HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
22 กุมภาพันธ์ 2555

จะกำหนดความกว้างของโครงสร้างเงินเดือนสักเท่าไหร่ดี


ในการวางโครงสร้างเงินเดือนแบบช่วง (Range Structure) นั้น เราจะต้องกำหนดความกว้างของช่วงเงินเดือนในแต่ละระดับงาน ซึ่งมีหลายคนที่กำลังออกแบบโครงสร้างเงินเดือน มีความสงสัยว่า ควรจะกำหนดความกว้างสักเท่าไหร่ดี


ความกว้างของช่วงเงินเดือนนี้ ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Range Spread ซึ่งแปลว่า จาก Minimum ไป Maximum เราจะกำหนดให้กว้างกี่เปอร์เซ็นต์ ยิ่งทำให้กว้างมากๆ ก็จะทำให้พนักงานมีโอกาสที่จะเติบโตในเรื่องของเงินเดือนได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับโครงสร้างเงินเดือนแบบแคบๆ ลองพิจารณาจากรูปข้างล่างนี้ คำถามก็คือ เราควรจะกำหนด Range Spread นี้สักเท่าไหร่ดี



ลองมาดูข้อดีข้อเสียกันสักหน่อย


การกำหนดช่วงเงินเดือนแบบกว้างๆ (120% ขึ้นไป)



  • ข้อดีก็คือ ทำให้พนักงานมีโอกาสเติบโตในเรื่องของเงินเดือนไปได้เรื่อยๆ ตันจะยากหน่อย เพราะถูกออกแบบไว้ค่อนข้างจะกว้างมาก ซึ่งจะทำให้เราสามารถรักษาพนักงานให้ทำงานได้นานกว่าบริษัทที่ออกแบบ Range Spread แบบแคบๆ

  • แต่ข้อจำกัดก็คือ ยิ่งกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ แปลว่า บริษัทจะบริหารค่าจ้างเงินเดือนในลักษณะของค่างานน้อยลงเท่านั้นครับ เราจะไปเน้นเรื่องค่าจ้างตามระบบอาวุโสแทนครับ ก็คือ ทำงานยิ่งนาน ก็ได้รับเงินเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุงาน มากกว่าตามผลงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานที่มีผลงานดี แต่เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ รู้สึกท้อ และไม่สามารถที่จะมีเงินเดือนทันคนที่ผลงานไม่ดี แต่อยู่มานานๆ ได้เลย


การกำหนดช่วงเงินเดือนแบบแคบ ๆ (120% ลงไป)



  • ข้อดีก็คือ เราบริหารค่าจ้างตามหลักของค่างานมากขึ้น และสิ่งที่ดีอีกข้อสำหรับการออกแบบความกว้างไม่มากนักก็คือ เราจะเริ่มต้นจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานใหม่ในอัตราที่สูงกว่าบริษัทที่ออกแบบช่วงแบบกว้างๆ เพราะยิ่งกว้างแปลว่า อัตราเริ่มต้น (ค่า Minimum) จะยิ่งต่ำลงมากขึ้นเท่านั้น

  • ข้อเสียก็คือ พนักงานจะตันเร็ว ถ้ายิ่งแคบเท่าไหร่ ก็ยิ่งตันเร็วเท่านั้น ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อแรงจูงใจของพนักงานในการสร้างผลงานอีกเช่นกัน


ตัวเลขที่ผมใช้บ่อยๆ ในการกำหนดความกว้างของช่วงเงินเดือนก็คือ 120% ถามว่ามาจากที่ไหน คำตอบก็คือ มาจากผลการสำรวจค่าจ้างในตลาดที่สอบถามบริษัทที่มีโครงสร้างเงินเดือนว่า ความกว้างที่เขาออกแบบไว้นั้นเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งผลที่ออกมาก็คือ 120% ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขจริงๆ แล้ว ก็ถือว่ากว้างพอสมควรเลย แต่ก็ไม่ได้กว้างมากจนทำให้ค่างานหมดความสำคัญ และก็ยังสามารถที่จะรักษาเรื่องของความเร็วในการตันของพนักงานไม่ให้เร็วเกินไปนัก


อีกคำถามที่สอบถามกันมามากก็คือ เราควรจะออกแบบโครงสร้างเงินเดือนโดยไม่ให้แต่ละกระบอกมีช่วงเหลื่อมล้ำกันเลยดีหรือไม่ ลองดูจากรูปข้างล่างก็ได้ครับ รูปนี้  คือโครงสร้างเงินเดือนแบบไม่มีการเหลื่อมกันเลย ลองเทียบกับรูปข้างต้น ที่มีการให้แต่ละกระบอกมีการเหลื่อมล้ำกัน แบบไหนดีกว่ากัน



ในทางปฏิบัติสำหรับการออกแบบโครงสร้างเงินเดือนนั้น การที่จะเป็นแบบไม่มีช่วงล้ำกัน เป็นไปได้ยากมากครับ ถ้าเรามีการเปรียบเทียบตำแหน่งงานจากผลการสำรวจค่าจ้างตามค่างานอย่างแท้จริงนะครับ เพราะโอกาสที่จะทำให้ค่าจ้างในระดับงานที่ติดกัน มีความต่างกันเป็นเท่าตัวนั้น เป็นไปแทบไม่ได้เลยครับ ผลก็คือ เวลาเราทำโครงสร้างเงินเดือน เรามักจะได้ช่วงเหลื่อมล้ำออกมาโดยอัตโนมัติครับ


ส่วนการที่บางบริษัทเขาสามารถที่จะทำให้กระบอกเงินเดือนไม่ล้ำกันเลย แสดงว่า เขากำหนดอัตราการจ่ายกันเอาเอง บางครั้งอาจจะไม่ได้เทียบจากตลาดมากนัก


อีกอย่างก็คือ การที่เราไม่มีช่วงเหลื่อมล้ำกันนั้น จะทำให้โครงสร้างเงินเดือนของเราขาดความยืดหยุ่น ในการเลื่อนตำแหน่งอีกด้วย พนักงานจะต้องรอจนเงินเดือนชนเพดานก่อน ถึงจะเลื่อนไปในระดับถัดไปได้ ถ้าพนักงานได้รับเลื่อนตำแหน่งก่อนเวลา แปลว่าบริษัทจะต้องปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานคนนี้จำนวนมาก เพื่อให้เขาไปกินเงินเดือนที่ minimum ของกระบอกถัดไปได้ ตามตำแหน่งงานที่เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งนั่นเอง


ซึ่งโครงสร้างเงินเดือนแบบที่มีช่วงเหลื่อมล้ำกันจะมีความยืดหยุ่นในเรื่องของการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าครับ






Free TextEditor


Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 6:32:19 น. 0 comments
Counter : 2517 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]