Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
๒. สังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ



กล่าวโดยย่อ

เมื่อเกิดสังขารการกระทำต่างๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจแล้ว
ย่อมต้องเกิดวิญญาณ อันคือการรับรู้หรือการรู้แจ้งในเหล่าสังขารนั้นๆ



ขยายความ

เมื่อมีสังขารที่ทำหน้าที่เป็นสังขารกิเลสเกิดขึ้นแล้ว (อันคือ สิ่งปรุงแต่งทางใจที่จะยังให้เกิดกระทําทางกาย ทางวาจา ทางใจในเบื้องหน้า) ขั้นต้นตามความเคยชิน หรือตามที่ได้สั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติ มาแต่เก่าก่อน หรือก็คืออาสวะกิเลสอันเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาขึ้นแล้ว หรือกล่าวอีกในนัยหนึ่งได้ว่าเป็นสังขารที่เกิดขึ้นภายใต้อำนาจของอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องซ่อนเร้นอยู่ ได้ตื่นหรือผุดขึ้นมาทำงานร่วมกับอวิชชานั่นเอง, ความสำคัญอยู่ที่สังขารต่างๆตามที่ได้สั่งสมหรือได้รับอิทธิพลจากอาสวะกิเลสที่หมักหมมเหล่านี้ อันเป็น

สัญญาจำชนิดหนึ่งที่สามารถเจตนาขึ้นมาได้ ๑

หรือสามารถผุดหรือเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องเจตนาขึ้นมาก็ได้ อันเปรียบได้ดุจเดียวกับพรายอากาศอันผุดขึ้นเองจากโคลนตมที่เกิดจากการหมักหมม ภายใต้ท้องธารนั้นนั่นเอง ๑

หรือเกิดแต่การกระตุ้นเร้าจากการกระทบสัมผัส ๑

เมื่อมีสังขารดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว ในกระบวนธรรมของจิต จักมี วิญญาณ เกิดการทํางานขึ้นต่อเนื่องสัมพันธ์ทันที คือรับรู้ในสังขารที่เกิดขึ้นมานั้น อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา(วิญญาณ -ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการรู้แจ้งในสิ่งที่กระทบนั้น คือระบบการสื่อสาร เพื่อรับรู้ในสิ่งที่มากระทบนั่นเอง อันคือระบบประสาทรับรู้ในสิ่งต่างๆที่มากระทบของชีวิตนั่นเอง ณ ที่นี้จึงมิได้หมายถึงเจตภูต หรือปฏิสนธิวิญญาณ พวกผี หรือวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้วและยังมีกิเลส ที่ยังต้องคอยเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ ที่ลอยละล่องตามความเข้าใจกันทั่วๆไป) ดังนั้นวิญญาณ พระพุทธองค์ท่านจึงได้ทรงจําแนกออกเป็น ๖ อันเป็นวิญญาณของอายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั่นเอง อันมี ตา๑ หู๑ จมูก๑ ลิ้น๑ กาย๑ และใจ๑ (แสดง ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ)

จักษุวิญญาณ ความรับรู้รูป คือรู้ในรูปที่มากระทบทางตา หรือระบบประสาทรับรู้ในรูปของตานั่นเอง !

โสตวิญญาณ ความรับรู้เสียง ที่มากระทบสัมผัสทางหู หรือระบบประสาทหู

ฆานวิญญาณ ความรับรู้กลิ่น ที่มากระทบสัมผัสทางจมูก หรือระบบประสาทจมูก

ชิวหาวิญญาณ ความรับรู้รสชาด ที่มากระทบสัมผัสทางลิ้น หรือระบบประสาทลิ้น

กายวิญญาณ ความรับรู้ทางกาย อันเกิดแต่การกระทบสัมผัสทางกาย อันรวมทั้งภายนอกและภายใน เช่น ความเจ็บปวดที่เกิดแต่การกระทบสัมผัส สัมผัสเสียดสีทางเพศ(ภายนอก), ปวดหัว, ปวดท้อง(ภายใน), อันคือระบบประสาทสัมผัสทางกายต่างๆทั้งภายนอกและภายในนั่นเอง

มโนวิญญาณ ความรับรู้ทางใจ ที่เกิดแต่การกระทบสัมผัสของธรรมารมณ์ เช่น การรับรู้ความรู้สึกอันเกิดจากความนึกคิด,โทสะ ฯ.โดยใจ (อันมีสมองเป็นเหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิต-หทัยวัตถุ, แต่จิตไม่ใช่สมอง! ) หรือก็คือระบบประสาทส่วนสำหรับสื่อสารความนึกคิดต่างๆ และมโนวิญญาณนี้ ยังทำหน้าที่ต่างๆในการเนื่องสัมพันธ์หรือการสื่อสารรับรู้ระหว่างขันธ์ต่างๆในขันธ์ทั้ง ๕ และปฏิจจสมุปบาทอีกด้วย

ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็คือวิญญาณ อันคือ ระบบประสาทรับรู้หรือรับการสัมผัสของทวารทั้ง ๖ นั่นเอง ในการรับรู้ต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบสัมผัสในวิทยาการปัจจุบัน เป็นตัวถ่ายทอดและเชื่อมต่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกาย, จิต และสิ่งแวดล้อมคืออายตนะภายนอกทั้ง ๖ อันมี - รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัส) และธรรมารมณ์ เช่น ความคิด,โทสะ,ราคะ ฯ.ที่มากระทบสัมผัสกับใจ, ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ท่านจึงตรัสว่า สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ อันคือวิญญาณหรือระบบประสาทรับการสัมผัสในสิ่งต่างๆที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ) ณ ที่นี้สิ่งที่มากระทบสัมผัสก็คือสังขารกิเลสที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว อันย่อมมีเชื้อกิเลสจากอาสวะกิเลสที่อาจเจตนาขึ้นมา หรืออาจจะผุดขึ้นมาเองนั้น หรือจากการกระตุ้นเร้าจากการผัสสะ อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่ที่หมายถึงต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดาในผู้มีชีวิตอยู่, ดังนั้นวิญญาณจึงเกิดขึ้น จึงหมายถึง การเริ่มเกิดการทํางานตามหน้าที่ของวิญญาณในการรับรู้ในกิจนั้นๆ ซึ่งก็คือ สังขารกิเลสที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆแห่งตน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า"การเกิดขึ้นของวิญญาณ" อันหมายถึงเกิดการสื่อสารรับรู้รับการสัมผัสกับสังขารนั้น หรือก็คือเกิดการทํางานตามกิจหรือสังขารนั้นๆที่เกิดขึ้นของตนโดยสมบูรณ์ จึงมิได้มีความหมายถึงเจตภูติหรือการเกิดขึ้นใหม่หรือปฏิสนธิวิญญาณในภพชาติใหม่แต่ประการใด อันล้วนเป็นการตีความด้วยความเข้าใจผิดอันเนื่องด้วยอวิชชา

และที่องค์ธรรมวิญญาณนี้ ถ้าไม่โยนิโสมนสิการโดยแยบคายแล้ว ปุถุชนมักจะคิดกันโดยทั่วๆไปว่า ต้องมีวิญญาณเกิดขึ้นก่อนจึงจะเกิดสังขารต่างๆขึ้นได้ จึงเป็นวิจิกิจฉาความกังวลสงสัย วนเวียน อยู่ในใจลึกๆเสมอๆว่า ถูกต้องไหม เพราะความที่เข้าใจหรือความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน)ที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตมานานแสนนานว่า สังขารที่ไปตีความผิดคิดไปว่าเป็นตัวตนร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดเป็นตัวตนขึ้นมาในโลกแล้วย่อมต้องมีวิญญาณเกิดมาพร้อมแล้ว หรือเพราะความคิดที่ว่าวิญญาณต้องเกิดก่อนจึงจะสื่อสารรับสัมผัสอะไรต่ออะไรได้ อันเป็นไปตามความเข้าใจในขั้นพื้นฐานทั่วๆไปที่ว่า มีชีวิตตัวตนแล้ว ย่อมต้องมีวิญญาณที่หมายถึงเจตภูตินั่นเอง, แต่แท้จริงแล้วเป็นการหมายถึง วิญญาณแห่งการสื่อสารเพื่อรับรู้ รับการสัมผัสของอายตนะภายในต่างๆ(ตา หู ฯ.) ในสิ่งต่างๆที่มากระทบเช่น รูป รส ฯ.(อายตนะภายนอก) ตามที่ท่านได้แยกแยะไว้เป็นวิญญาณทั้ง ๖,

โยนิโสมนสิการดูจากจักษุวิญญาณ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ชัดแจ้งขึ้น โดยนำมาเขียนเป็นกระบวนธรรม เหมือนดั่งกระบวนการหรือสมการที่เขียนในวิชาเคมีทางโลกๆ เพื่อยังประโยชน์ในการโยนิโสมนสิการพิจารณาได้ง่าย ก็เพื่อให้ เห็นการเกิดขึ้นและความเป็นไปตามหลักเหตุและผลหรือหลักอิทัปปัจจยตาอย่างแจ่มชัด จึงขอเริ่มตั้งแต่ต้นกระบวนธรรม กล่าวคือ เมื่อตาไปกระทบรูป นำมาเขียน เป็นกระบวนธรรมโดยย่อได้ดังนี้ วิญญาณนี้จึงเป็นไปดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ใน มหาตัณหาสังขยสูตร

