กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
22 เมษายน 2564
space
space
space

อานิสงส์จงกรม+จงกรม ๖ ระยะ




235 อานิสงส์การเดินจงกรม ๕  อย่าง  คือ  

     ๑.  เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
     ๒.  เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร 
     ๓.  เป็นผู้มีอาพาธน้อย 
     ๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว  ย่อยง่าย 
     ๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรม  ตั้งอยู่ได้นาน 

 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๖


175 อาพาธน้อย
173 ช่วยย่อยอาหาร
174 นานในสมาธิ
172 ดำริเพียร
175 เซียนในการเดินทาง

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000116964
                                                 
     จงกรม
(สันสกฤต)  เดินไปมาโดยมีสติกำกับ.  (พูดง่ายๆคือใช้การเดินกลับไปกลับมาเป็นเหมือนอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ฯลฯ  คือว่าเดินแบบรู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังก้าวไปๆแต่ละก้าวๆ ไม่ใช่เดินเรื่อยเปื่อยสภาวะใดเกิดก็ไม่รู้ไม่ชี้.  แม้ในอิริยาบถนั่งกำหนดอารมณ์กรรมฐานก็เช่นกัน  ไม่ใช่นั่งหลับๆตื่นๆไม่รู้ไม่ชี้  แต่ใช้กรรมฐานคือลมเข้า-ออก. ท้องพอง ท้องยุบ เป็นดังอุปกรณ์ฝึกสติรู้เนื้อรู้ตัวว่าลมมันเข้า มันออก. ท้องมันพอง มันยุบ แต่ละขณะๆ ตามทัน  เข้าก็รู้ ออกก็รู้)
 
 


 
     สติ  ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ. การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ 

     สัมปชัญญะ  ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับสติ.   (เริ่มพัฒนาเรียกว่า สัมปชัญญะ  ถึงจุดหนึ่งเรียกว่า ปัญญา ถึงจุดหนึ่งเรียก วิปัสสนา วิปัสสนาก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา)

     สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่

        ๑. สาตถกสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย

        ๒. สัปปายสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

        ๓. โคจรสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

        ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงไหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



 235 จงกรมแบ่งเป็น 6 ระยะ ระยะที่ 1-3 เน้นวิริยะ ระยะที่ 4 - 6 เน้นสมาธิ

    ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน   ผู้ปฏิบัติต้องฉลาดปรับอินทรีย์ห้าให้เสมอกัน

     ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์เหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน   เช่น   ศรัทธาแรงไป  วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต   สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว   ปัญญาก็ไม่สามารถเห็นตามจริง ต้องลดศรัทธาเสีย   ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือ มนสิการในทางที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังให้แก่ศรัทธา

     ตามหลักทั่วไป   ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ให้ศรัทธาสมหรือเสมอ กับ ปัญญา และให้สมาธิสมหรือเสมอ กับ วิริยะ

    ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน   ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส  ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

     ถ้าสมาธิกล้าวิริยะอ่อน   โกสัชชะ คือ  ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำ เพราะสมาธิเข้าพวกได้กับโกสัชชะ   แต่ถ้าวิริยะแรง   สมาธิอ่อน   ก็เกิดความฟุ้งซ่าน  เป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

 
จงกรม 6 ระยะ

ระยะที่ 1 ซ้าย ย่าง หนอ - ขวา ย่าง หนอ - ซ้าย ย่าง หนอ - ขวา ย่าง หนอ (หนอเหยียบพื้น)

ระยะที่ 2 ยกหนอ - เหยียบหนอ (ยก - เหยียบ)

ระยะที่ 3 ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ (ยก - ย่าง - เหยียบ)

ระยะที่ 4 ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ  (ยกซ่น - ยก - ย่าง - เหยียบพื้น)

ระยะที่ 5 ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ- เหยียบหนอ (ยกซ่น - ยก - ย่าง - หย่อนเท้าลงแต่ยังไม่ถึงพื้น - เหยียบพื้น)

ระยะที่ 6 ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ - ถูกหนอ - กดหนอ (ยกซ่น - ยก - ย่าง - หย่อนเท้าลงยังไม่ถึงพื้น - ปลายเท้าถูกพื้น- กดซ่นเท้ากับพื้น)

(ดูหัวข้อหลักปฏิบัติธรรมประกอบด้วย.  อย่าติดหนอ ใช้คำอื่นแทนได้ และไม่จำเป็นต้องจงกรมทั้ง 6 ระยะ  ผู้ปฏิบัติใหม่จงกรมระยะต้นๆให้คล่อง)


