HR Management and Self Leadership
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
22 พฤศจิกายน 2553

แนวทางการพัฒนาพนักงานในองค์กร

จากผลการสำรวจเรื่องของ HR Benchmarking ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) มีเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งที่ผมได้อ่านเจอ และอยากจะนำเอามาเขียนให้อ่านกันครับ เรื่องนั้นก็คือ เรื่องของแนวทางในการพัฒนาพนักงานของบริษัทต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้

ในปัจจุบันนี้เครื่องมือที่เป็นที่นิยมมากในเรื่องของการพัฒนาพนักงานก็คือ การจัดทำ Competency เพื่อหาคุณลักษณะต่างๆ ของพนักงานที่องค์กรเราต้องการ เพื่อที่จะนำเอาคุณลักษณะเหล่านั้นมาใช้ในการวางพื้นฐานสำหรับการพัฒนาพนักงานในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อปลูกฝังให้พนักงานมีคุณสมบัติในแบบที่องค์กรต้องการนั่นเอง

จากผลการสำรวจปรากฎดังนี้ครับ

Competency Base Development 26.43%

Traditional Training 27.86%

อยู่ในระหว่างการจัดทำ Competency 31.43%

ถ้าดูจากผลการสำรวจจริงๆ แล้ว บริษัทที่ใช้ Competency Base Development จะเป็นจำนวนประมาณ 57% (ที่ใช้ระบบนี้แล้ว บวกกับที่กำลังจัดทำอยู่) ซึ่งก็คือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้นั้น กำลังจะทำ และเริ่มทำเรื่องของ competency ไปกันแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า เครื่องมือนี้สามารถที่จะนำมาใช้พัฒนาพนักงานได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

ส่วนบริษัทที่ยังคงใช้ระบบ Traditional Training ก็มีอยู่ประมาณ 27% และผมเองก็เชื่อว่าน่าจะน้อยลงไปอีก เพราะเรื่องของ Competency นั้นเป็นเรื่องที่หลายๆ บริษัทนำมาใช้แล้วได้ผลอย่างมาก เมื่อเทียบกับระบบการฝึกอบรมแบบเดิมๆ ที่อาศัยการคิดและพิจารณากันเองของเหล่าบรรดาหัวหน้างานว่า อยากจะให้ลูกน้องฝึกอบรมเรื่องอะไรกันบ้าง โดยกำหนดออกมาบนพื้นฐานของความคิดเห็นของตัวเอง ไม่มีหลักการและแนวทางที่จะพัฒนาไปเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตของบริษัท

แต่อย่างไรก็ดี การที่บริษัทจะนำเอาเครื่องมือเรื่อง Competency มาใช้อย่างจริงจังนั้น จะต้องปูพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ให้กับพนักงานในองค์กรเสียก่อน โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นหัวหน้างาน และผู้จัดการในทุกระดับ ให้รู้และเข้าใจในเรื่องนี้อย่างแท้จริง เพราะเรื่องของ Competency นั้นเป็นเรื่องที่ยากเรื่องหนึ่งครับ เพราะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างมาก เนื่องจากเรื่องของพฤติกรรมและคุณสมบัติต่างๆ ที่เราจะนำเอามาใช้ในการพัฒนาและประเมินพนักงานว่ามีหรือไม่มี Competency ตัวนั้นๆ หรือไม่ มันเป็นเรื่องนามธรรม และวัดกันไม่ได้เลย ไม่สามารถที่จะกำหนดออกมาเป็นตัวเลขได้ ดังนั้นความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการที่จะทำให้ระบบนี้ประสบความสำเร็จในองค์กรได้ครับ

เคล็ดลับก็คือ ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องพฤติกรรมที่องค์กรอยากให้พนักงานเป็น ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะใช้ชื่อเดียวกันก็ตาม และมิติของพฤติกรรมที่ต้องการในแต่ละองค์กรจะแตกต่างกันออกไปครับ อาทิเช่น competency เรื่องมีจิตใจรักบริการ แม้ว่าจะใช้ชื่อเดียวกัน แต่รายละเอียดพฤติกรรมของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเหล่าบรรดาผู้จัดการและหัวหน้างานจะต้องมองเห็นภาพเดียวกันในพฤติกรรมว่าแบบใดที่เรียกกว่าเป็นพฤติกรรมที่มีจิตใจรักบริการขององค์กรตนเอง ภาพเหล่านี้ล่ะครับพนักงานทุกคนในองค์กรจะต้องเห็นพฤติกรรมในแนวทางเดียวกันทั้งหมด เพื่อจะได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาและการใช้งานได้อย่างชัดเจนครับ

มิฉะนั้น เราอาจจะเป็นบริษัทที่บอกตัวเองว่าใช้ Competency เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน แต่เบื้องหลังแล้ว ก็ยังคงเป็น Traditional Training อยู่ดีครับ


Create Date : 22 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2553 5:52:48 น. 0 comments
Counter : 1313 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]