HR Management and Self Leadership
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
14 พฤษภาคม 2553

ฤดูแห่งการสำรวจค่าจ้างหวนกลับมาอีกครั้ง



ช่วงนี้ก็เป็นช่วงแห่งการเริ่มโครงการ สำรวจค่าจ้างกันของบรรดาบริษัทที่รับทำสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ ในยุคปัจจุบันการบริหารค่าจ้างเงินเดือน จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลจริง เพื่อมาอ้างอิง และเปรียบเทียบการจ่ายของบริษัทเรากับตลาด ซึ่งจะแตกต่างกว่าสมัยเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่เรื่องของการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการนั้น ไม่ค่อยมีบริษัทให้ความสนใจมากนัก เพราะคิดอยู่อย่างเดียวว่า “เงินเดือนเป็นความลับ” พอเป็นความลับก็เลยบอกใครไม่ได้ สุดท้ายก็บริหารค่าจ้างเงินเดือนกันแบบตาบอด ก็คือ เดากันไปเรื่อยๆ ผลก็คือ ค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทก็ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้

แต่ปัจจุบันนี้ฝ่ายบุคคลของหลายๆ บริษัท ก็ได้ศึกษา และนำเอาความรู้ทางด้านการบริหารค่าจ้างเงินเดือนมาใช้งานจริง และเป็นที่รู้กันว่า ในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น เราจะต้องมีข้อมูลการจ่ายของตลาด มิฉะนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถเปรียบเทียบอัตราค่าจ้าง และวางโครงสร้างเงินเดือนของบริษัทได้เลย

สิ่งที่เริ่มทำให้ฝ่ายบุคคลตัดสินใจยากขึ้นก็คือ เราควรจะเข้าร่วม หรือซื้อข้อมูลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนจากบริษัทใด บริษัทไทยๆ หรือจะเป็นบริษัทฝรั่งดี

ในความเห็นผมนั้นผมว่าในปัจจุบัน ข้อมูลในการสำรวจค่าจ้างแทบจะไม่แตกต่างกันเลยในเรื่องของเทคนิคและวิธีการ ทำการสำรวจ สิ่งที่แตกต่างกันมาก ก็คือ จำนวนบริษัทที่เข้าร่วม และธุรกิจที่เข้าร่วมนั้นสามารถที่จะใช้อ้างอิงกับธุรกิจของเราได้หรือไม่ เพราะเราจะต้องนำเอาข้อมูลไปใช้จริง ถ้าข้อมูลการสำรวจค่าจ้างนั้นไม่มีข้อมูลที่ใช้อ้างอิงกับบริษัทของเราได้ เราก็ไม่ควรเข้า เพราะไม่มีประโยชน์อะไรเลย

ดังนั้นสิ่งที่เราควรจะพิจารณาในการเข้าร่วมการสำรวจค่าจ้างก็คือ

* มีธุรกิจที่แข่งขันในการว่าจ้างคนกับบริษัทเราหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจเดียวกันก็ได้ เพียงแต่ใช้คนในลักษณะเดียวกัน ก็คือว่าแข่งขันกันในการจ้างคนแล้ว

* จำนวนธุรกิจที่เราต้องการเปรียบเทียบมีมากพอหรือไม่ อันนี้คงต้องใช้ดุลยพินิจของเราเองว่า จำนวนในตลาดนั้นมีเท่าไร แล้วบริษัทที่เข้าร่วมกันสำรวจกับเรานั้นมีสักกี่บริษัท และสามารถที่จะใช้เป็นตัวแทนของตลาดได้หรือไม่

* ตำแหน่งงานที่ใช้ในการสำรวจค่าจ้างนั้น เป็นตำแหน่งงานที่เปรียบเทียบกับตำแหน่งงานในบริษัทเราได้หรือไม่ รวมทั้งสามารถเปรียบเทียบได้เกือบทุกระดับงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับปฏิบัติการ บังคับบัญชา หรือระดับบริหาร

* วิธีการเก็บข้อมูล และการคำนวณค่าสถิติมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ปัจจุบันถือได้ว่า เกือบทุกแห่งที่ทำการสำรวจค่าจ้างนั้นมีวิธีการเก็บข้อมูล และการคำนวณที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

ดังนั้นในปีนี้ถ้าเราจะเข้าร่วมการสำรวจก็ลองพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นดูนะครับ เผื่อจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเข้าร่วมได้ดีขึ้น เราก็จะมีข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ เวลาผู้บริหารสอบถามว่าข้อมูลมาจากไหน มีบริษัทอะไรบ้าง และตำแหน่งงานเทียบกันได้แน่นะ ฝ่ายบุคคลจะได้ตอบคำถามด้วยความมั่นใจครับ



Create Date : 14 พฤษภาคม 2553
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 7:26:52 น. 0 comments
Counter : 1128 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]