HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
2 ธันวาคม 2554

รูปแบบค่าจ้างที่อาจจะเปลี่ยนไป เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่


นอกจากผลกระทบที่ผมได้เขียนไปให้อ่านกันบ้างแล้วในเรื่องของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ 300 บาทนั้น ยังมีแนวโน้มว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้จะมีผลทำให้รูปแบบค่าจ้างของแต่ละบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย สาเหตุก็มาจากการปรับครั้งนี้เป็นการปรับค่าจ้างในอัตราที่สูงมากๆ (ประมาณ 40%) ลองคิดดูสิครับ ปกติเราขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปีละประมาณ 5% เท่านั้น นี่ปรับทีเดียว 40% ก็ต้องเป็นจำนวนเงินงบประมาณที่สูงมากทีเดียว


คำว่ารูปแบบค่าจ้างในความหมายของผมในบทความนี้นั้น จะหมายถึง ค่าจ้างที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานในลักษณะต่างๆ หรือที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Pay Mix หรือ Compensation Mix ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ นอกจากเงินเดือนมูลฐานแล้ว บริษัทอาจจะมีการให้เงินได้อื่นเสริมเพิ่มเติม เช่น ค่าครองชีพ ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ค่าทักษะ ฯลฯ ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบริษัทจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร


ค่าจ้างในรูปแบบต่างๆ นี้ บางบริษัทรวมกันแล้ว พนักงานได้มากกว่า 300 บาทต่อวันอีกครับ ก็เลยเป็นสิ่งที่นายจ้างพยายามจะเปลี่ยนรูปแบบของค่าตอบแทนเสียใหม่ โดยจับเอารูปแบบค่าจ้างต่างๆ รวมกลับเข้าไปในค่าจ้าง หรือเงินเดือน ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างหรือเงินเดือนมูลฐานของพนักงานสูงขึ้นอีก


ตัวอย่างเช่น พนักงานคนหนึ่งได้รับเงินค่าจ้าง 215 บาทต่อวัน และได้ค่าครองชีพ 20 บาทต่อวัน ได้ค่าทักษะ 30 บาทต่อวัน และมีค่าอาหารให้ 20 บาทต่อวัน นายจ้างก็จะขอเปลี่ยนรูปแบบค่าจ้างใหม่ โดยยกเลิกค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ที่มีเยอะแยะ ให้รวมกลับเข้าไปในค่าจ้างปกติ ซึ่งผลก็คือ 215 + 20 + 50 + 20 = 305 บาทต่อวัน


ซึ่ง 305 นั้นมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่กำลังจะบังคับใช้ ผลก็คือ นายจ้างจะใช้งบประมาณในการปรับครั้งนี้น้อยลงครับ ไม่ใช่ไม่ปรับนะครับ มีการปรับ แต่การปรับครั้งนี้ จะนำเอาเงินได้อื่นเข้ามารวมเป็นค่าจ้างมูลฐานก่อน แล้วค่อยเอาค่าจ้างรวมใหม่นั้น มาปรับอีกทีหนึ่ง พนักงานบางคนอาจจะรวมๆ แล้วได้ 250 บาทต่อวัน ซึ่งมากกว่า 215 แต่ไม่ถึง 300 แต่ก็จะใช้งบประมาณในการปรับทั้งหมดน้อยกว่าการปรับจาก 215 เป็น 300 บาทแน่นอน


ทั้งนี้ก็ต้องมีการพูดคุยและทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีนะครับ ว่าพนักงานจะได้รับประโยชน์อะไรจากการทำแบบนี้ ซึ่งสิ่งที่พนักงานจะได้ในระยะยาวก็คือ เขาจะมีค่าจ้างมูลฐานที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การขึ้นเงินเดือนในแต่ละปีก็จะสูงขึ้นกว่าเดิม เพราะฐานในการขึ้นเงินเดือนเป็นฐานใหม่ โบนัสก็จะได้จำนวนเงินที่มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากฐานเงินเดือนใหม่นั่นเองครับ


ผมเชื่อว่าวิธีนี้จะต้องมีหลายบริษัทนำเอาไปใช้แน่นอน แต่สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ ค่าจ้างที่ท่านให้อยู่นั้น ผูกอยู่กับสภาพการจ้างหรือไม่ ซึ่งถ้าใช่ ท่านจะต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อนจึงจะดำเนินการได้นะครับ


สิ่งที่บริษัทใช้ในการสื่อความกับพนักงานก็คือ ภาระทางการเงินที่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งก็จะขอความร่วมมือจากพนักงานในการช่วยกันให้บริษัทอยู่รอดต่อไป จะดีกว่าการต้องเลิกจ้าง หรือปิดบริษัท เพราะนั่นคือพนักงานจะตกงานและต้องไปหางานใหม่ทันที


ค่าจ้างที่จะเอาเข้าไปรวมเพื่อให้เป็นฐานใหม่นั้น ปกติเราจะไม่เอาค่าจ้างที่อยู่ในรูปของค่าตอบแทนความยากลำบากเข้าไปรวมนะครับ เช่น ค่าร้อน ค่าเย็น ค่าสกปรก ค่าเสี่ยงภัยต่างๆ ฯลฯ เพราะเงินค่าจ้างในส่วนนี้เป็นเงินที่เราให้เพื่อที่จะตอบแทนความผิดปกติของการทำงาน และเพื่อที่จะดึงดูดให้คนบางคนตัดสินใจทำงานในภาวะที่ผิดปกตินั่นเองครับ ถ้าเราเอาเงินส่วนนี้เข้าไปรวม พนักงานจะรู้สึกไม่อยากทำงานที่ผิดปกตินั้น เพราะคนอื่นที่ทำงานสบายๆ ก็ได้เท่ากับเขาที่ทำงานลำบากว่าเยอะ


โดยสรุปแล้วรูปแบบค่าจ้างของบางบริษัทที่เดิมพยายามจะลดภาระในเรื่องของค่าจ้างมูลฐานลง โดยไปเพิ่มเงินได้อื่นๆ มากมาย ก็อาจจะกลับมาเหลือเพียงค่าจ้างเงินเดือน และโบนัสเท่านั้น ก็อาจเป็นได้ครับ ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้การบริหารค่าจ้างเงินเดือนง่ายขึ้นด้วยครับ






Free TextEditor


Create Date : 02 ธันวาคม 2554
Last Update : 2 ธันวาคม 2554 8:46:58 น. 0 comments
Counter : 1208 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]