HR Management and Self Leadership
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 สิงหาคม 2553

บริษัทเรามีคุณสมบัติเป็นนายจ้างดีเด่นหรือเปล่า

เมื่อวานนี้ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องของการจัดอันดับบริษัทที่เป็นนายจ้างชั้นดี และน่าทำงานด้วย ซึ่งเขาใช้ชื่อว่า The Best Employer ซึ่งถ้าบริษัทใดสนใจ ผมก็ได้ให้ลิงค์ไปแล้วในบทความที่ผ่านมา วันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเกณฑ์ที่เขาใช้ในการจัดอันดับว่าบริษัทใดที่จะเป็น The Best Employer กันบ้าง เผื่อว่าจะได้แนวคิดในการนำไปใช้พัฒนาบริษัทของเราเองให้เป็นบริษัทชั้นเยี่ยมได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปประกวดกับเขาก็ได้

1. Leadership commitment เกณฑ์แรกเลยก็คือเรื่องของภาวะผู้นำของเหล่าผู้นำในองค์กรของเราว่าเขาเป็นผู้นำที่สร้างความเชื่อถือให้กับพนักงานสักแค่ไหน เขาบริหารงานตามสิ่งที่เขาวางนโยบายไว้จริงหรือไม่ คือไม่ใช่พูดอย่าง แต่ทำจริงกลับกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง แบบนี้เขาเรียกว่าไม่มี Leadership Commitment ครับ ดังนั้นองค์กรที่จะเป็นนายจ้างยอดเยี่ยม ก็ต้องมีผู้นำที่ยอดเยี่ยมไปด้วย

2. Compelling Promise to employees สัญญาตัวแรกเลยที่ผู้บริหารจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นก็คือ เรื่องของการบริหารคน ผู้บริหารให้ความใส่ใจกับนโยบายในการบริหารคนเพียงใด รวมทั้งเมื่อสัญญาอะไรกับพนักงานแล้วทำตามสัญญาที่ให้ไว้หรือไม่ เช่น ผู้บริหารบอกเองว่า เราจะเน้นการพัฒนาคนภายในองค์กรของเราเป็นอันดับแรก แต่พอมีตำแหน่งงานว่างลงทีไร ผู้บริหารก็หันไปรับเอาพนักงานจากภายนอกเข้ามาทำงานแทน แบบนี้พนักงานก็คงจะรู้สึกไม่ดีกับผู้บริหารแน่นอน แบบนี้เรียกได้ว่าผู้บริหารไม่มี commitment ในเรื่องของการให้คำมั่นสัญญากับพนักงาน

3. Align Organization Strategy ผู้บริหารหรือผู้นำขององค์กรจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ และนำเอากลยุทธ์เหล่านั้นมาเชื่อมโยง และร้อยเรียงออกมาให้เกิดผลในทางปฏิบัติให้ได้จริง ไม่ใช่มีแต่กลยุทธ์ แต่ไม่มีผลลัพท์ใดๆ ออกมาให้เห็นเลย

4. Manager Drive a high performance culture ผู้นำต้องผลักดันให้เหล่าบรรดาผู้จัดการสร้างวัฒนธรรมที่เน้นการสร้างผลงานชั้นเลิศ หัวหน้างานและผู้จัดการจะต้องมีวิธีการจูงใจพนักงาน สอนงาน และพัฒนาพนักงาน เพื่อให้สร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กร การสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งสร้างผลงานนั้นไม่ได้หมายความว่าจะเน้นผลสำเร็จของงานเพียงอย่างเดียว แต่จะเน้นถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลสำเร็จนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาพนักงาน การให้ Feedback การสอนงาน จนกระทั่งพนักงานมีความสามารถที่จะสร้างผลงานให้กับบริษัทได้

5. HR delivers value added on people practices นอกจากผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องมี commitment แล้วสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ฝ่ายบุคคลขององค์กรก็จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริหารบุคคลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือก การพัฒนาพนักงาน การบริหารค่าตอบแทน การบริหารผลงาน และการพัฒนาพนักงานตามสายอาชีพ เพื่อเป็นตัวสนับสนุน 4 ข้อด้านบนให้ไปสู่เป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้


นี่ก็คือ 5 เกณฑ์ที่ทางบริษัทฮิววิท แอสโซซิเอท กำหนดไว้สำหรับการจัดอันดับนายจ้างดีเด่นทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก ผมคิดว่าอย่างน้อยก็น่าจะพอเอามาพิจารณาแนวทางในการบริหารองค์กรเราเองได้เหมือนกันนะครับ ว่าผู้นำของเรานั้นบริหารงานได้ตามเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้หรือเปล่า เนื่องจากเกณฑ์เหล่านี้เป็นเกณฑ์สากลที่ทั่วโลกใช้กันในการพิจารณาว่าบริษัทนั้นๆ เป็นบริษัทที่ถือว่าเป็นนายจ้างที่ดีเด่นหรือไม่ และถ้าท่านผู้อ่านคิดว่าบริษัทของท่านเองเข้าข่ายเป็นนายจ้างที่ดีนั้น ก็อาจจะไปสมัครเพื่อลองจัดอันดับดูก็ได้นะครับ เพราะการจัดอันดับนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลยครับ ดีไม่ดีบริษัทจะกลายเป็นบริษัทที่เป็นนายจ้างดีเด่นขึ้นมาจริงๆ ก็ได้นะครับ

สังเกตมั้ยครับว่า การที่บริษัทหรือองค์กรจะดีหรือไม่ดีนั้น เริ่มมาจากผู้นำขององค์กรก่อนเลย ถ้าผู้นำไม่แข็งแรง องค์กรก็จะไม่แข็งแรงไปด้วยครับ


Create Date : 17 สิงหาคม 2553
Last Update : 17 สิงหาคม 2553 5:43:28 น. 0 comments
Counter : 1067 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]