Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
9 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลก ไม่มีใครยิ่งกว่า

.




ภิกษุ ท. !
สิ่งใดๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้ว, สิ่งนั้นๆ เราก็รู้จัก.

ภิกษุ ท. !
สิ่งใดๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดารวมกับมนุษย์ ..
- ได้พากันเห็นแล้ว
- ได้ยินแล้ว
- รู้สึกแล้ว
- รู้แจ้งแล้ว
- พบปะแล้ว
- แสวงหากันแล้ว
- คิดค้นกันแล้ว,

สิ่งนั้นๆ เราได้รู้แจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง.
สิ่งนั้นๆ เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ตถาคต,
สิ่งนั้นๆไม่อาจเข้าไป (ติดอยู่ในใจของ) ตถาคต.


ภิกษุ ท. !
สิ่งอันเป็นวิสัยโลกต่างๆ ที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดารวมกับมนุษย์ ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว พบปะแล้ว แสวงหากันแล้ว คิดค้นกันแล้วนั้นๆ เราพึงกล่าวได้ว่า เรารู้จักมันดี.

มันจะเป็นการมุสาแก่เรา ถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง. และมันจะเป็นการมุสาแก่เราเหมือนกันถ้าเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้จักก็หามิได้, ไม่รู้จักก็หามิได้, ข้อนั้นมันเป็นความเสียหายแก่เรา,

ภิกษุ ท. !
เพราะเหตุนี้แล ตถาคตเห็นสิ่งที่ต้องเห็นแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายว่า เห็นแล้ว, ไม่ทำความมั่นหมายว่า ไม่ได้เห็น, ไม่ทำความมั่นหมายว่า เป็นสิ่งที่ต้องเห็น, ไม่ทำความมั่นหมายว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็น,(ในสิ่งที่ได้ฟัง, ได้รู้สึก, ได้รู้แจ้ง ก็มีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. !
ด้วยเหตุนี้แล ตถาคตชื่อว่าเป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่เช่นนั้นได้ในสิ่งทั้งหลาย ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้งแล้ว, และเรายังกล่าวว่า จะหาบุคคลอื่นที่เป็นผู้คงที่ ซึ่งยิ่งไปกว่า ประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้นเป็นไม่มีเลย.


(หมายเหตุ จขบ.
ลองพิจารณาประโยคนี้ให้ดี ..
" .. ตถาคตชื่อว่า .. เป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่เช่นนั้นได้ในสิ่งทั้งหลาย ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้งแล้ว .. "

ว่า .. เป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่ได้ กับ สิ่งที่ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้ง .. นั้นเป็น เรื่องของจิตล้วนๆ และนี่คือหัวใจของพุทธธรรม คือการรู้เท่าทัน"อารมณ์ของตน หลังจากการกระทบสัมผัสทั้ง 6ทาง แล้ววางเฉยได้ (คงอยู่เป็นปกติได้ - อุเบกขา)"

ได้เห็น .. ทาง จักษุวิญญาณ
ได้ยิน .. ทาง โสตวิญญาณ
ได้รู้สึก .. ทาง กายวิญญาณ
ได้รู้แจ้ง .. ทาง มโนวิญญาณ

และที่พระองค์กล่าวว่า .. "สิ่งอันเป็นวิสัยโลกต่างๆ .." คือโลกธรรมอันเป็นปัจจัยภายนอก .. ขณะที่สิ่งที่ "ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก และได้รู้แจ้ง" คือโลกภายในกาย

ไม่มีประเด็นของโลกสัณฐาน ในการพิจารณา เรื่อง ทุกข์ในจิต แต่อย่างใด )

.
.
.
บาลี จตุกฺก.อํ.๒๑/๓๑/๒๔.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่กาฬการาม ใกล้เมืองสาเกต



Create Date : 09 กรกฎาคม 2555
Last Update : 9 กรกฎาคม 2555 15:44:27 น. 0 comments
Counter : 1294 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.