Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
 
27 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. ความดับเย็นของเวทนามีได้ แม้ในทิฏฐธรรมนี้

วัปปะ!
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว "สตตวิหารธรรม" ทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว :

ภิกษุนั้น ..
..เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสิตสัมปชัญญะ
อยู่ ;
..ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ....;
..รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ....;
..ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ....;
..ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว ....;
..รู้สีกธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว
ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

ภิกษุนั้น ..
..เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นสุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; ..เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่;

เธอย่อมรู้ชัดว่า
"เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเ ป็นของเย็นในอัตตภาพนี้๑ นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

วัปปะ !
เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ). ลำดับนั้น บุรุษถือเอามาซึ่งจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน, ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด, ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก.

บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ ่ ;ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า; ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ; ครั้นจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด ;ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ; ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงทำให้เป็นผงเถ้าถ่าน; ครั้นทำ ให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ .

วัปปะ!
เงาอันใดที่อาศัยเสาสดมภ์, เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา, นี้ฉันใด ;

วัปปะ!
ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม ท. ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว :

ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว....
; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว....
; ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ....
; ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยกายะแล้ว ....
; รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว

ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ภิกษุนั้น ..
..เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่; ..เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ;

เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย" ดังนี้.
.
.
.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๖๙/๑๙๕.


๑. สตตวิหารธรรม ในที่นี้ หมายความว่า มีสติสัมปชัญญะติดต่อกันไป ในการสัมผัสทางตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เกิด ยิน ดียิน ร้ายขึ้น ม าได้ อย่างติดต่อกัน ไม่มีเวลาเผลอ .
เมื่อมีสติควบ คุม สิ่งทั้งห กนี้ไว้ได้ อย่างติดต่อกัน เช่น นี้ การเป็น อยู่อย่างนี้ ก็เรียกได้
ว่า "สตตวิหาร ธรรม ๖ ประการ".

๑. การดับเย็นแห่งเวทนาในอัตภาพนี้ มีอธิบายอีกในหัวข้อว่า "การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อ
เสวย เวทนาสามแล้วดับเย็น" ที่หน้า ๗๘๗ แห่งหนังสือนี้.


Create Date : 27 มีนาคม 2558
Last Update : 27 มีนาคม 2558 8:05:14 น. 0 comments
Counter : 1213 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.