     235 เดินตัวตรงหลังตรง   (เก็บมือทั้งสองไขว้หน้าไขว้หลังไม่ใช่ปัญหาแล้วแต่สะดวก เมื่อยก็สลับหน้าบ้างหลังบ้างก็ได้ ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย)   ใช้ความรู้สึกจับอาการก้าวไปแต่ละก้าวๆ ไม่ใช่ก้มมองเท้าที่เดิน ใช้ความรู้สึกจับอาการก้าวเท้าซ้าย เท้าขวา สลับไปสลับมา  สุดทางเดินแล้ว  (แล้วแต่พื้นที่ใช้เดิน) หยุดยืนกำหนดรูปยืน  ยืนหนอๆๆๆ นึกสำรวจรูปที่ยืนอยู่ (ยืนนานเท่าไรแล้วแต่) แล้วค่อยๆหมุนตัวกลับ กลับหนอๆๆ รู้สึกตัวกำลังหมุนตัวกลับ แล้วเดินต่อไป   สุดทางเดินแล้ว  หยุดยืน  ยืนหนอๆๆ ฯลฯ กลับหนอๆๆ  เดินต่อไป  จนครบเวลาที่กำหนด   76 

110   อนึ่ง พึงทำความเข้าใจอย่างสำคัญ  ก็คือ  จงกรมไม่มีเดินแบบสมถะ  ไม่มีเดินแบบวิปัสสนา   ไม่มีหัวจงกรม ไม่มีท้ายจงกรม   ไม่มี  ไม่เอา  ไม่พูด   อย่าขุดหลุมดักความคิดตัวเอง (สมถะ องค์ธรรมได้แก่ สมาธิ  วิปัสสนา ก็คือปัญญา)  จงกรมก็เป็นวิธีหนึ่งเพื่อฝึกองค์ธรรมทั้งหลาย  เช่น สติสัมปชัญญะ โยงไปหากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  นั่นล่ะเข้าหลักนั่นเบย  ไม่ใช่เดินปล่อยจิตปล่อยใจไปเรื่อยเปื่อย ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับสิ่งที่ทำ ดูความหมายสติให้เข้าใจ 


235 ถามเรื่องนาฬิกา   76   เตือน 450
 
-  รบกวนช่วยแนะนำนาฬิกาปลุกที่เสียงค่อยๆดังขึ้น ไม่ทำให้ตกใจหน่อยค่ะ (ใช้มือถือไม่ได้ค่ะ)

- > จขกท. ไปปฏิบัติธรรมในวัดค่ะ  ไม่สามารถ  ใช้มือถือ และ smart watch ปลุกตามปกติได้ พอใช้นาฬิกาปลุกทั่วไปแล้ว มีปัญหาตกใจตื่นแล้วปวดหัว  แถมเสียงนาฬิกาปลุกก็ดังไปถึงกุฏิปฏิบัติธรรมข้างๆเกรงใจเขาค่ะ  เคยลองใช้นาฬิกาปลุกแบบสั่นแล้ว ก็สั่นแรงจนตกใจเหมือนกันค่ะ

อยากได้นาฬิกาปลุก ที่ตั้งเสียงให้ค่อยๆดังขึ้นได้  ถ้าเป็นเสียงนกเสียงน้ำไหลได้ยิ่งดีเลยค่ะ

รบกวนช่วยแนะนำนาฬิกาปลุกที่เสียงค่อยๆดังขึ้น ไม่ทำให้ตกใจหน่อยค่ะ (ใช้มือถือไม่ได้ค่ะ) - Pantip


235 ก็ใช้นาฬิกาปลุกทั่วๆไปนี่แหละหาซื้อง่ายร้อยกว่าบาท เสียงดังเกิน เราก็ปิดเสียงกริ่งสะ  (เขามีที่ปิดกริ่งอยู่)   พอมันเดินวนถึงตรงนั้น  ดังแปะเดียวไม่ดังจนตกอกตกใจ     107   
       


235 ผู้คิดแนวๆนี้  มักใช้คำภาวนาพุทโธ ไม่เข้าใจเรื่องปรับอินทรีย์ 

  เข้าใจให้ถูก  ไม่ใช่ภาวนาเอาเวลา  เบื้องต้นเปรียบเวลาก็เหมือนอธิษฐานจิต ขณะนั่งภาวนาอยู่  เช่น ไม่ครบ ๓๐ นาที จะไม่ลุกขึ้น  จงกรม ไม่ครบ ๓๐ นาที จะไม่หยุดทำหยุดเดิน ดังนี้ เป็นต้น 



 



Create Date : 22 เมษายน 2564
Last Update : 14 มีนาคม 2568 18:56:02 น. 0 comments
Counter : 2160 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space