กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
19 เมษายน 2564
space
space
space

คำว่า ปัจจุบันอารมณ์, ปัจจุบันธรรม,ปัจจุบันขณะ แค่ไหน


235  คำพูดที่ว่า  ขณะปัจจุบัน, ปัจจุบันขณะ, ปัจจุบันอารมณ์, ปัจจุบันธรรม อยู่กับปัจจุบัน ฯลฯ ในทางธรรมขั้นฝึกอบรมทางจิต  หมายถึง  ขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่   

    หมายถึงมีสติทันอยู่กับสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆขณะ     ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจขึ้น ก็ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้นที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ  เป็นอัน ตกไปในอดีต  (เรียกว่า  ตกอดีต)  ตามไม่ทันของจริง หลุดหลงพลาดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว  หรือ ถ้าจิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน  คิดฝันไปตามความรู้สึกที่เกาะเกี่ยวกับภาพเลยไปข้างหน้าของสิ่งที่ยังไม่มา  ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต

 
     

393  ยกตัวอย่างเดินจงกรม  ก้าวเท้าซ้ายก็ซ้าย  เท้าขวาก็ขวา (ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่างหนอ, ซ้าย ก้าว ไป ขวา ก้าว ไป.  กันติดหนอจึงยักเยื้องพูด)  สติตามทันแต่ละขณะๆอย่างนี้  เรียกว่าปัจจุบันธรรมขั้นฝึกอบรมจิต  (กำหนดลมหายใจเข้า - ออก ก็ทำนองเดียวกัน ลมเข้าขณะหนึ่ง  ลมออกขณะหนึ่ง, พอง-ยุบก็ทำนองเดียวกัน  พองขณะหนึ่ง  ยุบขณะหนึ่ง)  แต่ขณะกำหนดพร้อมก้าวเท้าซ้าย  จิตหลุดลอยไปคิดเรื่องอื่น  อย่างนี้เรียกว่า หลุดจากปัจจุบันธรรม, ปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันขณะขั้นฝึกหัดพัฒนาจิตแล้ว 

หรือกำลังก้าวเท้าขวา (ขวา ย่าง ไป)  แต่ไปคิดถึงเท้าซ้ายที่ล่วงไปแล้ว  นี่ก็หลุดจากขณะปัจจุบัน  ไปคิดอดีต  คือ สติตามไม่ทันปัจจุบันขณะ, ปัจจุบันอารมณ์, ปัจจุบันธรรม, อยู่กับปัจจุบัน (พูดคำไหนก็ได้) ในทางธรรมขั้นฝึกหัดพัฒนาจิตแล้ว


 235 ตย. นี้  450 บอกเราว่า  ผู้ปฏิบัติตามไม่ทันขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆ  ขณะนั้นความรู้สึกนึกคิดจะเบลอๆแล้วโยคีก็ไม่กำหนดอารมณ์


ถามท่านผู้รู้ค่ะว่า

   วันนี้ ได้เดินจงกรมเห็นเทพนิมิตเป็นพระพุทธเจ้า และสักพักเป็นในหลวง เป็นเพราะอะไรค่ะ?


235 ถ้าจิตคงที่ไม่เปลี่ยน 451 คงเห็นนิมิตเป็นพระพุทธเจ้าไปจนตาย แต่นี่มันเปลี่ยนเป็นนิมิตในหลวงด้วย   (นิมิตพุทธะดับไปหายไป  กรณีอื่นๆก็ทำนองเดียวกัน)  แสดงว่าจิตมีการเกิด-ดับ  เกิดๆดับๆ  สมดังว่า สิ่งที่เรียกว่า จิต, มโน,หรือ วิญญาณ  เกิดดับอยู่เรื่อยทั้งคืนทั้งวัน.  สังเกตจากการใช้ชีวิตประจำวัน คิดเรื่องเดียวไหม  ถ้าคิดอยู่เรื่องเดียวแสดงว่าจิตคงที่  ถ้าวันๆตั้งแต่ลืมตาตื่นนอน  เราคิดหลายเรื่อง เรื่องนี้บ้างเรื่องนั้นบ้าง  เรื่องนี้ดับ  เรื่องนั่นต่อ  ฯลฯ  นั่นแสดงว่า จิตเกิดๆดับๆ เนื่องกัน. แม้เดินอยู่ เห็นปุ๊บกำหนดปั๊บ เห็นหนอ (วิบเดียว) เดินจงกรมไปต่อ (ไม่ต้องหยุดกำหนด)


