 |
|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
 |
|
ฝึกอานาปานสติแต่คิดฟุ้งซ่าน บังคับให้หยุดคิดไม่ได้ |
|
ถามครบสูตรหลายประเด็น เช่น เรื่องความคิด, เรื่องจิต, เรื่องฝึกจิต, เรื่องกรรมฐาน, เรื่องอานาปานสติ เรื่องจิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ
> เราฝึกสมาธิแบบอานาปานสติมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า ดูตามลมหายใจเข้าออกได้ไม่กี่ครั้งก็คิดฟุ้งซ่านแล้ว ได้แค่ขณิกสมาธิ
ฝึกจนเครียด กลุ้มใจ เพราะฝืนบังคับตัวเองให้เลิกคิดไม่ได้ซะที
ครูบาอาจารย์บอกว่า เมื่อไหร่ที่รู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่าน ให้ดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจ แต่เรารู้ตัวช้า กว่าจะรู้ว่าคิดฟุ้งซ่านก็คิดอะไรไปซะเยอะแล้ว พอดึงจิตกลับมาได้ แป๊บเดียวก็คิดเรื่องอื่นอีกแล้ว
เราสวดมนต์ด้วย ในบทอนัตตลักขณสูตรบอกไว้ว่า สังขารา อนัตตา เราอ่านคำแปล แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกรึเปล่า เราเข้าใจเอาเองว่า ความคิดไม่ใช่ของเรา ถ้าความคิดเป็นของเรา มันต้องเป็นไปตามที่เราต้องการ มันต้องขึ้นอยู่กับเรา แต่เพราะมันไม่ใช่ของเรา เราจึงบังคับมันไม่ได้ มันไม่เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็น เราเข้าใจถูกรึเปล่าคะ
เวลาทำสมาธิแล้วเกิดความคิดฟุ้งซ่านขึ้นมา เราควรทำใจยังไง บอกตัวเองยังไง หรือแค่ยอมรับความจริงว่า ก็จิตมันมีธรรมชาติแบบนั้น มีสภาพคิด คิดมาหลายชาติแล้ว และมันไม่ใช่สิ่งอยู่ในความควบคุมของเรา เราบังคับให้ไม่คิดอะไรเลยแล้วอยู่แต่กับลมหายใจไม่ได้
เราสงสัยว่า คนที่เคยคิดฟุ้งซ่านมาก่อน เค้าทำตัวเองให้ก้าวข้ามผ่านมาสู่สมาธิระดับที่สูงกว่า ทรงตัวกว่าได้ยังไง เครียดมั้ยที่ต้องบังคับความคิด
สรุปคำถามง่าย ๆ ว่า ความคิดเป็นสิ่งที่คนเราบังคับกันได้มั้ยคะ
ฝึกอานาปานสติแต่คิดฟุ้งซ่าน บังคับให้หยุดคิดไม่ได้ - Pantip
ให้ดูยอดสุดก่อน ซึ่งท่านฝึกจิตสุดทางแล้ว
- ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด
“บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ดำริข้อดำรินั้น, ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย”
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=13-11-2023&group=88&gblog=126
เมื่อมองที่ยอดแล้วมาที่โคน คือ เราๆท่านๆทั่วๆไป มันต้องฝึก จิตต้องฝึกมัน ท่านจึงวางหลักไว้ให้คนรุ่นหลังใช้ฝึกกันเรียกตามคำศัพท์ว่า กรรมฐาน คนรุ่นหลังก็เถียงกันเรื่องกรรมฐานอีก เถึยงกันเรื่องอานาปานสติ (ลมหายใจเข้า-ออก+สติ) เถียงกันเรื่องจิตกันเป็นต้น ต่างคนต่างว่า เรื่องนี้ต้องอาศัยการศึกษาที่ทางศาสนาจัดเป็นระบบ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
สอบถาม
- ความคิดเห็นที่ 13 "ฝึกจนเครียด กลุ้มใจ เพราะฝืนบังคับตัวเองให้เลิกคิดไม่ได้ซะที"
