กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
21 พฤษภาคม 2565
space
space
space

นั่งสมาธิแล้วรู้สึกหงุดหงิด อึดอัด รำคาญ อยู่ข้างใน



* ถาม   450

> เป็นไหมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกหงุดหงิด อึดอัด รำคาญ อยู่ข้างในต้องแก้ยังไงคะ

  รู้สึกอึดอัด หงุดหงิด จิตใจร้อนรุ่มไปหมด แทนที่จะสงบแต่รวมจิตไม่ได้เลย นิ่งไม่ได้เลย ต้องแก้ยังไงคะ บางทีทนไม่ได้จนต้องเลิกนั่งเลยค่ะ
ถ้าฝืนนั่งก็กลายเป็นอารมณ์เสียไปเลย แต่พอเลิกนั่งจะกลับไปนอนต่อ พอรู้ตัวว่าจะได้นอน จิตใจดี๊ด๊า Happy มีความสุขซะงั้น

เป็นไหมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกหงุดหงิด อึดอัด รำคาญ อยู่ข้างในต้องแก้ยังไงคะ - Pantip

 




235 นี่แหละที่พระพุทธองค์ว่ามันทวนกระแสปุถุชน

  มันเป็นยังไง  รู้สึกยังไง  กำหนดรู้ยังงั้นตามที่มันเป็น  ไม่ใช่หนีอารมณ์หนีปัญหา  ไม่ใช่  กำหนดจิตตรงๆกับที่เป็นที่รู้สึก  เช่น รู้สึกอึดอัด   รู้สึกรำคาญ  รู้สึกหงุดหงิด รู้สึก Happy ปุ๊ป กำหนดปั้ป  ตรงสภาวะมัน  สามสี่หนแล้ว  ก็ไปกำหนดลมหายใจเข้า-ออก, พอง-ยุบคือเก่า  ลมหายใจเข้า-ออก, พอง-ยุบ  เป็นอารมณ์หลัก  เกาะหลักไว้ (ลมเข้าก็เข้า ลมออกก็ออก, ท้องพองก็พอง ท้องยุบก็ยุบ ตามให้ทันมันแต่ละขณะๆ)   ต่อเมื่อมีอารมณ์อื่นแทรก   ให้วางของเก่าไปกำหนดรู้อารมณ์ที่แทรกสะ    กำหนดรู้มันตามนั้นแล้วกลับมาอารมณ์หลักอีก    ก็แค่นี้  ฝึกทำนองนั้นเรื่อยไป     

ผู้ฝึกใหม่ๆ เริ่มที่ ๕-๑๐ นาทีก่อนก็ได้  สมมติว่า ๕ นาที  กำหนดแนวนั้นไป  ๕ นาทีครบแล้ว  เดินจงกรมกำหนดการเคลื่อนไหวซ้ายก้าว  ขวาก้าวไป  ๕  นาที  ก็นั่ง ๕ นาที  หรือมีงานอื่นประจำวันติดพันตอนนั้น  ก็ไปทำงาน  แต่ให้ควบคุมจิตใจให้อยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ ณ ขณะนััน แล้วก็ค่อยๆปรับเวลาขึ้นไปๆๆ  อีก ไม่ใช่เริ่มฝึกก็ใจใหญ่เล่นทีเป็นชั่วโมงเบย 110

เป็นสุขก็เป็นสุขหนอ  เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์หนอ  อึดอัดก็อึดอัดหนอ  รำคาญก็รำคาญหนอ  อารมณ์เสียก็อารมณ์เสียหนอ  ฯลฯ  107  วิธีแก้แค่นี้เอง (ว่าในใจ) ตามที่มันเป็น รู้ตามที่มันเป็น  ไม่ต้องไปควาญหาที่ไหนเลย  

235 จำไว้หลักคือลมหายใจเข้า-ออก  แต่ละขณะๆ  พอง-ยุบ แต่ละขณะๆ  ลมเข้าขณะหนึ่ง   ลมออกขณะหนึ่ง,  ท้องพองขณะหนึ่ง  ท้องยุบขณะหนึ่ง  ชอบพูดกันว่าปัจจุบันอารมณ์  นี่แหละปัจจุบันอารมณ์  9  ปัจจุบันธรรม  ปัจจุบันขณะ  ก็นี่ล่ะ

ไม่ใช่นั่งหลับๆตื่นๆพุทโธๆๆ  นั่งหลับๆตื่นๆพองหนอ ยุบหนอ ไม่ใช่ๆ  ต้องทันมันแต่ละขณะๆดังว่า

