Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
29 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์

ภิกษุ ท.!
ข้อที่เรากล่าวว่า ..
" .. พึงรู้จักทุกข์.
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
พึงรู้จักผลของทุกข์,
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
และพึงรู้จักทางดำ เนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ .. "
ดังนี้นั้น,

ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ..
.. ความเกิด เป็นทุกข์,
.. ความแก่ เป็นทุกข์,
.. ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์,
.. ความตาย เป็นทุกข์,
.. ความโศกความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,
.. ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์;

กล่าวโดยสรุปแล้ว .. ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท.!
เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
.. ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.

ภิกษุ ท.!
ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
.. ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่,
.. ที่มีประมาณ เล็กน้อย มีอยู่,
.. ที่คลายช้า มีอยู่,
.. และที่คลายเร็ว มีอยู่.

ภิกษุ ท.!
นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.

ภิกษุ ท.!
ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ..
.. ย่อมโศกเศร้า
.. ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้
.. ย่อมถึงความหลงใหล;

หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อม ..
.. ถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า "ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี" ดังนี้.

ภิกษุ ท.!
เรากล่าวว่า ..
.. ความทุกข์มีความหลงไหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่งภายนอกเป็นผล.

ภิกษุ ท.!
นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.

ภิกษุ ท.!
ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะ .. ความดับไม่เหลือของตัณหา.

ภิกษุ ท.!
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่ ..
.. ความเห็นชอบ
.. ความดำริชอบ;
.. การพูดจาชอบ
.. การทำการงานชอบ
.. การเลี้ยงชีวิตชอบ;
.. ความพากเพียรชอบ
.. ความระลึกชอบ
.. ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท.!
คำใด ที่เรากล่าวว่า ..
" .. พึงรู้จักทุกข์,
.. พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์,
.. พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์,
.. พึงรู้จักผลของทุกข์,
.. พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์,
.. และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ .."
ดังนี้นั้น,

เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.
.
.
.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.'ต้


Create Date : 29 กันยายน 2556
Last Update : 29 กันยายน 2556 8:55:32 น. 0 comments
Counter : 1221 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.