ตาของท่าน เกิดการกระทบสัมผัสกับรูปใดๆ จึงเกิดจักษุวิญญาณ หรือระบบประสาทการรับรู้ของตา คือเห็นภาพหรือการรับรู้ในการสัมผัสกับรูปนั้นเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต

กล่าวคือ ถ้าท่านหลับตา หรือตายเสียแล้ว จักษุวิญญาณนั้นก็เกิดไม่ได้ หรือเรียกว่าดับไป ที่หมายถึง ไม่ทํางาน เนื่องจากไม่ครบองค์ประกอบของเหตุที่จะเป็นปัจจัยในการทำงานหรือการเห็น เพราะ อายตนะภายนอกคือตาดับไปกล่าวคือไม่ทำงานหรือไม่ทำหน้าที่นั่นเอง และวิญญาณนั้นรับรู้ข้อมูลแบบตรงๆหรือข้อมูลดิบนั่นเอง เสมือนหนึ่งเป็นเพียงท่อลำเลียงข้อมูลล้วนๆเพื่อนำส่งไปให้สัญญาหรือความจำ(สัญญา - อันย่อมมีสมองที่เป็นส่วนหนึ่งของกาย แต่ก็ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของหทัยวัตถุด้วย เป็นเหตุปัจจัยร่วมด้วย) จึงยังเป็นข้อมูลดิบๆ โดยที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง เช่น ยังไม่ปรุงแต่งร่วมไปด้วยว่า มีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ, เป็นเพียงอุปมาดั่ง กระจกเงาที่สะท้อนรูปหรือภาพ,ตามรูปหรือภาพต้นแบบนั้นๆ และสิ่งที่ควรรู้ไว้ยิ่งก็คือ วิญญาณทั้ง ๖ ต่างมีกระบวนธรรมหรือกระบวนการทํางานเหมือนกันล้วนสิ้น และล้วนมีความสำคัญ และต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่ออายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ในผู้ที่มีชีวิต

โยนิโสมนสิการ แม้แลดูว่าง่ายๆ ในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นี้ ให้เห็นเข้าใจว่า เป็นจริงเช่นนี้ในทุกหมู่ผู้คน ทุกหมู่เหล่า แม้พระอริยเจ้า เพื่อให้เกิดการสั่งสม ซึมซาบเข้าใจในสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ตามหลักเหตุผล(อิทัปปัจจยตา)ทีละเล็กทีละน้อย ว่าต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา และเพื่อลดละสีลัพพตปรามาสทีละเล็กทีละน้อยอีกด้วย กล่าวคือ พิจารณาในผู้มีชีวิต เมื่ออายตนะภายนอก กระทบ อายตนะภายใน ย่อมต้องเกิด วิญญาณของอายตนะนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดา

ในปฏิจจสมุปบาทธรรม เมื่อเกิดสังขารนั้นๆขึ้นมาแล้ว สังขารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกนั่นเองดังเช่นความคิดนึกหรือธรรมารมณ์ที่แฝงกิเลส ซึ่งเมื่อกระทบกับอายตนะภายใน(ใจ)ที่มีอยู่โดยมวลรวมของผู้ยังมีชีวิตอยู่ จึงย่อมเกิดวิญญาณขึ้นรับรู้เป็นธรรมดา อันเป็นไปดังมหาตัณหาสังขยสูตร ด้วยเหตุปัจจัยดังนี้ พระองค์ท่านจึงกล่าวว่า สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ


จาก อัตตา (ในกระดานธรรม ๓)

