Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 
11 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงท้าว่า ธรรมที่ทรงแสดงไม่มีใครค้านได้

.





(เมื่อได้ตรัสถึงลัทธิที่มีทางค้านได้ ๓ ลัทธิ คือ ..
- ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะกรรมแต่ปางก่อนอย่างเดียว,
- ลัทธิที่ว่าสุขทุกข์เพราะผู้เป็นเจ้าเป็นนายบันดาลให้,
- และลัทธิที่ว่าสุขทุกข์ไม่มีปัจจัยอะไรเลย
แล้วได้ตรัสข้อความต่อไปนี้:-)

ภิกษุ ท. !
ธรรมอันเราแสดงแล้วนี้ ไม่มีใครข่มขี่ได้ เป็นธรรมไม่มัวหมอง ไม่มีทางถูกติไม่มีทางถูกคัดค้าน จากสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. !
ธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? .. ธรรมนั้นคือ ..
- ธาตุ ๖ อย่าง,
- ผัสสายตนะ ๖ อย่าง,
- มโนปวิจาร ๑๘อย่าง,
- และอริยสัจจ์ ๔ อย่าง.

ภิกษุ ท. !
ที่เรากล่าวว่า ธาตุ ๖ อย่าง นั้น .. เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว ?

เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ธาตุเหล่านี้มีหก คือ ..
- ปฐวีธาตุ
- อาโปธาตุ
- เตโชธาตุ
- วาโยธาตุ
- อากาสธาตุ
- วิญญาณธาตุ
ดังนี้.

ภิกษุ ท. !
ที่เรากล่าวว่า ผัสสายตนะ (แดนเกิดแห่งการกระทบ) ๖ อย่าง นั้น .. เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว ?

เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ..
- ผัสสายตนะเหล่านี้มีหก คือ ตา เป็นผัสสายตนะ หูเป็นผัสสายตนะ จมูก เป็นผัสสายตนะ ลิ้น เป็นผัสสายตนะ กาย เป็นผัสสายตนะ ใจ เป็นผัสสายตนะ ดังนี้

ภิกษุ ท. !
ที่เรากล่าวว่า มโนปวิจาร (ที่เที่ยวของจิต) ๑๘ อย่าง นั้น .. เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว ?

เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ..
- เห็นรูปด้วยตาแล้วใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในรูปอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
- - ในรูปอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในรูปอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑;

- ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในเสียงอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส๑;
- - ในเสียงอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในเสียงอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑;

- ได้กลิ่นด้วยจมูกแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส๑
- - ในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในกลิ่นอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา๑;

- รู้รสด้วยลิ้นแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในรสอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
- - ในรสอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในรสอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑;

- สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยผิวกายแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
- - ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา๑;

- รู้สึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจแล้ว ใจย่อมเข้าไปเที่ยว ..
- - ในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่งโสมนัส ๑
- - ในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่งโทมนัส ๑
- - ในอารมณ์อันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขา ๑
ดังนี้.

ภิกษุ ท. !
ที่เรากล่าวว่า อริยสัจจ์ ๔ อย่างนั้น .. เราอาศัยข้อความอะไรกล่าว ?

เราอาศัยข้อความนี้กล่าว คือ ..
- เมื่อได้อาศัยธาตุทั้งหกแล้ว ..
- - การก้าวลงสู่ครรภ์ก็ย่อมมี.
- - เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ (สิ่งที่เรียกว่า) นามรูป ก็ย่อมมี.
- - เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะหก ก็ย่อมมี.
- - เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย ผัสสะก็ย่อมมี.
- - เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาก็ย่อมมี.

