Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 
15 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงฝึกสาวกเป็นลำดับ ๆ

.





อัคคิเวนสะ !
เมื่อใดช้างที่ถูกฝึกรู้จักทำตามคำของคนฝึกในการลุกขึ้นและการทรุดลงแล้วต่อจากนั้นผู้ฝึกก็ฝึกให้รู้จักอาการที่เรียนว่า อาเนญชะ (คือไม่หวั่นไหว), เขาผูกโล่ไว้ที่งวง มีผู้ถือหอกซัด นั่งบนคอคนหนึ่ง และ หลายคนล้อมรอบ ๆ คนฝึกถือหอกซัดขนาดยาวยืนหน้าช้างนั้นแหละสอนให้ทำอาการที่เรียกว่า อาเนญชะ, ช้างนั้นมิได้ทำเท้าหน้าให้ไหวมิได้ทำเท้าหลัง, กายตอนหน้า, กายตอนหลัง, ศรีษะ, ใบหู, งา, หาง, งวง ให้ไหวเลย

เป็นช้างควรทรงสำหรับพระราชา, ย่อมทนการประการด้วยหอก, ดาบ, ลูกศร, การประหารของข้าศึก, ทนต่อเสียงบันลือลั่นของกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และเปิงมางทั้งหลาย, มีความบิดเบือน ดุร้าย เมามัน อันสิ้นแล้ว ควรแก่พระราชา เป็นของใช้สอยของพระราชา เรียกได้ว่าเป็นองค์อวัยวะของพระราชาดังนี้, นี่ฉันใด.

อัคคิเวสนะ !
อันนี้ก็ฉันนั้น : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.

ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธา ในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็น ว่า ..

"ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี,(คือกิเลส) บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง ; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด", ดังนี้.

โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

อัคคิเวสนะ !
เพียงเท่านี้ ย่อมชื่อว่า เขาได้ไปถึงที่โล่งโปร่ง แล้ว, (ดุจช้างที่นำออกมาจากป่าแล้ว).

อัคคิเวสนะ !
ก็เทวดาและมนุษย์ ท. มีเครื่องยั่วยวนคือ กามคุณห้า. ตถาคตจึงแนะนำกุลบุตรผู้บวชแล้วนั้นให้ยิ่งขึ้น ว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นเป็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย"

อัคคิเวนสะ !
ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ แล้ว ตถาคตจึงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ ท. ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะ บาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตาม เพราะการไม่สำรวมจักขุอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เราจักปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำรวมจักขุอินทรีย์". (ใน หู จมูก ลิ้น กายใจ ก็มีนัยเดียวกัน).

อัคคิเวนสะ !
ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ ท. ฯลฯ แล้ว, ตถาคตจึงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อยู่เสมอ, จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันไม่ฉันเพื่อเล่นเพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำ บาก เพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์, เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนหมดสุข) ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร ความอยู่ผาสุกสำราญจักมีแก่เรา" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ !
ในกาลใด ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ฯลฯ แล้ว, ตถาคต ก็แนะนำ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น, จักชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินการนั่ง ตลอดวันยังค่ำ จนสิ้นยามแรกแห่งราตรี,

ครั้นยามกลางแห่งราตรีนอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า,
มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น,ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิต
ให้หมดจดจากอาวรณิยธรรมด้วยการจงกรม และการนั่งอีก" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ !
ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น ฯลฯ แล้ว,ตถาคต ก็แนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ, จักรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้แขน การเหยียดแขน,การทรงสังฆาฎิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,การไป การหยุด, การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น,การพูด การนิ่ง" ดังนี้.

อัคคิเวสนะ !
ในกาลใดแล ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย สติ สัมปชัญญะ ฯลฯ แล้ว, ตถาคตก็แนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า ..

"แน่ะภิกษุ ! ท่านจงมา, ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขาลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง.

ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ..
- นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า,
- ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา;
- ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังเกื้อกูลในสัตว์ ท. คอยชำระจิตจากพยาบาท;
- ละถีนะมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิต จากถีนมิทธะ;
- ละอุทธัจจะ กุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจาก อุทธัจจะ กุกกุจจะ;
- ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร, นี่อย่างไร' ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา
" ดังนี้.