หยุดคิด, เลิกคิด เห็นได้ยินเขาพูดกันบ่อยๆโดยเฉพาะนักธรรมะ แต่ยังไม่เคยถามใครชัดๆสักที วันนี้ขอถามที "หยุดคิด, เลิกคิด" จขกท. หมายถึง ไม่ให้มันคิดอะไรเลยใช่ไหม หรือยังไง ครับ
- ความคิดเห็นที่ 13-1 คือให้สนใจแต่ลมหายใจเข้าออกกับคำบริกรรมเท่านั้น ไม่คิดเรื่องไร้สาระเรื่องนู้นเรื่องนี้ที่ไม่ตั้งใจจะคิด เรื่องทางโลก รัก โลภ โกรธ หลง จบเรื่องนั้นต่อเรื่องนี้ คิดย้อนไปอดีตหรือล่วงหน้าไปอนาคต ไม่อยู่กับปัจจุบัน
ถ้าจะมีความคิดเกิดขึ้นก็อยากให้เป็นความคิดทางธรรม คือเป็นปัญญาเห็นธรรม เห็นทุกข์ เห็นไตรลักษณ์ อะไรประมาณนี้อ่ะค่ะ
- ความคิดเห็นที่ 13-2
ความคิด จขกท. พอใช้ได้ พอคุยกันได้ อิอิ
"คือให้สนใจแต่ลมหายใจเข้าออกกับคำบริกรรมเท่านั้น ไม่คิดเรื่องไร้สาระเรื่องนู้นเรื่องนี้ที่ไม่ตั้งใจจะคิด เรื่องทางโลก รัก โลภ โกรธ หลง จบเรื่องนั้นต่อเรื่องนี้ คิดย้อนไปอดีตหรือล่วงหน้าไปอนาคต ไม่อยู่กับปัจจุบัน"
นั่นเพราะอดีตที่ผ่านๆมาจิต (จขกท. ) มันเคยชินอย่างนั้นสะสมมาจนชิน ซึ่งเราเองก็ปล่อยมันไปตามอารมณ์ ไม่เคยคิดเรื่องนี้เลย มาวันหนึ่งวันนี้ จะให้จิตมันคิดอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ก็ยากหน่อย ซึ่งเราจะต้องฝึกมันอย่างถูกวิธี
- ความคิดเห็นที่ 13-3 "คือให้สนใจแต่ลมหายใจเข้าออกกับคำบริกรรมเท่านั้น"
จขกท. ใช้คำบริกรรมควบกับลมหายใจเข้า-ออก ยังไงครับ
- ความคิดเห็นที่ 13-4 จริง ๆ ครูบาอาจารย์บอกว่า อย่าเปลี่ยนคำบริกรรมบ่อย เพราะจิตมีสภาพจำ ถ้าเคยใช้คำนึงแล้วเปลี่ยนเป็นอีกคำ คำเก่ากับคำใหม่จะตีกัน แต่ตั้งแต่เราฝึกมา เรายังหาคำที่ตรงเป๊ะกับจริตไม่ได้ ยังเปลี่ยนคำอยู่ตามสถานการณ์ เช่น ปกติก็ใช้คำว่าพุทโธ แต่ถ้ารู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่านไปแล้ว พุทโธเอาไม่อยู่ เราก็จะเรียกจิตตัวเองกลับมา แล้วบริกรรมเป็นภาษาไทยว่า หายใจเข้า หายใจออก ไปซักพัก แล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็นพุทโธค่ะ
- ความคิดเห็นที่ 13-5 จขกท. ขาดวิธีปฏิบัติต่อความคิดต่อความฟุ้งซ่าน เท่าที่ว่าวิธีปฏิบัติ คคห. 13-4 หายใจว่า พุท หายใจออก ว่าโธ เบื้องต้นพอไปได้ พุทโธๆๆๆไป
ปัญหาเกิดตอนที่จิตมันคิดฟุ้งซ่านเรื่องนั้นเรื่องนี้ดังว่า จขกท. ไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์นั้นๆ อย่างไร ความจริงหลักเขามี ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ (ให้ดูหลักคร่าวๆ) คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
- กาย คือ ลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้าว่า พุท หายใจออก ว่า โธ พอไปได้ แต่สภาวะนอกนั้นเกิดกระทบความรู้สึก เช่น ความฟุ้งซ่าน เป็นต้น จขกท. ไปไม่ถูก ไม่รู้วิธีปฏิบัติต่ออารมณ์นี้
ศึกษาสัมมาสติ, สัมมาสมาธิ เพิ่ม 
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=80

