Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 
15 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ

.




ภิกษุ ท. !
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)".

ภิกษุ ท. !
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !
ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?

สี่อย่างคือ ..
- อริยสัจคือทุกข์
- อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
- อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
- อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. !
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ..
- ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้",.
ดังนี้.

(โยคกรรม คือ การกระทำ ความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า "โยคะ",. เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.)
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗

(ในกรณีที่ไม่เห็นอริยสัจนั้น ยังมีผลทำให้ :
- สัตว์มาเกิดในมัชฌิมชนบท มีน้อย (๑๙/๕๗๘/๑๗๕๘).
- สัตว์มีปัญญาจักษุ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๕๙).
- สัตว์ไม่เสพของเมา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๐).
- สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย (สัตว์น้ำมาก) (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).
- สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).
- สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๒).
- สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๓).
- สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย (๑๙/๕๘๐/๑๗๖๔).
- สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้อย (๑๙/๕๘๐/๑๗๖๕).

นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงแสดงภาวะแห่งสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนา อีกมากอย่างตามที่เรารู้จักกันอยู่ เช่น สัตว์ที่ไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ เป็นต้น, ผู้รวบรวมเห็นว่ามากเกินความจำเป็น จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้.)

หมายเหตุ จขบ.
ผู้อ่าน .. ลองพิจารณาข้อความด้านล่างที่กล่าวถึง"สัตว์" ในภาวะการณ์ต่างๆซึ่งมีเหตุมาจากการไม่รู้อริยะสัจจ์ดูว่า ..
- สัตว์มีปัญญาจักษุ
- สัตว์ไม่เสพของเมา
- สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา
- สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา
- สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ
- สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์
- สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน

นั้น .. พระพุทธองค์ทรงหมายถึง "สัตว์" แบบไหน ?
สัตว์ที่จะ .. เอื้อเฟื้อสมณะ เอื้อเฟื้อพราหมณ์ อ่อนน้อมถ่อมตน .. คงไม่ใช่พวก เสือ สิงห์ กระทิง แรด หมู หมา กา ไก่ แน่นอนจริงไหม ? .. เพราะสัตว์ลำตัวขวางโลกนี้เป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน .. การแยกแยะกลุ่มคนย่อมเป็นไปไม่ได้ ..

ดังนั้น "สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย" .. ประโยคนี้จึงย่อมต้องหมายถึง .. ภาวะจิต .. ในคนเราเท่านั้น .. และคำว่า "มนุษย์" คือต้องหมายถึงจิตที่เข้าใจอริยสัจจ์ .. คือคนที่มีจิตใจสูงแล้วเท่านั้นจึงเรียกว่า มนุษย์

ดังนั้น "สัตว์ลำตัวตรง ที่มีสติสัมปชัญญะ .. ที่เรียกว่าคน" นี้ยังไม่ใช่มนุษย์ในตอนแรกเกิด .. จนกว่าจะเข้าถึง อริยสัจจ์ แล้วเท่านั้น




Create Date : 15 ธันวาคม 2555
Last Update : 15 ธันวาคม 2555 4:44:52 น. 0 comments
Counter : 1099 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.