235 อีกตัวอย่าง 450

> เดินจงกรมแล้วง่วง

  มีปัญหากับความง่วงมาก  ปกติไม่ชอบนอนเลย วันนึงนอน 5 ชม. แต่มักโดนนิวรณ์ตัวนี้ ขณะปฏิบัติ เช่นเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา และไม่สามารถผ่านไปได้  ทำให้การภาวนาไม่ดีขึ้น ซึ่งเป็นมานานแล้วค่ะ  ลองทำตามวิธิที่พระพุทธเจ้าสอนก็ไม่รอด .. กรุณา แนะนำด้วยค่ะ ไม่ทราบว่าระหว่างวันมันไปเผลอตอนไหน หรือควรระวังอะไรในการภาวนาในชีวิตประจำวันค่ะ

227 แม้เดินอยู่  รู้สึกง่วงปุ๊บกำหนดปั๊บ ง่วงหนอ (วิบเดียว ง่วงหนอ ไม่ต้องหยุดเดิน คือ รู้ทันมัน) แล้วซ้าย ย่าง หนอ ฯลฯ ต่อไป

- อีก ตย. 450

> จงกรมแล้วฟุ้งซ่าน  ควรนั่งอย่างเดียวใช่ไหม ?  393

235 นี่ก็บอกว่า   451   จิตไม่อยู่กับปัจจุบันอารมณ์  คือ ขณะที่ก้าวไปแต่ละก้าวๆ แต่ละขณะๆ   ซ้ายก็ต้องเป็นซ้าย ขวาต้องเป็นขวา ตามเท่าตามทันมัน


235 มันไม่ชัด   450 อย่างว่า  ความรู้สึกนึกคิดมันเบลอๆ 

    เดินจงกรมซักพัก  แว้บนึงก้มไปมองที่เท้า เห็นว่าเท้าที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ความรู้สึกเหมือนเรามองศพคนอื่น แต่ว่าพอเห็นเช่นนั้นความกลัวผุดขึ้น จิตมันก็เลยถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น ที่เห็นเช่นนี้ ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ ?  ถ้าผิด/ถูก ควรทำอย่างไรต่อไป ?

235 มีทางเดียว กำหนดอารมณ์ ค่อยกำหนดไป มันจะชัดด้วยการกำหนดรู้อารมณ์ทั้งหลาย ที่เป็น ที่เห็น ที่ได้ยินนี่แหละ  เราอยู่ในขั้นฝึกหัดพัฒนา  ตามทันปัจจุบันอารมณ์บ้าง  ไม่ทันบ้าง นั่งปฏิบัติอยู่ตรงนี้  ดันคิดไปไหนต่อไหน   รู้สึกได้กำหนดเลย   คิดหนอๆๆๆ   ฟุ้งซ่านหนอๆๆๆ ว่าแล้วก็ดึงสติ ดึงจิต (พูดยังไงก็เอา) มากำหนดกรรมฐานไปใหม่  แว้บออกไปอีก กำหนดอีก กลับมาที่เดิมอีก นี่ฝึกๆๆๆๆ


     การฝึกจิต   ฝึกนามธรรม   (เปลี่ยนคำพูดมั่งเดียวติดจิตอย่างเดียว) ไม่ง่ายนัก ต้องใช้ความอดทน จิตใจเป็นนามธรรม ไม่เห็นตัว ใช้กล้องส่องก็ไม่เห็น ท่านเปรียบจิตเหมือนลิง คือ หลุกหลิกๆ ไม่อยู่นิ่ง  (ฝึกจิตเหมือนฝึกลิง)  เหมือนจับปูเป็นๆใส่กะด้ง  (ฝึกจิตเหมือนนั่งจับปูเป็นให้มันอยู่ในกะด้ง)  ตำราท่านว่า  ครั้นฝึกได้แล้ว มันนำความสุขมาให้เจ้าตัวเอง ดังคำว่า จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ -  จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้.


- ความหมายสติอีกที  450

     สติ   ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ. การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่ที่พูดแล้ว แม้นานได้  

     ความหมายสติที่ไฮไลท์  ความหมายขั้นฝึกอบรมจิตใจ   ควบคุมจิตให้อยู่กับกรรมฐาน (อะไรก็ได้) ซึ่งกำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ แล้วก็มิใช่สติอย่างเดียว มีสัมปชัญญะ (ปัญญา) มีสมาธิเกิดร่วมด้วย และก็มีสัมปยุตธรรมซึ่งเป็นนามธรรมอื่นๆอีก

 


Create Date : 19 เมษายน 2564
Last Update : 9 มิถุนายน 2568 17:53:28 น. 0 comments
Counter : 1000 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space