ความคิดเห็นที่ 13-4 จริง ๆ ครูบาอาจารย์บอกว่า อย่าเปลี่ยนคำบริกรรมบ่อย เพราะจิตมีสภาพจำ ถ้าเคยใช้คำนึงแล้วเปลี่ยนเป็นอีกคำ คำเก่ากับคำใหม่จะตีกัน แต่ตั้งแต่เราฝึกมา เรายังหาคำที่ตรงเป๊ะกับจริตไม่ได้ ยังเปลี่ยนคำอยู่ตามสถานการณ์ เช่น ปกติก็ใช้คำว่าพุทโธ แต่ถ้ารู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่านไปแล้ว พุทโธเอาไม่อยู่ เราก็จะเรียกจิตตัวเองกลับมา แล้วบริกรรมเป็นภาษาไทยว่า หายใจเข้า หายใจออก ไปซักพัก แล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็นพุทโธค่ะ
ที่ขีดเส้นใต้ คือ ความเข้าใจผิดของเขาเหล่านั้นเอง คำบริกรรมหรือเรียกในชื่ออื่นก็ตาม หลักท่านว่าเหมือนเชือกตรึงจิตให้แนบอยู่กับกรรมฐาน (ลมเข้าลมเข้า-ออก. อานาปานะ) ได้ดีเท่านั้น เช่น หายใจเข้าว่า พุท หายใจออกว่า โธ ว่าไป ร้อยหนพันหน ไม่ใช่ไปท่องพุทโธๆๆเพียวๆรัวๆ หรือท่องคำอื่นล้วนๆ ไม่ใช่ เข้าใจผิดแล้ว
- ที่ว่า 
แต่ถ้ารู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่านไปแล้ว พุทโธเอาไม่อยู่ เราก็จะเรียกจิตตัวเองกลับมา แล้วบริกรรมเป็นภาษาไทยว่า หายใจเข้า หายใจออก ไปซักพัก แล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็นพุทโธค่ะ
- อย่างที่ว่าใช้ได้เลย พุทโธทิ้งไปเลยไม่เอา เอาแบบไทยๆที่ว่า หายใจเข้า หายใจออก ว่าในใจ ขณะลมเข้าว่า หายใจเข้า ลมออกว่า หายใจออก พร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง ร้อยหนพันหนแสนหนล้านๆหน ว่าไป รู้เท่ามัน รู้ทันมัน
หลักสมถะ วิปัสสนา https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=18-12-2023&group=5&gblog=112 คคห. เสริมอีก วันนี้ เวลา 7.25 น. ความคิดเห็นที่ 13-6 (เมื่อ 7 ชม.ที่แล้ว) ถ้าภาวะปกติก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดูลมหายใจ พอคิดฟุ้งซ่านก็ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กำหนดรู้ว่ากำลังคิดฟุ้งซ่าน ใช่รึเปล่า - ถูกต้อง เมื่อมันคิดฟุ้งอย่างที่ว่า เราก็จับเอามันนั่นแหละเป็นอารมณ์ของสติสะ มันคิดยังไงก็ยังงั้น กำหนดตรงตัวไม่เลี่ยงหนีมัน เช่น คิดออกนอกหลัก คือ ลมเข้า-ออก คิดหนอๆๆๆๆ ฟุ้งซ่านหนอๆๆๆๆ ว่าตามสภาวะ ๓-๔ ขณะ ปล่อย (อย่าจมแช่อยู่กับมัน) ดึงจิตมารับรู้ลมเข้า-ออก ว่าไปใหม่ ... เอาอีกแล้ว คิดไปนั่นมานี่อีก กำหนดอีก ตรงๆ ยังไงก็ยังงั้นทันที - ที่ว่านี่ " แต่เรารู้ตัวช้า กว่าจะรู้ว่าคิดฟุ้งซ่านก็คิดอะไรไปซะเยอะแล้ว" - อย่ากังวล มีวิธี นึกได้ตอนไหน ก็กำหนดยังงั้นตอนนั้น เช่น นึกได้หนอๆๆๆ, ลืมหนอๆๆๆ ๓-๔ ขณะ (กำหนดตามความรู้สึก ณ ขณะนั้นๆ) ปล่อยแล้วก็ดึงจิตมารับรู้ลมหายใจเข้า-ออก ว่าไปใหม่ การกำหนดรู้ทุกๆสภาวะทั้งทางกายทางใจที่เกิดเกิดนั่นแหละ คือ การเจริญสติสัมปชัญญะ (สติ ปัญญา)
Create Date : 16 กันยายน 2567 |
Last Update : 17 มีนาคม 2568 14:50:39 น. |
|
0 comments
|
Counter : 278 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|