Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 
22 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. เหตุที่สาวกบางคนไม่ได้บรรลุ

.




" ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ทุกๆ องค์ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ หรือว่าบางองค์ไม่ได้บรรลุ ? "

พราหมณ์คณกโมคคัลลานะทูลถาม.

พราหมณ์ !
สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.

"พระโคดมผู้เจริญ !
อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่, หนทางเป็นที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่, พระโคดม ผู้ชักชวน (เพื่อการดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่, ทำไมน้อยพวก ที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ ? "

พราหมณ์ !
เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจงตอบตามควร ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในหนทางไปสู่เมืองราชคฤห์ มิใช่หรือ, มีบุรุษผู้จะไปเมื่องราชคฤห์ เข้ามาหาและกล่าวกะท่านว่า ..

"ท่านผู้เจริญ !
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าเถิด"

ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "มาซิท่าน, ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ .. ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้น และจักเห็นนิคมชื่อโน้น .. จักเห็นสวนและป่าน่าสนุกจักเห็นภูมิภาคน่าสนุก สระโบกขรณีน่าสนุก ของเมืองราชคฤห์" ดังนี้.

บุรุษนั้นอันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงข้ามไป.

ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ำบอกพร่ำชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.

พราหมณ์ !
อะไรเล่าเป็นเหตุ, อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่, หนทางสำหรับไปเมืองราชคฤห์ ก็ยังตั้งอยู่, ท่านผู้ชี้บอกก็ยังตั้งอยู่, แต่ทำไม บุรุษผู้หนึ่งกลับหลังผิดทาง, ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ?

"พระโคดมผู้เจริญ !
ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น".

พราหมณ์ !
ฉันใดก็ฉันนั้น, ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ เราผู้ชักชวน ก็ยังตั้งอยู่ แต่สาวก แม้เรากล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวก ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.

พราหมณ์ !
ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะเราเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น
.
.
.
บาลีคณกโมคคัลลานสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๘๕/๑๐๑.
ตรัสแก่พราหม์ ชื่อคณกโมคคัลลานะที่บุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี


หมายเหตุ .. จขบ.

จะเห็นได้ว่า แม้แต่พระพุทธองค์ยังไม่สามารถทำให้คนจำนวนมาก "เข้าใจปรมัตธรรม" ที่พระองค์ทรงค้นพบในคืนตรัสรู้ คือ อิทัปปัจยตา และ ปฏิจจสมุปบาท ได้เลย ..

เพราะอะไร ?

เพราะหลักธรรม ในระดับ อนัตตา หรือ สุญญตา นี้แสดงได้ยาก ทำให้คนเข้าใจได้ยาก .. ในรอบพันปีผู้ที่นำมาวิเคราะห์วิจัยทำความเข้าใจจนถ่องแท้ .. จนมองเห็นถึงจุดผิดพลาดบิดเบือนที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์โบราณที่สืบทอดกันมาอย่าง "วิสุทธิมรรค ที่รจนาโดย พระพุทธโฆสาจารย์" ได้เพียงรูปเดียวคือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ปราชญ์สงฆ์ชาวไทยที่องค์กรสากลอย่างยูเนสโก ประกาศยกย่อง

ทั้งก่อนหน้า และ ภายหลัง ยังไม่เคยมีใครกล้าตีความ ปฏิจจสมุปบาท หักล้างการตีความในวิสุทธิมรรคเลย ที่ตีความชี้นำความคิดคนว่าเป็นเรื่องคร่อมภพคร่อมชาติในวงรอบปฏิจจสมุปบาทหนึ่งๆ .. ซึ่งผิด !

หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้เป็นต้นตำหรับการหลับตาเพ่งที่ศูนย์กลางกายจนเห็นรูปดวงแก้ว ที่เรียกว่า "ธรรมกาย" นั้น ก็ไม่เคยปรากฎว่ามีความเข้าใจในหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทอย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฎเป็นที่รับรู้เลย !

( ที่จริงแล้วคำว่า "ธรรมกาย" หมายถึงพระพุทธองค์โดยตรง .. คำนี้ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกของเถรวาทนี่แหละ แม้ว่าจะใช้คำนี้กันมากในฝ่ายมหายานก็ตาม .. ด้วยแนวคิดที่ว่า รูปกายที่เดินไปเดินมาในชมพูทวีปในนามเจ้าชายสิทธัตถะ มีโอรสชื่อราหุล มีพระชายาชื่อยโสธรา มีพระมารดาชื่อ สิริมหามายา นั้นเป็น"กายเนื้อ" ที่ดับสลายไปเมื่อพระชนมายุ 80

อีกภาวะหนึ่งคือ "กายธรรม" หรือ "ธรรมกาย" ที่หลังจากการตรัสรู้แล้วเท่านั้นที่เราเรียกกัน คือ หลังพระชนมายุ 35 จน 80 นั้นมี ธรรมกาย ทับซ้อน รูปกาย เดิม เป็นเพียงสภาวะธรรมที่แยกให้เห็น เท่านั้น ..

ซึ่งสามารถเอามารับรองคำตรัสที่ว่า .. "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม .. ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต" .. ซึ่งก็คือสายตาของพระอรหันต์ที่เข้าใจธรรมแล้วเท่านั้นจึงจะเห็น "ธรรมกาย" หรือ กายธรรมของตัวเอง .. หรือกายธรรมของพระพุทธองค์รวมทั้งพระอรหันต์ทุกรูป ซึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ..
)

และแม้แต่ท่านประยุตต์ พระพรหมคุณาภรณ์ เองที่ยกย่องกันว่าเป็นปราชญ์รูปหนึ่งในแวดวงสงฆ์ไทย ยังเพียงแต่กล่าวถึงในหนังสือ พุทธธรรม ของท่าน แต่เพียงว่ามีการตีความเป็น 2 อย่าง .. แต่ท่านเองก็ไม่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเห็นอย่างไรในประเด็นนี้

ทำไม ประเด็นนี้ถึงสำคัญ ?

เพราะหลักธรรมนี้ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ ตรัสรู้ในคืนวิสาขะบูชา .. เป็นหลักธรรมที่ใช้สำหรับกำจัดอวิชชา และถอนอาสวะโดยตรง .. จิตใจระดับอนาคามีของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งแต่ออกจากสำนักอาฬารดาบส อุทกดาบส จนบำเพ็ญทุกรกิริยาต่อมาอีก 6 ปี .. จึงสามารถ เข้าสู่ภาวะ"หลุดพ้น" บรรลุอรหันต์ได้

หากเข้าใจ ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้แล้วจะมาบอกว่าบรรลุอรหันต์ ก็ย่อมเป็นเพียงคำหลอกลวง

รวมทั้งผู้เขียน วิสุทธิมรรค ที่ตีความออกทะเลแบบนั้น .. ที่เชื่อกันว่าท่านเป็นอรหันต์ .. ก็ย่อมเป็นความเชื่อที่ผิด เช่นกัน .. !





Create Date : 22 กันยายน 2555
Last Update : 22 กันยายน 2555 5:52:17 น. 0 comments
Counter : 1197 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.