HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
13 พฤศจิกายน 2552

ผลงานกับการขึ้นเงินเดือน

ช่วงปลายปีแบบนี้ เป็นช่วงที่เกือบทุกบริษัทจะต้องทำเรื่องของการประเมินผลงานของพนักงาน และต้องนำเอาผลงานที่ได้นั้นมาพิจารณาเพื่อขึ้นเงินเดือน และให้รางวัลในการทำงานแก่พนักงาน เพื่อเป็นการจูงใจพนักงานที่สร้างผลงานได้ดี ให้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป

ประเด็นเรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงานนั้น จากประสบการณ์ที่ผมได้พบมาจากบริษัทต่างๆ จะเห็นได้ชัดเจนว่า พนักงานที่มีผลงานดีมาก กับพนักงานที่มีผลงานไม่ดีนั้น แทบจะได้รับอัตราเงินเดือนขึ้นที่ไม่แตกต่างกันสักเท่าไร



ตัวเลขที่ผมสำรวจมาก็คือ พนักงานที่มีผลงานในระดับดีเลิศ(A) จะได้รับอัตราเงินขึ้นต่างกับพนักงานที่มีผลงานในระดับแย่มาก (DหรือE) อยู่ที่เฉลี่ย 4% เท่านั้น ถ้าลองพิจารณาจากตัวเงินเดือนที่เท่ากัน สมมติพนักงานสองคนมีเงินเดือน 10,000 เท่ากัน คนแรกมีผลงานดีเลิศ ได้ขึ้นเงินเดือน 8% ก็คิดเป็นเงินเท่ากับ 800 บาท พนักงานอีกคนผลงานอยู่ในระดับเกือบจะแย่ (เพราะถ้าแย่มากก็จะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน) จะได้รับอัตราการขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ 4% คิดเป็นเงินที่ 400 บาท มีความแตกต่างกันเพียง 400 บาท



พนักงานที่บริษัทบอกกับเขาว่า เขาเป็นคนเก่ง มีผลงานในระดับดีเลิศ แต่กลับได้เงินเดือนขึ้นที่แตกต่างกันน้อยมากเมื่อเทียบกับพนักงานที่มีผล งานเกือบแย่



สิ่งที่บริษัทที่เป็น The best employer ทำนั้นเขาประกาศเลยว่า บริษัทมีนโยบายค่าตอบแทนที่เรียกว่า Pay for performance ก็คือพนักงานที่มีผลงานดีจะได้รับรางวัลตอบแทนที่สูงกว่าพนักงานที่มีผลงาน ไม่ดีแบบต่างกันมากทีเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจพนักงานที่มี่ผลงานดี และจูงใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดีให้เร่งสร้างผลงานให้ดีขึ้นเพื่อจะได้รางวัล แบบเดียวกัน



มีงานวิจัยจากทางสหรัฐอเมริกาทำไว้ว่า ถ้ารางวัลที่ให้ระหว่างคนเก่งกับคนไม่เก่งมีความแตกต่างกันน้อย คนเก่งประมาณ 80% จะหมดกำลังใจ และจะไม่สร้างผลงานที่ดีขึ้นในปีถัดไป เพราะทำไปก็ไม่เห็นจะมีอะไรแตกต่างกับพนักงานที่ผลงานไม่ดี แต่ถ้ารางวัลที่ให้คนเก่งกับคนไม่เก่งมีความแตกต่างกันเกินกว่า 10% ขึ้นไปแล้ว จะทำให้คนเก่งมีกำลังใจที่จะรักษาระดับผลงาน และยังพยายามสร้างผลงานให้ดีขึ้นไปอีก ส่วนพนักงานที่มีผลงานไม่ดีก็จะพยายามเร่งสร้างผลงานให้ดีขึ้น เพื่อปีถัดไปจะได้รางวัลที่สูงขึ้น



แนวโน้มในการจ่ายค่าตอบแทนในอนาคตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของผลงาน ก็คือเน้นไปที่ผลงานที่ออกมา ถ้าทำผลงานได้ดี ก็จะได้รางวัลดีกว่าคนที่ผลงานไม่ดี แต่ถ้ารางวัลที่ให้นั้นมีความแตกต่างกันไม่มากระหว่างคนผลงานดีกับผลงานไม่ ดีแล้ว ระบบ pay for performance ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ



สิ่งที่ฝ่ายบุคคลสามารถช่วยทำให้ระบบการขึ้นเงินเดือนจูงใจพนักงานได้ดี ขึ้น ก็คือ การช่วยสร้างระบบการกระจายเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนให้มีความแตกต่างกัน ระหว่างคนที่ผลงานดี กับคนที่ผลงานไม่ดี โดยที่ยังใช้งบประมาณการขึ้นเงินเดือนเท่าเดิม มิฉะนั้นแล้วแทนที่การขึ้นเงินเดือนจะเป็นการจูงใจพนักงาน ก็จะกลายเป็นว่า พนักงานจะรู้สึกว่าเงินเดือนที่ขึ้นนั้น ทำให้เขารู้สึกแย่ หมดแรงจูงใจในการสร้างผลงาน แถมยังรู้สึกว่าพลังในการทำงานลดน้อยถอยลงไปอีกด้วย
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2552 8:25:52 น. 2 comments
Counter : 1197 Pageviews.  

 
เป็นอย่างนี้ทุกที่ก็ดีสิครับ หัวหน้าเป็นคนไทยแต่ทำงานในบริษัทฝรั่ง ขึ้นเงินเดือน ผลงานต่างกัน เงินขึ้นต่่างกัน ไม่เกิน 300 จะโปรโมทใครต้องดูก่อนใครมาก่อนมาหลัง และมีภาระลูกเมียมากน้อยแค่ไหน คนโสดทำงานจะสร้างเนื้อสร้างตัวหมดกำลังใจหมด คงต้องหาทางออกให้ตัวเองเอาเอง


โดย: ไม่ดีเลย IP: 203.144.144.164 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:09:35 น.  

 
จะรู้ได้อย่างไรว่าขึ้นเงินให้จากผลงานไม่ใช่เพราะความใกล้ชิดหรือความพอใจ//ของใคร.


โดย: คิิิกิ IP: 110.49.150.51 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:36:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]