HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
19 พฤศจิกายน 2552

KPI กับการขึ้นเงินเดือน

ผมได้เคยเขียนบทความในเรื่องของแนวทางในการจัดทำตัวชี้วัดผลงานไปเมื่อ ประมาณ 2 เดือนที่แล้ว ซึ่งก็มีท่านผู้อ่านเข้ามาอ่านเยอะมาก อาจเป็นเพราะหลายๆ บริษัทมีนโยบายให้ฝ่ายบุคคลเป็นเจ้าภาพในการจัดทำตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่ง งานต่างๆ ที่อยู่ในองค์กรขึ้นมา แต่เคยคิดลงไปลึกๆ หรือไม่ครับว่า ทำไมถึงต้องมีการกำหนด KPI กันด้วย


คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้มาจากฝ่ายบริหารก็จะบอกว่า เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการชี้วัดผลงานของพนักงานแต่ละคน ว่ามีความสามารถในการสร้างผลงานได้ดีมากน้อยเพียงใด และสุดท้ายก็จะนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและเป็นข้อมูลหลักในการตัดสินใจ เรื่องของการให้รางวัล ซึ่งก็คือ การให้โบนัส และการขึ้นเงินเดือนตามผลงานของพนักงาน ซึ่งคำตอบนี้มันก็ถูกนะครับ แต่ก็ถูกไม่หมด


KPI นั้นจริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารผลงาน วัตถุประสงค์หลักของการตั้งตัวชี้วัดผลงานขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือใน การพัฒนาฝีมือของพนักงานเป็นหลัก เพราะถ้าไม่มีอะไรบอกว่าผลงานของพนักงานเป็นดี หรือไม่ดีอย่างไร เราก็จะไม่รู้เลยว่าพนักงานแต่ละคนนั้นควรจะได้รับการพัฒนาฝีมือในด้านไหน บ้าง


ส่วนเรื่องของการให้ผลตอบแทนนั้น KPI เป็นเครื่องมืออันหนึ่งก็จริง แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังอย่างมากนะครับ เพราะผลงานของพนักงานนั้นไม่ใช่แค่ตัวชี้วัดผลงานแค่เพียงอย่างเดียว ผลงานยังประกอบไปด้วยพฤติกรรมการทำงานที่ส่งผลต่อผลงาน และศักยภาพของพนักงาน ที่จะสามารถพัฒนางานให้ดีขึ้นๆไปอีก


ดังนั้นถ้าเราเอาตัวชี้วัดผลงานมาเป็นเครื่องมือในการขึ้นเงินเดือนอย่าง ตรงไปตรงมานั้น จากประสบการณ์ที่ผมพบมาแล้วนั้น มีแต่ผลเสียมากกว่าผลดีนะครับ ลองดูกรณีศึกษานี้ดูนะครับ สมมุติว่าเรามีพนักงานขายอยู่ 3 คน สามคนนี้มีฝีมือต่างกัน โดยปกติตัวชี้วัดผลงานนั้นจะกำหนดให้มีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่ กับฝีมือของพนักงานแต่ละคนด้วย


พนักงานขาย ก เป็นพนักงานขายมือดีของบริษัท จึงกำหนดเป้ายอดขายไว้ที่ 65 ล้านบาท

พนักงานขาย ข เป็นพนักงานที่มีผลงานเข้ามาตรฐานปกติ กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 55 ล้านบาท

พนักงานขาย ค เป็นพนักงานขายที่เพิ่งเข้าใหม่ และยังขายไม่ค่อยเก่ง เลยได้เป้าไปที่ 45 ล้านบาท



พอถึงปลายปี ผลงานยอดขายของแต่ละคนออกมาเป็นดังนี้

พนักงานขาย ก ทำยอดได้ 62 ล้านบาท

พนักงานขาย ข ทำยอดได้ 55 ล้านบาท

พนักงานขาย ค ทำยอดได้ 48 ล้านบาท



ปกติในการกำหนด KPI นั้น ถ้าพนักงานทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดเราจะให้คะแนนผลงานที่ C เพราะทำได้ตามเป้า ถ้าทำได้มากกว่าเป้า ก็จะเป็น B หรือ A แล้วแต่ว่าทำได้มากกว่าเป้าสักแค่ไหน จากตัวอย่างข้างบนนั้นผลงานพนักงานจะออกมาดังนี้



