HR Management and Self Leadership
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
1 กันยายน 2553

Performance Feedback สำคัญแค่ไหนกัน

ระยะหลังมานี่ผมได้รับความต้องการจากลูกค้าในเรื่องของการให้ Feedback ทางด้านผลงาน โดยให้ไปบรรยายและฝึกอบรมให้กับบรรดาหัวหน้างานที่จะต้องดูแลและประเมินผลงานพนักงาน ให้รู้จักที่จะให้ Feedback ทางด้านผลงานแก่ลูกน้องตนเอง

พอพูดถึงเรื่อง Feedback ก็เป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะถนัดนัก โดยเฉพาะเมื่อจะต้องบอกพนักงานว่าผลงานของเขาไม่ดี ไม่เข้าตา เพราะความเกรงใจ และกลัวว่าลูกน้องจะไม่ชอบใจ สุดท้ายก็เลยไม่บอกดีกว่า เพราะสบายใจดี ลูกน้องก็ไม่ต้องเกิดความไม่สบายใจ นายเองก็ไม่ต้องรู้สึกตะขิดตะขวงใจว่าจะพูดอย่างไรดี

แต่ผลของการไม่มี Feedback ให้พนักงานจะเป็นอย่างไรครับ ผลก็คือ พนักงานจะไม่รู้เลยว่างานที่ตนเองทำนั้นออกมาดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงอย่างไรบ้างให้ดีขึ้นไปอีก ผลเสียต่อหัวหน้าก็คือ พนักงานจะทำงานเหมือนเดิม เพราะเขาเข้าใจว่า การที่หัวหน้าไม่บอกอะไรเขา ก็แปลว่าเขาทำได้ดีแล้ว ก็เลยทำแบบนั้นต่อไป ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง แต่พนักงานไม่รู้ เพราะหัวหน้าไม่บอก

ผมเคยถามหัวหน้างานและผู้จัดการว่า อยากได้ Feedback จากหัวหน้าของตนเองหรือไม่ เชื่อมั้ยครับ ประมาณ 95% ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากได้ และถามต่อไปอีกว่า ในชีวิตการทำงานจริงๆ ได้รับ Feedback บ้างหรือไม่ คำตอบก็คือ 40% ของหัวหน้าที่ตอบว่าอยากได้นั้น ได้รับ Feedback จริงๆ ในการทำงาน แต่ที่เหลืออีกถึง 60%ไม่เคยได้อะไรจากหัวหน้าของตนเองเลย

จริงๆ เรื่องของการให้ Feedback ด้านผลงานนั้น เป็นหัวใจสำคัญมากในการบริหารผลงานของลูกน้องตนเองเลยนะครับ เพราะการที่เราจะทำให้ลูกน้องของเราทำผลงานได้ดี และได้ตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้นั้น หัวหน้าจะต้องคอยบอก และคอยให้คำแนะนำแก่ลูกน้องของตนเองเสมอ ไม่ใช่ปล่อยให้ลูกน้องเราทำงานไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครคอยบอกคอยแนะ ผลที่ออกมาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการก็ได้นะครับ

ดังนั้นการที่หัวหน้าจะให้ Feedback ทางด้านผลงานแก่ลูกน้องให้ได้ผลนั้น ให้เริ่มที่ตัวงานจะดีกว่านะครับ อย่าไปเริ่มที่ตัวคน หรือชื่อคน เพราะมันจะตรงเกินไปหน่อย เช่น

“ผมอ่านรายงานของคุณแล้วนะ คุณสรุปผิดหลายประเด็นเลยนะครับ”

ประโยคข้างต้นเป็นการบอกว่าเขาผิด ซึ่งบางครั้งพนักงานเองก็อาจจะรับไม่ค่อยได้ ดังนั้นแก้ใหม่ให้เป็นแบบนี้จะดีกว่าไหมครับ

“ผมอ่านรายงานแล้วนะครับ พบว่าในรายงานนั้นมีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนอยู่สองสามประเด็นครับ ซึ่งเราน่าจะมาหารือกันใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี”

ผมคิดว่าแบบหลังนี้จะเน้นประเด็นไปที่ตัวงานมากกว่าตัวคน ซึ่งจะทำให้พนักงานยอมรับ Feedback ของหัวหน้าได้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญก็คือ ต้องให้ Feedback บ่อยๆ และทำอย่างจริงใจ และเน้นไปที่การพัฒนาผลงานของพนักงานจริงๆ ไม่ใช่ทำเพื่อความสะใจของหัวหน้านะครับ แล้วพนักงานก็จะเริ่มเปลี่ยนทัศนคติมอง Feedback เป็นสิ่งที่ดี แล้ววันหนึ่ง หัวหน้าก็อาจจะได้รับคำถามจากลูกน้องตนเองว่า

“เมื่อไหร่จะให้ Feedback หนูซะทีละค่ะ”


Create Date : 01 กันยายน 2553
Last Update : 1 กันยายน 2553 6:21:55 น. 1 comments
Counter : 1388 Pageviews.  

 
ทีมงาน ขี่รถเล่นเย็นๆไข่ และ หมอกันขโมย ขอเป็นกำลังใจให้ท่านเจ้าของบร้อก


โดย: หมอกันขโมย วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:9:30:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]