 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
การรักษาจิตนั้นเป็นอย่างไร |
|
* ถาม 
>การรักษาจิตนั้นเป็นอย่างไร ? ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรถึงจะเรียกได้ว่ารักษาจิต
มีความรู้สึกว่าตัวเองจิตตก ไม่มีพลังที่จะรับรู้เรื่องราวที่บั่นทอนจิตใจเลยค่ะ
การรักษาจิตนั้นเป็นอย่างไร?ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรถึงจะเรียกได้ว่ารักษาจิต - Pantip
วิธีรักษาจิตมีมากมายหลายวิธี แต่เบื้องต้นที่สุดก็คือฝึกให้จิตเกาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เห็นได้สัมผัสได้ เช่น รูปกสิณ,พระพุทธรูป ซึ่งเป็นอารมณ์หยาบกว่าลมหายใจเข้า-ออก หยาบกว่าท้องพอง-ท้องยุบ ในที่นี้ยกเอาพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง เราก็เพ่งดูพระพุทธรูปจิตเกาะอยู่ที่องค์พระพุทธรูปนั้น ภาวนาในใจไปด้วย พุทธะรูปัง กะสิณังๆๆๆๆ เบื้องต้นกะเวลาสัก ๓๐ นาที.
ผสมกับขณะทำงานอะไรอยู่แล้วแต่ ใช้งานที่ทำนั้นเป็นอารมณ์ให้จิตเกาะจับ เช่น กวาดบ้านถูบ้านอาบน้ำแปรงฟัน รับประทานอาหาร ได้ทุกอย่างไป ไม่มีข้อจำกัด ทำติดต่อกันสักระยะหนึ่ง ความฟุ้งซ่านจะลดลงๆๆ นี่ก็เรียกว่ารักษาจิต ซึ่งมันก็คือการฝึกจิตให้มันอยู่ในอำนาจนั่นเองเราถึงจะรักษามันได้ ถ้ามันไม่เชื่องก็รักษามันไม่ได้ เอามันไม่อยู่ เหมือนวัวควายช้างม้าที่พยศ พอเราแตะตัวหน่อยหัวหกก้นขวิด พอมันเชื่องแล้วก็มีผลมากมีพลังมากต่อเจ้าของ รวมทั้งการฟังด้วย ฟังอย่างบันทึกข้อมูล มิใช่ฟังด้วยความยินดียินร้ายเหมือนก่อน
- พิจารณาหลักสูงสุดเทียบ
ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด
"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ดำริข้อดำรินั้น ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" (องฺ.จตุกฺก.21/35/46)
Create Date : 04 สิงหาคม 2565 |
Last Update : 15 มีนาคม 2568 15:12:46 น. |
|
0 comments
|
Counter : 541 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|