เขาว่าว่า "การนั่งสมาธิไม่มีในพระพุทธศาสนาเลย" ปฏิเสธเด็ดขาดให้มันรู้กันไปเลยว่าใครเป็นใคร การนั่งสมาธิไม่มีในพุทธศาสนาจริงหรือ?? - YouTube- พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ เบื้องแรก พึงทราบวิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี ข. นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า (= เอาสติมุ่งต่อกรรมฐาน คือ ลมหายใจที่กำหนด) ค. เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออกฯลฯhttps://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=31-10-2023&group=82&gblog=104 เขาพูดถึงปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจด้วย เพราะฉะนั้น พิจารณาการเนื่องกันระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจด้วย- อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท เมื่อมีผู้ถามว่า "พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?" อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรืออาจตอบว่า ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ คำตอบทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้ ข้อควรทราบก็คือ คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้ว ก็ถูกต้องด้วยกัน และมีความหมายลงกันได้ เป็นอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ และอริยสัจก็มีความหมายครอบคลุมปฏิจจสมุปบาท เรื่องนี้ เป็นอย่างไร พึงพิจารณาเริ่มตั้งแต่หลักฐานที่มาในคัมภีร์ คัมภีร์วินัยปิฎก เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ กำลังทรงเสวยวิมุตติสุข และพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (กระบวนการเกิดทุกข์) และโดยปฏิโลม (กระบวนการดับทุกข์) ตลอดเวลา ๑ สัปดาห์ ครั้นสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์แล้ว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อไป ทรงพระดำริว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก กล่าวคือ ... นิพพาน” ส่วนในพระสูตร เมื่อปรากฏข้อความเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนนี้ ก็จะเล่าความแนวเดียวกัน เริ่มแต่พุทธดำริที่เป็นเหตุให้เสด็จออกผนวช การเสด็จออกผนวช การศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส การบำเพ็ญและการละเลิกทุกรกิริยา การทรงกลับเสวยพระกระยาหาร แล้วบรรลุฌาน และตรัสรู้วิชชา ๓ฯลฯhttps://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=17-11-2023&group=82&gblog=119