อัคคิเวนสะ !
ในกาลใด ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ห้า อย่าง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว เป็นผู้มีปรกติ ..
- เห็นกายในกาย,
- เห็นเวทนาในเวทนา ท,
- เห็นจิตใจจิต ,
- เห็นธรรมในธรรม ท.
- มีความเพียรเผาบาป
- รู้ตัวรอบคอบ
- มีสติ
- นำ อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกได้
.
ในกาลนั้นเปรียบเหมือนคนผู้ฝึกช้าง ฝังเสาใหญ่ลงในแผ่นดินแล้ว ผูกช้างป่าเข้าที่คอเพื่อย่ำยีกำจัดเสียซึ่งปรกตินิสัยที่เป็นป่าเถื่อน เพื่อย่ำยีกำจัดเสียซึ่งความคิดครุ่นอย่างนิสัยป่าเถื่อน, และความกระวนกระวายดิ้นรนเร่าร้อน อย่างนิสัยป่าเถื่อนนั้นเสีย; เพื่อให้ยินดีต่อบ้าน ชวนให้คุ้นเคยในปรกตินิสัย อันเป็นที่พอใจของมนุษย์ ; นี้ฉันใด.

อัคคิเวนสะ !
สติปัฏฐานทั้งสี่นี้ ก็เป็นที่เข้าไปผูกแห่งใจของอริยสาวก เพื่อย่ำ ยีกำ จัดเสียซึ่งปรกตินิสัยอย่างบ้าน ๆ เรือน ๆ เพื่อย่ำ ยีกำ จัดเสียซึ่งความคิดครุ่นอย่างบ้าน ๆ เรือน ๆ และความกระวนกระวายดิ้นรนเร่าร้อนอย่างบ้าน ๆ เรือน ๆ นั้นเสีย ; เพื่อให้ถึงทับญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฉันนั้นเหมือนกัน.

(ต่อจากนี้ทรงกล่าวถึงการที่สาวกนั้น บรรลุฌานทั้งสี่ และวิชชาสามอย่าง ยืดยาวโดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องการตรัสรู้ของพระองค์เอง จงดูในที่นั้น จักได้กล่าวเนื้อความอื่นที่สืบต่อจากนั้นไป). ...ฯลฯ...

ภิกษุนั้น รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.

อัคคิเวนสะ !
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย และสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นได้ต่อถ้อยคำ ที่กล่าวร้าย กล่าวมาไม่ดี, อดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้วอย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด หมดความสำราญเบิกบานใจ ปลิดเสียได้ซึ่งชีวิต. ภิกษุนั้นเป็น ..
- ผู้มีราคะ โทสะ โมหะ อันกำจัดเสียสิ้นแล้ว
- มีกิเลสอันย้อมใจดุจน้ำ ฝาด อันตนสำ รอกออกเสียได้แล้ว,
- เป็นอาหุเนยยบุคคล
- เป็นปาหุเนยยบุคคล
- เป็นทักขิเฌยยบุคคล
- เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้
- เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นใดยิ่งไปกว่า
.

อัคคิเวสนะ !
ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ที่ยังไม่เป็นขีณาสพ ทำกาละลงไป, ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทำกาละแล้ว ทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลาง หรือหนุ่ม ของพระราชาที่ยังฝึกไม่ได้ ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายแล้ว ทั้งที่ยังฝึกไม่เสร็จ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อัคคิเวนสะ !
ถ้าภิกษุผู้เถระ หรือภิกษุปูนกลาง หรือภิกษุใหม่ก็ตามเป็นขีณาสพแล้ว ทำกาละลงไป, ก็ย่อมถึงซึ่งการนับว่าตายแล้ว ทำกาละแล้วอย่างเสร็จสิ้นการฝึกแล้ว ดุจดั่งช้างแก่ หรือปูนกลางหรือหนุ่มก็ตาม ของพระราชา ที่เขาฝึกดีแล้ว ตายลง ก็ถึงซึ่งการนับว่า ตายไปอย่างได้รับการฝึกสำเร็จแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
.
.
.
บาลี ทันตภูมิสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๖/๓๙๕.
ตรัสแก่สามเณร อจีรวตะ ผู้อัคคิเวสนโคตร, ที่สวนไผ่ ใกล้กรุงราชคฤห์

ตรัสเรื่องการฝึกช้างเป็นลำดับ ๆ มาแล้ว ตั้งแต่นำออกจากป่ามาเป็นลำดับเพื่อเปรียบเทียบกับการฝึกภิกษุ.


Create Date : 15 กันยายน 2555
Last Update : 15 กันยายน 2555 5:41:46 น. 0 comments
Counter : 1682 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.