หรือไปหนีความคิด  หนีความรำคาญ  รีบท่องพุทโธเร็วๆรัวๆ หนีใหญ่  พุทโธๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  อะไร  ทำอะไรกัน  พองยุบก็ไปทำกันทำนองนั้น พองยุบๆๆๆๆๆๆๆๆ รัวหนีใหญ่   จะหนีความคิดหนีอารมณ์ หนีความรำคาญว่างั้นเถอะ  จะหนีมันไปไหน  107   หนีมันไม่พ้นหรอก  ต่อให้ดำน้ำอยู่  มันก็ตามไปด้วย  ต้องรู้จักเข้าใจมันซี่  ทุกขสมุทัย  ท่านให้ปริญญา (ปริญญากิจ) คือ  กำหนดรู้

ทางกายก็เหมือนกัน  รู้สึกว่ากายโยกโคลง เป็นต้น  ก็กำหนดไปตามความรู้สึก  ถึงกายมันจะสั่นจะโยกจะโคลงเอนไปโอนมาจริง ก็กำหนดจิตไปตามนั้น  ไม่ฝืนไม่ต้านสภาวธรรม  ชอบพูดกันทั่วๆไปว่า กายไม่ใช่เรา จิตก็ไม่ใช่เรา มันเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้   ก็นั่นแหละมันไม่ใช่เรา บังคับมันไม่ได้  ท่านจึงให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็นของมัน   

235 ปฏิบัติได้กำหนดได้ทันทั้งกายทั้งทางความรู้สึกนึกคิดทุกสภาวะแล้วสติปัฏฐานเข้าทุกข้อ  โดยไม่ต้องอ้างอิงแต่อย่างใด 

จะสุขจะทุกข์ยังไงกำหนดทัน   ไม่ใช่ประสบสุขนึกยิ้ม   11   อยู่ในใจ  ชอบ  พอประสบทุกข์ไม่เอาแล้วลุกหนีเลย  ไม่ใช่  สุขก็กำหนดด้วย Happy ก็หนด  Happy หนอๆๆๆ  สุขหนอๆๆๆ ว่าในใจ พูดในใจ   กำหนดรู้ตามที่มันเป็น  มิใช่รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็นหรือไม่อยากให้มันเป็น


235 มีตัวอย่าง  กำหนดรู้ตามที่ตัวเองอยากให้มันเป็น   ดู    450


> หลายท่านนั่งสมาธิด้วยวิธีดูลมหายใจ (อานาปานสติ) หรือภาวนาพุทโธ หรือเพ่งกสิณ หรือสติปัฏฐาน 4 แต่จิตไม่เคยสงบเป็นสมาธิเลย

สาเหตุ เพราะท่านทั้งหลายไม่เคยเจอ และรู้จัก “ผู้รู้” ภายใน

“ผู้รู้” คือใครรู้ การจับความรู้สึกของลมหายใจเข้า ออก รู้อยู่ไหนนั่นแหละ คือ “ผู้รู้” การภาวนาพุทโธ ระลึกรู้คำว่า พุทโธ นั่นแหละ คือ “ผู้รู้” การเพ่งดวงกสิณเห็นดวงกสิณเด่นชัด “ผู้รู้” ก็อยู่กับดวงกสิณ
การทำสติปัฏฐาน 4 ระลึกรู้ถึงกายทั่วพรัอม “ผู้รู้” ก็อยู่ที่กาย

ตั้งสติระลึกรู้ อยู่กับ “ผู้รู้” นั้นมากๆ ผู้รู้จะค่อยเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายจะเหลือแต่ “ผู้รู้” รวมเด่นชัด  บางทีก็เป็นแก้วประกายพรึก สว่างไสวทุกทิศทุกทาง ท่ามกลางความว่างไม่มีประมาณ เป็นเอกัคตาและอุเบกขา มีแต่ความสงบไม่รับรู้ถึงกาย  ลมหายใจ ความคิด ความรู้สึกสุขและทุกข์อีกต่อไป…    

หลายท่านนั่งสมาธิด้วยวิธีดูลมหายใจ (อานาปานสติ) หรือภาวนาพุทโธ หรือเพ่งกสิณ หรือสติปัฏฐาน 4 แต่จิตไม่เคยสงบเป็นสมาธิเลย - Pantip


235 นั่นแหละรู้ตามที่ตัวเองอยากให้มันเป็น 451 ตามหาผู้รู้  ก็จะเห็นแต่สิ่งที่อยากให้เป็น  ซึ่งไม่ใช่ธรรมะ  ไม่ใช่ธรรมชาติ  แต่เป็นมโนภาพ

* หลักจงกรม
   
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=19-11-2024&group=98&gblog=12

 



Create Date : 21 พฤษภาคม 2565
Last Update : 15 มีนาคม 2568 13:02:11 น. 0 comments
Counter : 545 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space