...........๕. วิญญาณหรือวิญญาณขันธ์ วิญญาณ ความรู้แจ้งในอารมณ์ หรือเพื่อให้เข้าใจในวิญญาณขันธ์ให้ง่ายขึ้นว่าทำหน้าอย่างไรกันแน่ ก็ให้คิดหรือพิจารณาว่า วิญญาณหรือวิญญาณขันธ์ในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่อย่างระบบประสาทในการสื่อสารหรือถ่ายทอดข้อมูลต่างๆของชีวิตหรือของขันธ์ต่างๆ, เรื่องของวิญญาณ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน และเป็นตำนาน เป็นที่ถกเถียงและเชื่อถือกันไปต่างๆนาๆ ตามที่ได้สั่งสมจาก การอบรม การสั่งสอน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตามที่ได้มีการถ่ายทอดสืบต่อๆกันมาอย่างช้านาน ตลอดจนจากความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ เช่น กลัวความดับสูญหรืออนัตตาด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริงหรืออวิชชา กลัวสิ่งอันเป็นที่รักที่ต้องสูญไปเพราะการพลัดพราก, ดังนั้นในขันธ์ทั้ง ๕ วิญญาณจึงเป็นขันธ์หรือส่วนที่ถูกเพ่งเล็ง,กล่าวขานถึงและเป็นตำนานมากที่สุดว่า เป็นอัตตาหรือเป็นของตัวของตนโดยแท้จริง เป็นเจตภูต เป็นอัตตาหรืออาตมัน, แต่วิญญาณไม่ใช่อัตตา เหตุเพราะวิญญาณเกิดแต่เหตุปัจจัย วิญญาณจึงเป็นสังขาร อันเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยดังนี้

ในผู้มีชีวิตหรือขันธ์ ๕ บริบูรณ์อยู่เมื่อ....อายตนะภายนอก กระทบกับ อายตนะภายใน ย่อมเกิดวิญญาณของอายตนะภายในนั้นๆขึ้น เป็นธรรมดา ดังเช่น

เมื่อ เสียง กระทบกับ หู ย่อมเกิดโสตวิญญาณ หรือก็คือเกิดวิญญาณของหู ขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา

หรือก็คือ เกิดการสื่อสารถ่ายทอดเสียง โดยนำเสียงที่กระทบหู ไปยัง ระบบประสาทหรือสมอง(สัญญา) จึงจำได้หมายรู้ ดังที่กล่าวอยู่เนืองๆในเรื่องขันธ์ ๕

วิญญาณ จึงเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัย ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในพระสูตรต่างๆ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)

วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)

วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ (รู้แจ้งในกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)

วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งในลิ้น หรือรับรู้ในลิ้น)

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (รู้แจ้งในกาย หรือรับรู้ในกาย)

วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ (รู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)

เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า........ฯลฯ


(มหาตัณหาสังขยสูตร)

วิญญาณ จึงไม่ใช่อัตตา วิญญาณจึงเป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นจากเหตุปัจจัยดังพระดำรัสข้างต้น จึงควบคุมบังคับบัญชาด้วยอัตตาตัวตนไม่ได้ วิญญาณจึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ของตนแท้จริง ดังเช่น ในผู้มีชีวิต เมื่อตากระทบรูป ย่อมต้องเกิดจักษุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา จะบังคับบัญชาห้ามไม่ให้เกิดไม่ให้มี ย่อมเป็นไม่ได้ เป็นสภาวธรรมของชีวิต อัตตาหรือตัวตนจึงควบคุมบังคับไม่ได้ แต่เป็นไปหรืออิงตามเหตุปัจจัยที่กระทบกัน, สำหรับผู้ที่ยังไม่ศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องวิญญาณ ๖ ให้แจ่มแจ้ง ย่อมอาจมีความสงสัยว่า วิญญาณเป็นอัตตาหรือเป็นของตัวของตนหรือเจตภูต ที่เที่ยวล่องลอย ท่องเที่ยวไป หรือเที่ยวแสวงหาที่เกิดหรือภพใหม่ หรือปรภพนั้น อันเป็นความเข้าใจอย่างโลกิยะ ที่ยังเนื่องอยู่ในโลก แม้ดีงามอย่างหนึ่ง แต่หากต้องการดำเนินไปในองค์มรรคเพื่อโลกุตระภูมิแล้ว ขอให้ไปอ่านในบท พุทธพจน์และพระสูตร หัวข้อที่ ๒๖.มหาตัณหาสังขยสูตร เพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องวิญญาณ และมหาจัตตารีสกสูตร ในหัวข้อที่ ๖๐.

ในเรื่องเกี่ยวกับโลกิยะและโลกุตระ กล่าวคือ ทำความเข้าใจในเรื่องวิญญาณให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ถ้าต้องการดำเนินไปในองค์มรรคหรือโลกุตระ หรือในการพิจารณาปฏิจจสมุปบาทแล้ว ต้องทำความเข้าใจวิญญาณอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระ ในเรื่องวิญญาณ ๖ หรือวิญญาณเกิดแต่เหตุปัจจัย เป็นสังขาร เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา อย่างถูกต้องเสียก่อน




Create Date : 31 ตุลาคม 2553
Last Update : 31 ตุลาคม 2553 10:23:07 น. 0 comments
Counter : 933 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.