ภิกษุ ท. !
เรา ..
- บัญญัติทุกข์
- บัญญัติเหตุให้เกิดทุกข์
- บัญญัติความดับสนิทของทุกข์
- และบัญญัติทางปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทของทุกข์

ไว้สำหรับสัตว์ผู้ยังมีเวทนาอยู่, ว่าเป็นอย่างนี้

ภิกษุ ท. !
อริยสัจจ์ว่าด้วยความทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? .. คือ
- ความเกิดเป็นทุกข์
- ความชราเป็นทุกข์,
- ความตายเป็นทุกข์,
- โสกปริเทวะ ทุกข์กายทุกข์ใจ และความแห้งใจเป็นทุกข์,
- ประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์,
- พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์,
- ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์;
โดยย่อแล้วขันธ์ห้าที่ยังมีความยึดถือเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. !
นี้แลอริยสัจจ์ว่าด้วยความทุกข์.

ภิกษุ ท. !
อริยสัจจ์ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? .. คือ
- เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร.
- เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ,
- เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
- เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีอายตนะหก;
- เพราะมีอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.
- เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา,
- เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา,
- เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน,
- เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ,
- เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ,
- เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสขึ้น ครบถ้วน.


(ปฏิจจสมุปบาท สายเกิดขึ้น .. สมุทัยปฏิจจสมุปบาท)


กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมเกิดมีขึ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. !
นี้แลอริยสัจจ์ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์.

ภิกษุ ท. !
อริยสัจจ์ว่าด้วยความดับสนิทของความทุกข์ .. เป็นอย่างไรเล่า ? .. คือ
- เพราะอวิชชานั่นเอง จางดับไปไม่มีเหลือ จึงมีความดับแห่งสังขาร.
- เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ;
- เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป.
- เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งอายตนะหก.
- เพราะมีความดับแห่งอายตนะหก จึงมีความดับแห่งผัสสะ.
- เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา.
- เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา.
- เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;
- เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;
- เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;
- เพราะมีความดับแห่งชาติ, ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาส จึงดับสนิทไป :

กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมดับไปด้วยอาการอย่างนี้.


(ปฏิจจสมุปบาท .. สายดับลง .. นิโรธะปฏิจจสมุปบาท
.
.
หมายเหตุ จขบ.
ลองพิจารณา .. หลักธรรมเอกสายแห่งการดับลงแห่งทุกข์นี้ให้ดี .. พึงพิจารณาภาษาคน ภาษาธรรม อย่างใคร่ครวญโดยแยบคาย .. แล้วจะเห็นได้ว่า ..

- เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ.

เมื่อคำว่า "สังขาร" หมายถึง "อำนาจแห่งการปรุงแต่งของจิตที่ปราศจากวิชชา-(ความรู้ในอริยสัจจ์) " ..

เมื่อสังขารดับ .. คือ อำนาจแห่งการปรุงแต่งในจิตที่โง่เขลาดับลง .. แล้ว เป็นปัจจัยทำให้ "วิญญาณดับลง" ..

ย่อมแปลว่า ตัว"วิญญาณ" นี้เกิดจากอำนาจปรุงแต่งในจิต ที่จะเกิดขึ้นเมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสกับ .. รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรื่องราว .. แล้วพลุ่งโพลงเป็นการปรุงแต่ง นึกคิดเอาเองไปต่างๆนาๆ .. และจะดับไปเป็นครั้งคราวๆไป ..

วิญญาณ .. จึงไม่เที่ยง ไม่เป็นตัวตนยืนโรงถาวรอะไร .. เพราะเกิดตัวใหม่อีก ดับ แล้วเกิดอีก แล้วดับอีก แล้วเกิดตัวใหม่ ตามช่องทางสัมผัสทั้ง 6 ทาง ..

คือ ..
- สัมผัสทางตาแล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. จักษุวิญญาณ.
- สัมผัสทางหูแล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. โสตวิญญาณ
- สัมผัสทางจมูกแล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. นาสิกวิญญาณ
- สัมผัสทางลิ้นแล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. ชิวหาวิญญาณ
- สัมผัสทางผิวกายแล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. กายะวิญญาณ
- สัมผัสทางใจ(ธรรมารมณ์-อารมณ์ที่เกิดหลังกระทบกับโลกสภาพที่แวดล้อมอยู่) แล้วเกิดปรุงแต่ง ก็จะเกิดเป็น .. มโนวิญญาณ

วิญญาณ ในพุทธศาสนา ก็มีแค่นี้เอง คือ วิญญาณ 6 ..


