 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
นั่งสมาธิมีอาการตึงที่จมูก, หน้าเอียง |
|
* ใช้พองกับยุบเป็นกรรมฐาน
* ถาม 
- นั่งสมาธิมีอาการตึงที่จมูก กับบริเวณหน้าผากระหว่างคิ้ว
> เรานั่งสมาธิแล้วเวลากำหนดพองยุบบางทีชัดบ้างไม่ชัดบ้าง หรือบางทีก็กำหนดตามรู้เวทนาที่เกิดขึ้น บางทีมันมักจะมีอาการ "ตึงที่จมูกและหน้าผากระหว่างคิ้ว" ควบคู่กันไป หรือสลับกันไปมาระหว่างสองอันนี้ชัดเจนมาก ๆ ค่ะ
แล้วพอเวลานั่งไปนาน ๆ กำหนดตามดูตามรู้ กำหนดปวดหนอเข้า มันก็มักจะมีความคิดปรุงแต่งเข้ามาแทรกเยอะมากเลยค่ะ แต่ว่าเราไม่ได้ตามมัน แค่รู้ว่ามันเกิดขึ้นในระหว่างที่กำหนดรู้อยู่กับสิ่ง ๆ หนึ่งแบบนั้นไปเรื่อย ๆ จนหมดเวลา
นั่งสมาธิมีอาการตึงที่จมูก กับบริเวณหน้าผากระหว่างคิ้ว - Pantip
ก่อนหน้าถามนั่งสมาธิแล้วรู้สึกหน้าเอียงๆ 
> เวลานั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าหน้าเอียง
คือว่าเราสังเกตตัวเองมาสักพักแล้วค่ะว่า เวลาที่เรานั่งสมาธิทีไร เรารู้สึกเหมือนกับว่า ใบหน้าของเรามันจะเอียงหันไปทางซ้าย แล้วก็จะเกิดอาการตึงที่ต้นคอขวาตลอดเลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่ก็นั่งตัวตรงปกตินะคะ เคยถามเพื่อนว่า เวลาที่เรานั่งหน้าเราเอียงไหม มันบอกว่าตรงตลอด แต่เราคิดว่าหน้าเราเอียงตลอดเลยค่ะ บางทีทำสมาธิเสร็จคือคอแทบเคล็ดเลยค่ะ
เวลานั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าหน้าเอียง - Pantip
กท. ก่อนถามเรื่องความรู้สึกว่าหน้ามันเอียงๆ ตอนนี้เวลาปฏิบัติความรู้สึกนั้นได้หมดไปแล้วใช่ไหม จึงมีความรู้สึกใหม่ให้คิดให้แก้อีก หมดอันนี้ ก็มีอันอื่นให้แก้อีก แก้ได้แก้เป็น ผ่าน แก้ไม่ได้แก้ไม่เป็น ติด หลักเขาจึงมีว่า ไม่รู้จึงติด พอรู้ก็หลุด
เพื่อเป็นวิทยาทานจะบอกวิธีแก้ความรู้สึก (วิธีปฏิบัติ) แก่ผู้ปฏิบัติทั่วๆไป คำถามนี้ผู้ถามคงเข้าใจไม่ยาก เพราะกรรมฐานที่ใช้เริ่มไว้สะดวกดีแล้ว
หลัก (กรรมฐาน) คือ พอง กับ ยุบ. ท้องพองว่าพองหนอ ท้องยุบว่ายุบหนอ ยึดเป็นอารมณ์หลักไว้ ส่วนเวทนาก็ดี ความรู้สึกนึกคิดอื่นๆ เป็นต้น ที่แทรกเข้ามาในระหว่างก็ดี เป็นอารมณ์รอง แทรกเข้ามาตอนไหนให้กำหนดตอนนั้น กำหนดตามที่เป็นตามที่รู้สึก เช่น รู้สึกตึงตรงนั้นตรงนี้ กำหนดทันที ตึงหนอๆๆๆ ตามสภาวะสามสี่ครั้ง ปล่อย แล้วไปจับพอง กับ ยุบ พองหนอ ยุบหนอ ไปใหม่ ... อะไรแว้บแทรกอีก ปล่อยพอง-ยุบ ไปกำหนดความรู้สึกนั่นทันที (รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้น) กำหนดแล้วปล่อย แล้วไปจับหลัก คือ พอง ยุบ พองหนอ ยุบหนอ ไปใหม่ ปฏิบัติทำนองนี้เรื่อยไป จนหมดเวลา (สมมติ ๓๐ นาที) ก็เดินจงกรม ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่างหนอ ๓๐ นาที คร่าวๆประมาณนี้
ในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำงานอะไรๆอยู่ก็ตามจับตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าเลยลุกจากที่นอนเดินไปเข้าห้องน้ำทำภาระกิจส่วนตัว ... ใช้งานนั้นฝึกได้ด้วย หยิบจับสิ่งนั้นสิ่งนี่ วางสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้รู้สึกตัวอยู่กับสิ่งที่ทำ เพลินอยู่กับงาน งานก็ไม่ผิดไม่พลาด เสียกระสุนนัดเดียวได้นกสองสามตัว
ปฏิบัติเรื่อยไปทำนองนั้น ทำไปโดยไม่ต้องไปอยากมีอยากเป็นอริยะนั่นอริยะนี่ให้รกสมอง นั่นมันเป็นผล ผลเกิดจากการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติถูกเป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว ผลเกิดเอง ใครก็ห้ามไม่อยู่ ต่อให้เราไม่อยากมีไม่อยากเป็น ก็ห้ามผลไม่ได้ถ้าทำถูก (ไม้ผลถึงฤดูกาลออกดอกออกผลมันก็ออกของมันเอง เจ้าของสวนก็ห้ามไม่ได้ แต่ถ้าไม่ถึงฤดูกาลต่อให้เจ้าของสวนนั่งนอนอยากจนท้องผูก ดอกผลก็ไม่เกิด เจ้าของสวนมีหน้าที่ดูแลบำรุงไม้ผลให้ถูกพืชถูกพันธ์มัน) แต่ถ้าอยากมีอยากเป็นโดยไม่ทำ หรือทำไม่ตรงกับเรื่องแล้ว ต่อให้นึกอยากจนอกแตกตายผลก็ไม่เกิด
กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจและเจริญปัญญา (นิยมเขียน กรรมฐาน)
- ความหมายสภาวะสติ-สัมปชัญญะ ซึ่งต้องฝึกหัดพัฒนาทั้งนั้น
สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัดซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ
สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่
๑.สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย
๒.สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน
๓.โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน
๔.อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน
Create Date : 15 มีนาคม 2565 |
Last Update : 15 มีนาคม 2568 12:45:28 น. |
|
0 comments
|
Counter : 940 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|