HR Management and Self Leadership
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
28 กุมภาพันธ์ 2555

ถ้าจะลำเอียง ก็ลำเอียงวันยันค่ำ

ใน
ยุคนี้ เรื่องของการประเมินผลงานเริ่มที่จะนำเอาสิ่งที่สามารถวัดได้มาใช้
เพื่อให้การประเมินออกมาอย่างชัดเจน เที่ยงตรง
และลดความรู้สึกของคนประเมินลงให้มากที่สุด หลายๆ บริษัท
ต่างก็พยายามที่จะหาทางลดความรู้สึกลำเอียงของผู้ประเมินลง
โดยการพยายามนำเอาตัวชี้วัดผลงานมาใช้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นธรรม


บริษัท
ส่วนใหญ่ จะนึกถึงการนำเอาตัวชี้วัดผลงานมาใช้ในการประเมิน และเข้าใจว่า
เมื่อเราสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละตำแหน่งได้แล้ว
การประเมินผลงานจะเปลี่ยนจากความรู้สึกมาเป็นแบบที่ไม่มีความรู้สึกเลย
และจะกลายเป็นระบบการประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพทันที


ผมอยากบอกว่า
ตัวชี้วัดผลงานมันไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์ขนาดนั้นนะครับ จริงๆ
แล้วมันก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำเข้ามาช่วยในการทำให้เกิดความชัดเจน
ในการประเมินผลงานมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลของงานที่ออกมา
เอาแบบว่าวัดกันให้เห็นจะจะ กันไปเลย
ซึ่งโดยแนวคิดแล้วตัวชี้วัดผลงานถือเป็นเครื่องมือที่ดีอันหนึ่ง
แต่เวลาใช้จริงกลับมาปัญหาตามมาอีกจนได้ ปัญหาที่ว่าก็คือ
ความลำเอียงอีกเช่นกันครับ ก่อนใช้ก็อยากจะลดความลำเอียงลง
แต่ใช้แล้วกลับไม่ได้ทำให้ลดลงเลย



  • ตั้งตัวชี้วัด และเป้าหมายแบบที่พนักงานทำได้อยู่แล้ว ตัว
    ชี้วัดผลงานจริงๆ แล้วจะต้องตั้งในลักษณะที่ท้าทาย และยังทำไม่ได้
    แต่ผู้ใช้บางคนก็ตั้งเฉพาะตัวที่ตนเองทำได้
    ส่วนที่ยังทำไม่ได้ก็ไม่ต้องตั้ง
    สุดท้ายมันก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาเรื่องการประเมินผลงานอยู่ดี



  • ตั้งเป้าหมายให้ต่ำๆ เข้าไว้
    เพื่อพนักงานจะได้บรรลุเป้าหมาย นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง
    เวลากำหนดตัวชี้วัด พนักงานเองก็อาจจะมองเป้าหมายว่ายากเกินไป
    หัวหน้างานเองก็ยังคงไม่เลิกลำเอียง แบบว่าอยากให้พนักงานคนไหนได้ A
    ก็ตั้งเป้าหมายไว้แบบต่ำๆ เข้าไว้
    เอาว่าพนักงานสามารถทำได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดแน่นอน
    แล้วแบบนี้จะแก้ไขปัญหาเรื่องการประเมินผลงานได้อย่างไร
    เพราะมันก็กลับมาเหมือนเดิมเมื่อก่อนใช้ตัวชี้วัดอยู่ดี



  • ตั้งตัวชี้วัดที่ไม่มีประโยชน์ต่อความสำเร็จของงาน
    เช่น ตั้งเรื่องของกำหนดวันส่งรายงาน หรือตั้งให้มีการส่งรายงานตรงเวลา
    และถูกต้อง ซึ่งการส่งรายงานนั้นไม่ได้ทำให้เป้าหมายของตำแหน่งงาน
    หรือหน่วยงาน หรือแม้แต่องค์กรบรรลุเป้าหมายได้เลย
    แต่ที่ตั้งตัวชี้วัดเหล่านี้ก็เพราะมันง่ายดี
    และพนักงานสามารถบรรลุได้ไม่ยากนัก


ประเด็นเรื่องตัวชี้วัดผล
งานที่จะสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาเรื่องความรู้สึกของหัวหน้าในการประเมินผล
งานก็เป็นอันตกไป แก้ไม่ได้อยู่ดี คำถามก็คือ
แล้วเราจะแก้ไขปัญหาเรื่องความรู้สึก
หรือความลำเอียงของหัวหน้าในการประเมินผลงานได้อย่างไร


คำตอบก็คือ
จะต้องพัฒนาผู้ประเมินให้เข้าในเรื่องของการประเมินผลงานอย่างดี
รวมทั้งพัฒนาภาวะผู้นำ และทักษะในการเป็นหัวหน้างาน
เพื่อให้รู้ว่าหัวหน้างานที่ดีนั้นจะต้องมี Integrity
ในการทำงานไม่ว่าจะในเรื่องอะไรก็ตาม
ซึ่งก็รวมถึงเรื่องการประเมินผลงานนี้ด้วยเช่นกัน
รวมทั้งให้ความรู้เรื่องของการกำหนดตัวชี้วัดผลงานว่ามันมีที่มาที่ไปอย่าง
ไร ไม่ใช่กำหนดกันขึ้นมาเฉยๆ ต่างคนต่างกำหนดกันเอง
แบบนี้ก็จะไม่สำเร็จในการนำตัวชี้วัดผลงานมาใช้ในการประเมินผลงานครับ






Free TextEditor




 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2555
2 comments
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2555 7:59:37 น.
Counter : 2030 Pageviews.

 

ทำใจ และทำใจ กับการประเมิณนะ บริษัทไม่ใช่ของเรา หัวหน้าก็คงคิดว่าตัวเป็นเจ้าของบริษัท

จะทำอย่างไรกะเราก็ได้ ... แต่เขาควรได้ และได้ทุกอย่าง สมควรแล้ว

ส่วนเรา แล้ว



ขอฝากดอกไม้แทนใจ แทนคำขอบคุณจ๊ะ

เดือนแห่งความรัก ความรักก็ล้อมรอบตัวคุณ




*~..แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน..~*




เดือนแห่งความรัก คนโสดก็ยังโสดต่อไป เพราะครูภาษาไทย สอนแต่

สระอิ,สระอา, สระอุ, สระอู แต่ไม่ยอมสอนให้เรา .. "สละโสด"


..HappY BrightDaY..


แต่ หัวหน้า จะเห็นสมควร...

 

โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* 28 กุมภาพันธ์ 2555 15:51:18 น.  

 

คนจะลำเอียงก็ลำเอียงวันยันค่ำ มาตรฐานก็แค่ตัวหนังสือที่คนกำหนด

 

โดย: หญิงก้นครัว (หญิงก้นครัว ) 28 กุมภาพันธ์ 2555 19:21:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]