ส่วนวิญญาณล่องลอยออกจากร่างที่ตายแล้ว .. พระพุทธองค์ไม่เคยสอน .. แต่พระพุทธโฆสะ จับใส่ไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค และพระรูปนี้เองที่ตีความหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท ด้านบนเป็นแบบ คร่อม 3 ภพ 3 ชาติ คือ ..

เอา ..
1. อวิชชา .. สังขาร .. วิญญาณ -> ไว้ในอดีตชาติ

2. นามรูป .. อายาตนะ 6 .. ผัสสะ .. เวทนา .. ตัณหา .. อุปาทาน .. ภพ -> ไว้ในปัจจุบันชาติ

3. ชาติ .. ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส -> ไว้ในอนาคตชาติ


เป็นการเอาเหตุแห่งทุกข์ คือ อวิชชา ไปไว้ในชาติอดีต .. ที่คนเราไม่อาจรู้ได้ .. ไม่อาจย้อนกลับไปแก้ไขได้ .. แล้วจะปฏิบัติให้ดับทุกข์ได้อย่างไร ?

ทุกข์เกิดแต่เหตุ .. ตถาคตทรงตรัสทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ ทางให้ถึงความดับทุกข์

ทีนี้เมื่อวาง ทุกข์ อยู่ในอดีตชาติ แล้วจะรู้ได้อย่างไร จะดับมันได้อย่างไร เพราะไม่อาจรู้ได้ .. ไม่มีใครรู้ได้เลย

การตีความข้อธรรมลักษณะนี้จึง ผิด .. และเป็นไปไม่ได้เลยที่คนธรรมดาทั่วไปจะสามารถรู้เหตุแห่งทุกข์ได้ด้วยตนเองอย่างหลักกาลามสูตรที่ทรงตรัสเอาไว้ให้เป็นแนวทาง

การตีความข้อธรรมลักษณะนี้จึง ฟั่นเฝือ .. ไม่เป็นเหตุเป็นผล ที่จะช่วยดับทุกข์ในจิตได้


จัดเป็น ความบิดเบือน ทางหลักธรรม หรือที่เรียกว่า สัทธรรมปฏิรูปนั่นเอง .. คืออธิบายเอาตามกำลังการปรุงแต่งในจิตของคนเขียนตำราที่ไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องถ่องแท้ดีพอ ..

ทำนองเดียวกับบรรดา หลวงพ่อ หลวงพี่ ทั้งหลายในสังคมเชื่องเชื่อแห่งนี้ ที่อาจจะถึง 70-80% .. ยังท่วมไปด้วยมิจฉาทิฏฐิและเผยแพร่ความบิดเบือนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน .. สังคมนี้จึงเต็มไปด้วยความมืดบอด งมงาย .. อย่างน่าสังเวชใจ
)


ภิกษุ ท. !
นี้แลอริยสัจจ์ว่าด้วยความดับสนิทของความทุกข์.

ภิกษุ ท. !
อริยสัจจ์ว่าด้วยข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่าไร ? .. คือหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดนี้เอง .. ได้แก่ ..
1- ความเห็นถูกต้อง
2- ความดำริถูกต้อง
3- ความมีวาจาถูกต้อง
4- ความมีการกระทำทางกายถูกต้อง
5- ความมีอาชีวะถูกต้อง
6- ความมีความพยายามถูกต้อง
7- ความมีการระลึกประจำใจถูกต้อง
8- และความมีการตั้งใจมั่นอย่างถูกต้อง
.

(มรรคมีองค์ 8)

ภิกษุ ท. !
นี้แลอริยสัจจ์อันว่าด้วยข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทของความทุกข์.

ภิกษุ ท. !
ข้อใดที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีใครข่มขี่ได้เป็นธรรมไม่มีมัวหมองไม่มีทางถูกตำหนิถูกคัดค้าน จากสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายดังนี้นั้น ข้อความนั้นเราอาศัยข้อความเหล่านี้แลกล่าวแล้ว.
.
.
.
บาลี มหาวรรค ติก. อํ. ๒๐/๒๒๕/๕๐๑.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2555
0 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 5:50:25 น.
Counter : 1204 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.