HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
1 ธันวาคม 2554

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ กับผลกระทบการบริหารค่าจ้าง


ที่ต้องเขียนเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ที่ประกาศให้ 7 จังหวัดเป็น 300 บาท ส่วนนอกนั้นก็ให้ปรับขึ้นอีก 39.5% นั้น ก็เนื่องจากมีท่านผู้อ่านหลายคนได้เขียนมาสอบถามว่าถ้าปรับแล้ว จะมีผลกระทบอะไรบ้างต่อการกำหนดอัตราเงินเดือน และการบริหารค่าจ้างของพนักงานกลุ่มอื่นๆ


จริงๆ ผมได้เคยเขียนประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วบ้างในบทความเก่าๆ ใน blog แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีคนสอบถามเข้ามาเยอะก็เลยถือโอกาสนี้ชี้แจงให้เห็นภาพชัดๆ กันอีกทีนะครับ แต่ต้องหมายเหตุว่าผมขออนุญาตใช้ตัวเลข 300 บาทนะครับ ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อัตรานี้ก็ลองแทนค่าตัวเลขดูนะครับ



  • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่จะกลายเป็น 300 บาทต่อวัน (ใน 7 จังหวัด) ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ถูกปรับขึ้นเป็นอัตราใหม่ที่ 39.5% ดังนั้นพนักงานที่เคยได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิม ก็จะถูกปรับเป็น 300 บาททันทีในเดือนที่มีผลบังคับใช้



  • พนักงานที่ได้รับค่าจ้างสูงกว่า 215 บาทต่อวัน จนถึง มากกว่า 300 บาทเดิมที่เคยได้รับอยู่ในสมัยที่ค่าจ้างเป็น 215 บาทนั้นเมื่อมีการปรับอัตราเริ่มจ้างใหม่ ก็ต้องปรับผลกระทบให้กับพนักงานเหล่านี้ด้วยนะครับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ให้เงินเดือนคนใหม่ไล่ทัน หรือมากกว่าคนเก่าที่ทำงานสร้างผลงานให้กับบริษัทมาก่อน



  • อัตราแรกจ้างของพนักงานรายเดือนในวุฒิ ปวช. ที่เคยกำหนดไว้ที่ประมาณ 6,500 – 7,000 บาท ก็ต้องปรับใหม่ เพราะถ้าเราเอา 300 x 30 จะได้ 9,000 บาท ซึ่งแปลว่ารายเดือนต่ำสุดที่ควรจะได้รับก็คือ 9,000 บาทเข้าไปแล้ว ดังนั้นอัตราแรกจ้าง ปวช. เดิมที่ใช้อยู่ก็จะใช้ไม่ได้อีกต่อไปครับ และเช่นกันครับ เมื่อปรับอัตราใหม่จาก 6,500 มาเป็นอัตราใหม่ สมมุติว่าปรับเป็น 9,200 บาท ก็ต้องอย่าลืมปรับเงินเดือนให้กับพนักงานในระดับ ปวช. ที่เรารับเข้ามาในอัตราแรกจ้างเดิมด้วยนะครับ ก็คงต้องเอาเงินเดือนแต่ละคนมาเข้าสูตร(ที่เคยให้ไว้ใน blog) และปรับผลกระทบกันไปเรื่อยๆ



  • พอ ปวช. ปรับขึ้น ก็ต้องไปมีผลกระทบต่ออัตราแรกจ้างของระดับ ปวส. ด้วยเช่นกัน ก็ต้องมีการปรับขยับตามกันขึ้นไปอีก เพราะอัตราเริ่มจ้างไล่มามากกว่าอัตราเดิมที่เรากำหนดไว้อีก



  • และพอ ปวส. ปรับขึ้น ก็ต้องไปมีผลกระทบต่ออัตราแรกจ้างในระดับปริญญาตรีอีกเช่นกันครับ ก็ต้องใช้วิธีการปรับในรูปแบบเดียวกันอีก



  • สุดท้ายก็คงต้องเช็คดูว่า มีผลกระทบอัตราแรกจ้างในระดับปริญญาโทด้วยหรือเปล่า ถ้ามี ก็ต้องปรับผลกระทบต่อเนื่องกันไปอีก


