Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 
12 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์กับความดับสนิทของทุกข์

.




ภิกษุ ท.!
ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงเป็นจริงว่า ..

"พระสมณโคดมซึ่งเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่ความฉิบหาย; ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ ความไม่มี ของสัตว์ คน ตัวตนเราเขา ขึ้นสั่งสอน" ดังนี้.

ภิกษุ ท. !
สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จเปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงเป็นจริง โดยประการที่เรามิได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็หามิได้.

ภิกษุ ท. !
ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.


(หมายเหตุ จขบ ..

คำสอนใด .. จากหลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงลุง จะต้นธาตุต้นธรรม หรือแม่ชีขนนกอะไรก็ตาม .. หากมีความมุ่งหมายที่ไม่เป็นไปเพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์ในจิต ในชาติปัจจุบัน .. นั่นย่อมเป็นคำสอนที่บิดเบือน .. และไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์

ดังนั้น ..

คำสอนที่เท้าความไปถึงกาลอดีตที่รับรู้ด้วยตัวเองไม่ได้ ..
คำสอนที่พยากรณ์เรื่องราวไปในกาลอนาคตที่รับรู้ด้วยตัวเองไม่ได้ ..

ย่อมไม่เป็นเรื่องของความทุกข์ และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์ เนื่องจากเป็นการพูดถึงประเด็นแห่งความเชื่อ การคาดเดา ที่จะทำให้จิตใจฟุ้งไปในจินตนาการที่ไม่มีวันรู้ได้ชัดแจ้งด้วยตนเอง .. จึงไม่เป็นไปเพื่อความดับ เพื่อความจางคลาย แห่งกำหนัด

ในเมื่อเป็นเรื่องราวที่รู้ไม่ได้ด้วยตนเอง .. ก็ได้แต่เชื่อ"ที่เขาว่า" .. ก็ขัดกับหลักกาลามสูตร .. ที่ว่าควรเชื่อเมื่อรับรู้ สัมผัสได้ด้วยตนเองก่อนเท่านั้น

เพราะ .. คำของพระพุทธองค์ตรงเป็นอันเดียวกันหมด ..

เมื่อพระองค์สอนว่ายังไม่ควรเชื่อ จนกว่าจะรู้แจ้งแก่ตนเองว่าเป็นประโยชน์ .. คือการปฏิบัติ ฝึกฝน ควบคุมจิตและกายที่เป็นเครื่องประกอบอันเนื่องอยู่กับจิตลงไปตรงๆ .. ทีละขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามลำดับ เท่านั้น ไม่มีทางอื่น ก็คือ มรรค 8 นั่นเอง ..

และเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว .. เรื่องอดีตชาติ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องอนาคตชาติ .. เราจะปฏิบัติลงไปตรงๆได้อย่างไร .. ปฏิบัติอะไร ? จึงจะรู้แจ้งได้จนรู้ได้ว่าเป็นประโยชน์ หรือ ไม่เป็น .. จริงไหม ?

ธรรม ที่เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งแล้วเห็นได้ถึงความลักลั่น ขัดแย้งกันเองนี้ คือตัวบ่งชี้ว่า อย่างหนึ่งอย่างใด ต้องผิดแน่นอน เพราะมันไม่ "ตรงเป็นอันเดียวกันหมด" อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสระบุไว้

เมื่อการปฏิบัติลงไปตรงๆ ตามมรรค 8 เป็นคำของพระพุทธองค์ .. ดังนั้นสิ่งที่ขัดแย้งกันลงกันไม่ได้ ก็ย่อมไม่ใช่คำของพระองค์ ..


และนี่คือวิธีการแยกกรองเอา "ขยะ" ออกจากหลักพุทธธรรม อย่างง่ายๆ ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรเลย


ดังนั้น สิ่งที่รู้ไม่ได้ด้วยตนเอง เช่น กรรมในอดีต (วิบากกรรม - ปัญหาอจินไตย) เรื่องราวในอดีตที่มีคนบอกว่า เคยเป็นนั่น เคยเป็นนี่ เคยผูกพันกันมา หรือการพยากรณ์ไปในอนาคต ว่าต่อไปจะเป็นนั่นเป็นนี่ .. ล้วนขัดแย้งกับหลักกาลามสูตรทั้งสิ้น .. เพราะคนฟังไม่อาจรู้ว่ามันจริงหรือเท็จ ..

กาลามสูตร กับ คำพยากรณ์ คำบอกเล่าเรื่องราวในอดีตชาติ (ที่ล้วนโกหกทั้งสิ้น) จึงขัดแย้งกัน .. แปลว่า-คำพยากรณ์คำบอกเล่าเรื่องข้ามภพข้ามชาติเหล่านั้นไม่ใช่คำของพระองค์


เนื่องจากว่า กาลามสูตร เป็นคำของพระองค์ .. ดังนั้นเรื่องราวบอกเล่าเพริดแพร้วพิสดารในกาลอดีต ในกาลอนาคต จึงย่อมไม่ใช่คำของพระองค์อย่างเด็ดขาด ..

จึงเป็น มิจฉาทิฏฐิของพระลูกชาวบ้านบวชเรียนชั้นหลัง ที่ฝังหัวงมงายโง่เขลาอยู่กับเรื่องราวปรัมปราที่บรรยายอยู่ในไตรภูมิกถา ของพระร่วงมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยนั่นแล .. ซึ่งพระร่วงเองก็คัดลอกมาจาก .. วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆสาจารย์อีกทีหนึ่ง .. คือเรื่องไตรเภท ของพรามหณ์ ที่ปนเปื้อนอยู่ใน ความคิดของชาวพุทธจำนวนมากกว่า 90% ! !
)


ภิกษุ ท. !
ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์และความดับสนิทของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใครมาด่าว่าถากถางกระทบกระเทียบเสียดสี ตถาคตก็ไม่มีความโกรธแค้นขุ่นเคืองเดือดร้อนใจเพราะเหตุนั้นแต่ประการใด.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใครมาสักการะเคารพสรรเสริญบูชา, ตถาคต
ก็ไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลินชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม. ถ้ามีใครมาสักการะ
เคารพสรรเสริญบูชา ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามีความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างนั้น, ดังนี้.
.
.
.
บาลี อลคัททูปมสูตร มู.ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.



กาลามสูตร.
คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี)

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว

จาก .. วิกิพีเดีย




หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล .. อยู่ตรงไหนกัน .. คงยากรู้ .. เรารู้แต่ว่า แคว้นโกศลอยู่ไหนจากแผนที่ข้างบนนี้ และแคว้นนี้มีเมืองหลวงชื่อ กรุงสาวัตถี ที่ชาวพุทธคงคุ้นชื่อนี้ดีอยู่แล้ว .. ซึ่งอยู่ติดกับแคว้นสักกะแดนเกิดของพระพุทธองค์




Create Date : 12 กันยายน 2555
Last Update : 13 กันยายน 2555 20:58:35 น. 0 comments
Counter : 2043 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.