 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
 |
|
อยากจริงจังกับภาวนา ทำยังไงบ้างคะ |
|
ปัญหาเขามีอยู่ว่า 
> อยากจริงจังกับการภาวนามากขึ้น ควรทำยังไงบ้างคะ
คือเราก็มีพื้นฐานทางธรรมอยู่บ้างแล้ว ฟังธรรมทุกวันมาประมาณ 9 ปี ก็พอเข้าใจพื้นฐานการปฏิบัติธรรม เคยไปเข้าคอร์สภาวนาหลายครั้ง แต่รู้สึกว่าตัวเองยังมีการปฏิบัติที่ไม่เสถียร บางวันก็สวดมนต์ บางวันก็นั่งปฏิบัติในรูปแบบแค่ 30 นาที บางวันก็นาน แต่ตอนนี้รู้สึกเบื่อกับความทุกข์ เบื่อกับความโกรธความเกลียดของตัวเอง เห็นความไม่เที่ยงที่เกิดขึ้นในกายในใจแล้ว อยากไปให้พ้นจากสภาวะทุกข์นี้ค่ะ
สิ่งที่เราอยากทำ
1. ตั้งใจถือศีล 5 ให้บริสุทธิ์ เคยมีช่วงนึงถือได้ แบบจริงจังมาก รู้สึกจิตมีกำลัง ช่วงนี้เหมือนกำลังใจอ่อนค่ะ บางทีก็อยากโกหกเล็กๆน้อยๆเพื่อเอาตัวรอดในที่ทำงาน ทำไงให้กลับไปถือศีล 5 ได้ดีเหมือนเดิม
2. อยากลด หรืองดโซเชียลค่ะ คือรู้สึกว่าแต่ละวันเสียเวลาไปกับการไถโทรศัพท์เยอะมาก และตอนทำก็ไม่ได้มีสติเลย ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชัง ไม่มีสติ เลยคิดว่าอยากเลิกเล่นเฟสบุ๊ก จะตึงไปไหมคะ สิ่งที่กลัวคือกลัวจะไม่รู้เรื่องชีวิตเพื่อนร่วมงาน ไม่มีอะไรคุยกับคนอื่น เพราะไม่รู้ข่าวสาร แต่ก็ไม่อยากเล่นแล้ว รู้สึกเสียเวลา และทำให้จิตปรุงแต่ง
3. อยากถือศีล 8 สักอาทิตย์ละครั้ง เห็นครูบาอาจารย์บอกว่าการถือศีล 8 ช่วยให้เราภาวนาได้ดีขึ้น
4. อยากกำหนดเวลาภาวนาให้เสถียรกว่านี้ เช่นทุกวันจะตื่นตีห้า มาสวดมนต์ ตอนเย็นนั่งสมาธิกี่ชั่วโมง เดินจงกรมกี่ชั่วโมง
5. อยากสร้างความรู้สึกตัวในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่นรู้ฝ่าเท้ากระทบขณะเดิน รู้สึกตัวขณะแปรงฟัน เป็นต้น
ขอคำแนะนำจากเพื่อนฆราวาสที่ปฏิบัติธรรมมาก่อนแล้วว่าควรลดควรเพิ่มตรงไหนบ้าง มีตรงไหนตึงหรือหย่อนเกินไปไหมคะ อยากได้ตัวอย่างฆราวาสที่ยังต้องทำงานหาเงิน ว่าภาวนายังไงกันบ้าง หรือมีข้อแนะนำอะไรเพิ่มเติมไหมคะ
ถ้าเป็นไปได้ก็อยากถึงโสดาบันให้ได้ในชาตินี้
ปล. เราอายุ 27 ทำงานในองค์กร ยังต้องฟุ้งซ่านกับการทำหน้าที่การงาน และเราเป็นซึมเศร้ามา 11 ปีแล้ว ทั้งกินยาทั้งเจริญสติ แต่ก็ยังไม่หายขาด เวลาดิ่งมากจะนั่งภาวนาไม่ได้จะเศร้ากว่าเดิม ถ้าเศร้ามากจะสวดมนต์ หรือ เดินจงกรมค่ะ
ขอความเมตตาด้วยค่ะ ไม่อยากทุกข์แล้ว
อยากจริงจังกับการภาวนามากขึ้น ควรทำยังไงบ้างคะ - Pantip
วางหลักคลุมคำถามไว้ก่อน 
อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน, อานาปานสติ = อาน+อาปาน+สติ) คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้
การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย.