แค่การปรับอัตราแรกจ้างเป็น 300 บาท ก็สร้างผลกระทบมากมายให้กับการกำหนดอัตราแรกจ้างตามวฺฒิการศึกษาของบริษัทแล้ว ซึ่งพอรวมเอาเงินที่จะต้องปรับทั้งหมด ก็คงเป็นเงินก้อนใหญ่ทีเดียวครับ โดยเฉพาะกับบริษัทที่จ้างพนักงานไว้เยอะ และบริษัทที่มีนโยบายว่าจ้างพนักงานที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ๆ มาเพื่อที่จะพัฒนาตั้งแต่แรกเลย ก็จะได้รับผลกระทบจากการนี้ไปมากหน่อย


สำหรับบริษัทที่ว่าจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์มาแล้ว เคยทำงานมามากกว่า 5 ปีไปแล้ว ก็อาจจะได้รับผลกระทบจากการปรับครั้งนี้ไม่มากนัก ยิ่งบริษัทที่ไม่มีการใช้แรงงานระดับล่างมาก ก็ยิ่งไม่ค่อยมีผลกระทบมากมายสักเท่าไร


นอกจากนั้นสิ่งที่จะต้องปรับปรุงใหม่ก็คือ โครงสร้างเงินเดือนที่ทำไว้ พออัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ โครงสร้างเงินเดือนของบริษัทจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน อย่างน้อยๆ ก็ระดับงาน 1 อัตรา minimum ก็ต้องกลายเป็น 9,000 บาทแล้วล่ะครับ


เมื่ออัตราเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่จะต้องตรวจสอบกันต่อไปก็คือ การเปลี่ยนแปลงตรงนี้ จะมีผลต่อระดับงานอื่นๆ อีกหรือไม่ ถ้ามี เส้น mid-point ของโครงสร้างเงินเดือนจะต้องถูกยกขึ้นอีก และเพื่อเส้น mid-point ถูกยกสูงขึ้น ก็แปลว่า อาจจะมีพนักงานบางคนที่ตกกระบอกเงินเดือนใหม่ ซึ่งก็จะกลายเป็นสิ่งที่บริษัทจะต้องพิจารณาปรับเงินเดือนใหม่อีก เพื่อให้เข้าสู่กระบอกเงินเดือนที่ปรับใหม่ ก็เป็นเงินอีกครับ


จะเห็นว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นตามมาเป็นระลอก สิ่งที่นักบริหารค่าจ้างจะต้องพิจารณาต่อไปก็คือ สำหรับบริษัทของเรานั้นมีผลกระทบอะไรที่มากกว่าที่ผมได้เขียนไว้หรือไม่ เพราะการปรับค่าจ้าง โดยไม่พิจารณาถึงผลกระทบของการปรับนั้น จะมีผลทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกขาดแรงจูงใจในทันทีเลยนะครับ ดังนั้นนักบริหารค่าจ้างจะต้องพิจารณาประเด็นผลกระทบนี้อย่างรัดกุมครับ


ผมเองจะมีวิพากษ์วิจารณ์ว่าการปรับในครั้งนี้ดีหรือไม่ดี หรือ เหมาะหรือไม่เหมาะ เพราะในเมื่อประกาศว่าปรับแน่ๆ แล้ว สิ่งที่ควรจะทำมากกว่าการมานั่งวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลที่จะเกิดขึ้นตามมาครับ ยิ่งเตรียมตัวดีเท่าไร ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการบริหารค่าจ้างก็จะน้อยลงเท่านั้นครับ






Free TextEditor




 

Create Date : 01 ธันวาคม 2554
3 comments
Last Update : 1 ธันวาคม 2554 7:59:34 น.
Counter : 1077 Pageviews.

 

แล้วข้อดีละครับมีมั้ย คนงานก็มีเงินเพิ่ม..................................

 

โดย: bk123 1 ธันวาคม 2554 8:03:33 น.  

 

ขอบคุณสำหรับการวิเคราะห์ค่ะ
อยากรู้ว่าจะมีผลทำให้บริษัทลดจำนวนพนักงาน แล้วก็ทำให้ภาระงานรายบุคคลหนักขึ้นไหมคะ?
อีกข้อคือ จะทำให้บริษัทต่างชาติเปลี่ยนใจไปลงทุนประเทศใกล้ๆอย่างเช่นเวียดนามรึเปล่า.....
คุณคิดว่ามีความเป็นไปได้ไหมคะ

 

โดย: avadar 1 ธันวาคม 2554 8:30:43 น.  

 

เป็นไปได้มากเลยครับ แต่อย่างไรก็ดี อนาคตค่าจ้างก็ต้องสูงขึ้น เพียงแต่มันสูงแบบก้าวกระโดดไปหน่อย เลยทำให้ผู้ประกอบการตั้งตัวไม่ทันครับ

 

โดย: singhip 2 ธันวาคม 2554 8:45:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]