HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
13 มีนาคม 2555

Well-Being กับผลงานของพนักงาน

Well-Being หรือแปลเป็นไทยว่า ความผาสุก ความเป็นอยู่ที่ดี หรือความสุขในการทำงาน เป็นอีกคำหนึ่งที่มีหลายๆ คนพูดถึงมากในแวดวงของการบริหารงานบุคคล มีงานวิจัยในเรื่องนี้เกิดขึ้นมาในต่างประเทศ ที่ต้องการพิสูจน์ว่า ถ้าพนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี รู้สึกดีในการทำงาน แล้วผลงานจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งผลจากการวิจัยก็ค่อนข้างชัดเจนมากกว่า ผลงานของพนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้นจะออกมาดีมาก จนถึงโดดเด่นเลยทีเดียว

มีงานวิจัยของทาง The Economics of Wellbeing by Tom Rath & Jim Harter and Positive Intelligence (from the January/February 2012 Harvard Business Review) by Shawn Achor ซึ่งผลออกมาชัดเจนมากว่า เรื่องของการมีความเป็นอยู่ที่ดีในการทำงานนั้น จะทำให้ผลงานในด้านต่างๆ ดีขึ้นดังนี้ครับ


  • ผลงานดีขึ้นถึง 31%

  • พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น 3 เท่า

  • พนักงานมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า

  • มีพนักงานถึง 40% ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น

  • สร้างยอดขายเพิ่มขึ้นอีก 37%

  • พนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า


จากผลการวิจัยข้างต้นก็เลยมีหลายบริษัทที่พยายามจะสร้าง Well-being ให้เกิดขึ้นในการทำงาน โดยให้พนักงานแต่ละคนนั้นมี Well-being ทั้งในแง่ของการทำงานและในแง่ของการใช้ชีวิตส่วนตัวของตนเอง ดูๆ ไปแล้วก็คล้ายๆ กับเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) นั่นเอง

และในการสร้าง Well-being ให้เกิดขึ้นในการทำงานได้นั้น ผู้ที่ทำวิจัยเขาบอกว่าต้องสร้าง 5 ตัวนี้ให้เกิดขึ้นในที่ทำงานให้ได้ ดังนี้

  • Positive Emotion at work ก็คือการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี เพื่อที่จะทำให้พนักงานมีอารมณ์ที่ดีในการทำงาน เรียกว่าเป็นความรู้สึกเชิงบวกต่อบรรยากาศในการทำงานนั่นเอง สิ่งเหล่านี้จะสร้างได้โดยสร้างความสนุกสนานในการทำงานให้มากขึ้น ทำงานแบบไม่เครียดจนเกินไป ให้มีเวลาพักผ่อน หรือผ่อนคลายได้บ้าง เพราะถ้าพนักงานเครียดในการทำงานมาก อารมณ์ก็จะเสียตามมา และเมื่ออารมณ์เสีย ผลงานก็จะแย่ตามไปด้วยนั่นเอง



  • Positive Relationships at work คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในการทำงาน พนักงานมาทำงานแล้วจะต้องรู้สึกถึงบรรยากาศของความเป็นมิตร มีสังคมที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่คุยกันได้รู้เรื่อง ไม่ใช่มีแต่ความขัดแย้งในการทำงานตลอดเวลา จะคุยกันทีไรก็ต้องทะเลาะกันทุกครั้งไป แบบนี้พนักงานเองก็จะไม่เกิดความผาสุกในการทำงานอย่างแน่นอน และสิ่งที่ตามมาก็คือ ผลงานพนักงานก็จะแย่ลงไปเรื่อยๆ เพราะเขารู้สึกไม่ดี และไม่อยากทำงานในบรรยากาศแบบนี้



  • Meaning and Purpose at work คือ การทำให้พนักงานรู้สึกว่างานที่เขาทำนั้นมีความหมาย และมีเป้าหมายที่ชัดเจน พนักงานจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า งานที่ตนเองทำนั้นมีความสำคัญต่อองค์กรมากเพียงใด เมื่อพนักงานทราบว่างานที่ตนเองทำมีความสำคัญต่อองค์กรแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เขาจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของงานที่ทำ และรู้สึกถึงความภาคภูมิใจในการทำงานนั้นๆ ผลที่ตามมาก็คือ ผลงานของพนักงานคนนั้นจะดีขึ้นไปด้วยครับ



  • Position Accomplishment at work ความรู้สึกถึงความสำเร็จในการทำงาน รู้ว่าผลงานของตนเองเป็นอย่างไร และมีวิธีการไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ถ้าพนักงานไม่มีโอกาสได้ทราบเลยว่า ผลงานของตนเองเป็นอย่างไร ดี ไม่ดี หรือต้องปรับปรุงอะไรบ้างแล้ว พนักงานก็จะไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความสำเร็จในการทำงานเลย หรือพนักงานทำดี แต่นายไม่เคยบอกเลย ความรู้สึกถึงความสำเร็จในการทำงานก็จะไม่มี ผิดกับบางองค์กรที่แม้พนักงานจะทำงานไม่ได้ตามเป้า แต่มีวิธีการในการช่วยเหลือ สอนงาน ให้พนักงานปรับปรุงการทำงานของตนเองให้ได้ตามเป้าหมาย พนักงานกลับจะรู้สึกว่า งานที่เขาทำมีความหมาย และมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในงานได้ ถ้าพนักงานรู้ว่าตนเองมีสิทธิที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ เขาก็จะอยากทำงาน และอยากสร้างผลงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพราะคนเราทุกคนต้องการความสำเร็จครับ



  • Position Health at work การที่พนักงานมีสุขภาพที่ดี ก็จะส่งผลต่อผลงาน ดังนั้นองค์กรก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เป็นการทำลายสุขภาพของพนักงาน ระบบความปลอดภัยต่างๆ จะต้องรองรับการทำงานได้อย่างดี เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่า ทำงานแล้วไม่ต้องมานั่งกังวลกับเรื่องความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของตนเอง ถ้าเพนักงานรู้สึกว่าทำงานแล้วไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต เขาก็จะทำงานอย่างสบายใจ และผลงานก็จะดีขึ้นอีกครับ


ทั้งหมดนี้ก็คือปัจจัย 5 ด้านที่องค์กรควรจะสร้างขึ้นในการทำงานในองค์กร เพื่อสร้าง Well-being ให้เกิดขึ้นกับพนักงาน เพื่อสุดท้ายแล้วพนักงานเองก็จะรู้สึกผูกพันกับองค์กร เมื่อพนักงานรู้สึกผูกพันแล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือ ผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องครับ




 

Create Date : 13 มีนาคม 2555
1 comments
Last Update : 13 มีนาคม 2555 6:33:23 น.
Counter : 1521 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ

 

โดย: nanainn 13 มีนาคม 2555 11:10:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]