ทั้งหมดที่ 
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=85
> สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือรู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจและความเข้าใจ เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น (สมาธิ) เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เกิดความจำดี
ตระกูลภาวนา
ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา
ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบ
จิตตภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง. ปัญญาภาวนา
ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับสิ่งที่ทำ
> สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณา และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย (กายานุปัสสนา) เวทนา (เวทนานุปัสสนา) จิต (จิตตานุปัสสนา) ธรรม (ธรรมานุปัสสนา) หรือ ในนามและรูป
> สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การกุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้
ตาดู หูฟัง แบบบันทึกข้อมูล
> เรื่องมีว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าไผ่ ในกชังคลนิคม อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้า พระองค์ตรัสถามเขาว่า ปาราสิริยพราหมณ์ สอนการพัฒนาอินทรีย์ภาวนาแก้เหล่าสาวกใช่ไหม เมื่อเขารับว่าใช่ พระองค์ก็ตรัสถามว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์อย่าง่ไร เขาทูลตอบว่า ปาราสิริยพราหมณ์สอนการพัฒนาอินทรีย์โดยไม่ให้เอาตาดูรูป ไม่ให้เอาหูฟังเสียง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าถือตามหลักที่พราหมณ์นี้สอน คนตาบอด คนหูหนวก ก็เป็นภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) ละสิ
จากนั้น พระองค์ตรัสว่า การพัฒนาอินทรีย์อย่างที่ปาราสิริยพราหมณ์สอนนั้น เป็นคนละอย่างต่างจากอินทรียภาวนาอย่างยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน พระอานนท์จึงทูลขอให้ทรงแสดงหลักอินทรียภาวนาอย่างยอดเยี่ยม ในอริยวินัยนั้น
ทั้งหมดที่  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=12-11-2023&group=88&gblog=116
ตอบคำถาม 
> ก็ในเมื่อเราเป็นคฤหัสถ์ยังต้องประกอบสัมมาชีพหาเงินเลี้ยงชีวิตงกๆตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อตอยู่ ซึ่งกำหนดเวลาตายตัวไม่ได้อยู่แล้ว แต่ก็พอมีวิธี เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าทีเดียว คือ ควบคุมให้ “ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับสิ่งที่ทำ” ทำการทำงานอะไรแล้วแต่ กุมใจไว้กับกิจคุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำตอนนั้นขณะนั้นๆ ตัวอย่าง เช่น ตื่นนอนรู้สึกตัวเก็บที่หลับพับที่นอนเข้าที่ เดินไปเข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระปัสสาวะอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน แต่งเนื้อแต่งตัว เดินไปขึ้นรถขับรถรู้สึกตัว ทำการทำงานตามสายอาชีพว่ากันไปรู้สึกตัว กินข้าวกินปลาก็ทำนองเดียวกัน รู้ตัวว่ากำลังทำนั่นนี่อยู่ นี่ก็ปฏิบัติธรรม จิตปัญญาอยู่กับสิ่งนั้น กับคนกับงานตรงหน้าเฉพาะหน้า นั่งไถโทรศัพท์ นั่งพิมพ์หนังสืออยู่หน้าคอม สมาธิเกิดปัญญาเกิดแล้วทุกๆขณะ ถ้ารู้จักควบคุมจิตใจใช้ความคิด ว่างงานประจำตอนไหนก็เจริญสมาธินั่งสมาธิ เดินจงกรมสัก 20 นาที 30 นาทีก็ว่ากันไป ข้อสำคัญที่บอกว่า (เวลาดิ่งมากจะนั่งภาวนาไม่ได้จะเศร้ากว่าเดิม) ประเด็นนี้ จขกท. ต้องกำหนดความรู้สึกความคิดนั้นๆด้วย มิใช่นั่งดูอารมณ์ซึมอารมณ์เศร้าเฉย ๆ เรื่อยเปื่อย อย่างนี้ไม่ถูกวิธี มันจะจมอยู่กับความรู้สึกนั้น ต้องกำหนด คือ ว่าในใจตรงๆ รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้น เป็นยังไงกำหนดยังงั้น เพื่อตัดวงจรความคิดนั้นให้ขาด ไม่เลี่ยงหนี ทุกข์พึงกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) กำหนดรู้ตามสภาวะ ๓-๔ ครั้งปล่อย ไปกำหนดกรรมฐาน คือ ลมเข้า-ออก. พอง-ยุบ สะว่าไป คิดอีกกำหนดอีก กำหนด ๓-๔ ครั้งแล้วปล่อย ไม่จมแช่กับความรู้สึกนั้นๆ รู้สึกเบื่อ รู้สึกโกรธ รู้สึกเป็นทุกข์ กำหนดรู้ตามความรู้สึกเลย เบื่อ ก็เบื่อหนอๆๆๆ โกรธ ก็โกรธหนอๆๆๆ ทุกข์ ก็ทุกข์หนอๆๆๆ กำหนดตามนั้นแล้วปล่อยวาง ไปกำหนดกรรมฐานสะ กำลังรีดผ้า ก็ดึงความรู้สึกตัวมาอยู่กับงานเฉพาะหน้า (ไม่จมแช่อยู่กับความคิด เบื่อ โกรธ ฯลฯ)
ตอบรายข้อ
ข้อ 1 ศีลให้ดูที่เจตนา ไม่ใช่บีบรัดตัวเองอย่างนั้น
ข้อ 2 ปิดหูปิดตาไม่รับรู้อะไรก็ไม่ถูกหลักพุทธธรรมอีก แต่ท่านให้ใช้ตาดูหูฟังแบบบันทึกข้อมูล ไม่ใช่ดูด้วยความยินดียินร้าย ซึ่งเลยแดนธรรมชาติไป
ข้อ 3 ไม่แน่ ไม่มีข้อกำหนดตายตัวอย่างนั้น ถ้าทำไม่เป็นภาวนาไม่ถูกวิธี ถึงถือศีลเป็นร้อยๆสิกขาบทก็ไม่ได้ช่วยเรื่องภาวนา
ข้อ 4. ตอบไปแล้ว เราเป็นคฤหัสถ์ทำงานไม่เว้นวันกำหนดเวลาเสถียรได้ยาก นอกจากวันหยุด วันว่างแบบนี้เราก็ทำได้มากหน่อย
ข้อ 5. เดินไปนั่นมานี่ เดินจากอาคารนี้ไปอาคารโน่น ดูแค่การเคลื่อนไหว ไม่ต้องถึงกับจมแช่รู้ถึงเย็นร้อนอ่อนแข็งของพื้นที่เหยียบย่ำ ไม่ใช่ ให้สังเกตการเคลื่อนไหวตอนเดินไปนั่นมานี่พอ
เรื่องโสดาบันลองศึกษาที่ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=07-07-2023&group=86&gblog=2
Create Date : 12 พฤษภาคม 2564 |
Last Update : 14 มีนาคม 2568 19:00:05 น. |
|
0 comments
|
Counter : 704 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|