกลุ่มใด และต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแบบใด ฝีมือดีสักแค่ไหนด้วย โดยทั่วไประดับการจ่ายที่มักจะคุยกันในแวดวงการบริหารค่าจ้างเงินเดือนจะมี อยู่ 3 ระดับก็คือ

* Quartile 1 หรือ Q1 จะเป็นระดับการจ่ายที่ต่ำกว่าการแข่งขันของตลาดทั่วไป ระดับการจ่ายที่ระดับนี้ มักจะเป็นระดับที่มีไว้เทียบเคียงกับอัตราการจ่ายจริงของเราเอง เพื่อดูว่า เราอยู่ในระดับใดของตลาด แต่คงไม่มีนายจ้างคนใดกำหนดระดับการจ่ายไว้ที่ Q1 แน่นอน เพราะถ้ากำหนดไว้ในระดับนี้ ก็แปลว่า เรามีเป้าหมายที่จะจ่ายต่ำกว่าตลาดทั่วไป แล้วแบบนี้ใครจะกล้ามาสมัครงาน หรืออยากทำงานกับบริษัท จริงมั้ยครับ

* Quartile 2 หรือ Q2 เป็นระดับการจ่ายที่แข่งขันได้กับตลาดที่เราต้องการเปรียบเทียบด้วย ซึ่งระดับในการจ่ายที่ Q2 นี้มักเป็นนโยบายในการจ่ายค่าจ้างของบริษัทส่วนใหญ่ในตลาด เพราะไม่ต้องจ่ายมากเกินไป หรือน้อยเกินไป จ่ายให้ทัดเทียมกับตลาดก็น่าจะแข่งขันได้ ตัวสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการกำหนดระดับการจ่ายที่ Q2 นี้ก็คือ ตลาดที่เราต้องการเปรียบเทียบด้วยว่าเป็นกลุ่มไหน เอาให้ชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะเทียบกับบริษัทที่แข่งขันในการว่าจ้างคนกับบริษัทของ เรา มีธุรกิจใกล้เคียงกัน ทั้งด้านขนาด และจำนวนพนักงาน เป็นต้น เราต้องกำหนดกลุ่มการแข่งขันให้ชัดเจน เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการทำการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน

* Quartile 3 หรือ Q3 เป็นระดับการจ่ายที่เรียกได้ว่า จ่ายสูงกว่าตลาดทั่วไป บริษัทที่ตัดสินใจกำหนดระดับการจ่ายที่ Q3 จะบอกได้อย่างชัดเจนเลยว่า บริษัทมีนโยบายการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนที่สูงกว่าตลาดที่เราแข่งขันด้วย การกำหนดระดับการจ่ายที่ Q3 นี้ มักจะเกิดกับบริษัทที่ต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแบบโดดเด่น และมีฝีมือมากๆ ให้เข้ามาร่วมงานกับบริษัท เพื่อพัฒนาบริษัทให้ไปอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะเป็นบริษัทที่ชื่อเสียงยังแข่งขันสู้กับบริษัทใหญ่กว่าไม่ได้ ก็เลยต้องอาศัยระดับการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนเป็นตัวกระตุ้นและดึงดูดคนให้ เข้ามาสมัคร และทำงานกับบริษัท


นี่คือ 3 ระดับการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต้องตัดสินใจว่า บริษัทของเราจะกำหนดระดับการจ่ายในระดับใด เพื่อจะได้ใช้เป็นเป้าหมายและแนวทางในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนต่อๆ มาอีกหลายเรื่อง บางบริษัทที่ผมเคยพบมา ผู้บริหารไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจน ไม่มีนโยบายด้านนี้ออกมาเลย ผลก็คือ ฝ่ายบุคคล ก็ไม่มีแนวทางในการบริหารค่าจ้างที่ชัดเจน เพราะเรื่องแบบนี้ให้ฝ่ายบุคคลตัดสินใจเองคนเดียวก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เงินของฝ่ายบุคคล จริงมั้ยครับ ผลก็คือ ปัญหาต่างๆ ตามมาอีกเป็นขบวน ไม่ว่า ปัญหาเรื่องของการว่าจ้างพนักงานใหม่ จะจ่ายเท่าไรดี ปัญหาเรื่องโครงสร้างเงินเดือนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร และปัญหาเรื่องของการบริหารเงินเดือนก็ไม่รู้ว่าจะบริหารการขึ้นเงินเดือน อย่างไรดี ก็เพราะเราขาดนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารนั่นเอง


พรุ่งนี้จะมาต่อเรื่องของการตัดสินใจในประเด็นที่ 2 ก็คือ เรื่องของจะกำหนดโครงสร้างอัตราการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนแบบใด และอย่างไรกันครับ


Create Date : 19 ตุลาคม 2552
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 8:46:52 น. 1 comments
Counter : 1315 Pageviews.  

 
เข้ามาอ่านค่ะ


โดย: skyrocket IP: 58.137.180.130 วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:14:23:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]