พนักงานขาย ก ทำยอดได้ 62 ล้านบาท (ต่ำกว่าเป้า) ได้คะแนนผลงาน D

พนักงานขาย ข ทำยอดได้ 55 ล้านบาท (ได้ตามเป้า) ได้คะแนนผลงาน C

พนักงานขาย ค ทำยอดได้ 48 ล้านบาท (ได้มากกว่าเป้า) ได้คะแนนผลงาน B




ผมถามว่าถ้าเราเอาคะแนนผลงานที่ได้ไปขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานแต่ละคน ตามเกรดที่ได้ จะเกิดอะไรขึ้นครับ ไม่ต้องคิดมากเลย พนักงานที่ขายเก่งที่สุดก็คือพนักงานขาย ก ก็จะขอลาออกในทันที จริงมั้ยครับ ผมถามต่อว่า แล้วใครล่ะที่ควรจะได้รับการขึ้นเงินเดือนมากที่สุด



คำตอบก็คือ นาย ก อยู่ดีจริงมั้ยครับเพราะว่า เขาสามารถทำยอดขายได้มากกว่าพนักงานขายคนอื่น ดังนั้นการขึ้นเงินเดือนกับ KPI นั้น ไม่ได้ไปด้วยกันแบบตรงไปตรงมานะครับ จะต้องพิจารณาในแง่มุมอื่นเพิ่มเติมด้วย ส่วนใหญ่ถ้ามองเรื่องของการขึ้นเงินเดือน ก็จะมองในภาพรวม หรืออาจจะมอง Contribution ที่พนักงานสร้างให้กับองค์กร ว่าใครที่สร้างผลงานในภาพรวมออกมาให้กับองค์กรที่ดีกว่ากัน



ปกติ KPI นั้น จะเอาผลงานของพนักงานไปเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นตัวชี้วัด และนำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาฝีมือของพนักงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่การขึ้นเงินเดือนนั้น เราจะต้องเอาผลงานภาพรวมของพนักงานแต่ละคนมาเทียบกันเองระหว่างพนักงานที่ทำ งานในลักษณะเดียวกันว่าใครที่สร้างผลงานในระดับดีเลิศให้กับองค์กรได้ มากกว่ากัน แล้วจึงเอาผลที่ได้ไปขึ้นเงินเดือนกันต่อไปครับ




Create Date : 19 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2552 7:01:31 น. 6 comments
Counter : 3040 Pageviews.  

 
ผมโชคดีจริงๆที่วันนี้ได้มาเจอบล็อกของคุณประคัลภ์

บทความของคุณเป็นประโยชน์กับผมมากครับ
ยังไงจะรบกวนขอคำแนะนำบ้างนะครับ


โดย: ทิฐิเป็นพิษร้ายต่อความรัก วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:07:07 น.  

 

KPI ถูกยกเลิกใช้ในบริษัทฯ เมื่อสามปีที่แล้ว

เนื่องจากว่าพอประเมินแล้วได้อย่างที่คุณบอกเลยค่ะ
พนักงานชิงลาออกกันเป็นแถว
ทำงานได้ดี เงินเข้าบริษัทฯ แต่พอประเมินกลับได้ C
แต่ไอ้คนที่ทำเงินเข้าน้อย แต่ทะลุเป้าได้ B

หวัดดียามเช้าค่ะคุณsinghip







โดย: aenew วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:12:05 น.  

 
สวัสดีครับคุณ ทิฐิเป็นพิษร้ายต่อความรัก

ยินดีเลยครับ ถ้าผมสามารถช่วยอะไรได้ก็ยินดีมากๆ ครับ

เขียนมาคุยกันได้นะครับ


โดย: singhip วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:12:37 น.  

 
คุณ aenew

KPI จุดดีมันก็มีนะครับ แต่คงต้องใช้ให้ถูกวิธีครับผม ไม่งั้นก็จะเจอแบบที่คุณ aenew เล่ามาแน่นอนครับ


โดย: singhip วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:14:10 น.  

 
My last company. Almost KPI project meet target but a lot of them is very low quality. So the customer complain very much. I think to use KPI should use another tool for quality control too.


โดย: Mookoop วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:13:58 น.  

 
เป็นเรื่อง เหมือนกับคุณ aenew เลย ตั้งใจทำงานมาก แต่ kpi มันห่วยมาก ประเมินออกมาได้ c ชัดเจนเลย โดนมาแร้ว แล้วก้อตอนนี้ออกมาแร้วด้วย มันเป็นอย่างนี้จริงๆ ที่ทำงานที่ต้องแข่งขันสูง โดยเฉพาะคนที่ทำเป้าเก่ง กับคนที่ปานกลาง และไม่เก่งเลย เกือบจะตีกัน เบื่ออ่ะ kpi คนทำงานโดนให้อยู่ชั้นล่าง คนไม่ทำอะไรเลย ดันได้อยู่ชั้นบน อิอิ


โดย: aa IP: 124.121.223.110 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:55:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]