 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
|
- ถาม 
> พระวัดป่าที่ภาวนาเก่ง เเบ่งตารางเวลาว่า ชั่วโมงไหนทำสมถะ ชั่วโมงไหนทำวิปปัสนาได้ไหมครับ
เช่น 13.00 --> 14.00 ทำสมถะ
14.00 --> 15.00 ทำวิปัสนา....
เรื่องนี้ ฟังจากหลวงพ่อชา หลักการต่างจากฟังจากท่านปราโมทันตินัน ท่านปราโมท เหมือนจะเเยกเวลา ว่าถ้าช่วงใดจิตไม่สงบ ทำความสงบ พอสงบเเล้ว ก็เริ่ม ตามดูตามรู้....เเบบวิปัสนา หลวงพ่อชาท่านสอนเหมือนกับว่า สมถะ วิปัสสนา มันซ้อนทับกัน เเบบเเยกไม่ออกว่า เวลาไหนกำลังทำ วิปัสสนา หรือทำ สมถะ
พระวัดป่า ทีภาวนาเก่ง เเบ่ง ตารางเวลา ว่า ชั่วโมงไหนทำ สมถะ ชัวโมงไหนทำวิปปัสนาได้ไหมครับ - Pantip
ปัญหานี้ เบื้องต้นควรเข้าใจหลักสำหรับปฏิบัติที่พูดกันชินปากในปัจจุบัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา. คำว่า สมถะ องค์ธรรม ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญา ต่อให้ทำให้ปฏิบัติจนถึงอรูปฌานขั้นสุดท้าย (เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ) สมถะก็สมาธินี่แหละ
ส่วนวิปัสสนาเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา (ปัญญา ก็ วิชชา) วิปัสสนาก็คือปัญญานี่เอง ไม่ใช่ใครที่ไหน คนกันเองทั้งนั้น
หลักปฏิบัติเดิมท่านใช้ตรงๆว่า ศีล สมถะ วิปัสสนา เลย แต่เทคนิคในการปฏิบัติหรือจะเรียกภาวนาก็แล้วแต่ ถ้าเป็นสมถะหรือสมาธิเพียวๆ มักใช้กสิณ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่อยู่กับที่
ส่วนด้านวิปัสสนาใช้อารมณ์ได้ทุกอย่าง ซึ่งรวมอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วก็ไม่ใช่ไปทำทีละข้อทีละอย่าง
ที่จิตไม่สงบ เพราะไม่มีสมาธิ (ไม่มีสมถะ) พอจิตไม่มีสมาธิ เลยไม่มีวิปัสสนา (ไม่มีปัญญา) สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ. ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง. (ปัญญาใช้ประโยชน์จากจิตที่สงบตั้งมั่นพิจารณาสังขารธรรม) รู้ชีวิตคือกายใจนี้ตามความเป็นจริง คือวิปัสสนา จิตที่ตั้งมั่นคือสมถะหรือสมาธิ
ตัวอย่างอารมณ์ที่อยู่กับที่สำหรับฝึกสมถะ (สมาธิ)
> พอมาอยู่อเมริกาคนเดียวในที่สงบ ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำสมาธิ ฉันเริ่มจากการเพ่งจุดที่เพดาน ขณะที่นอน จุดอะไรก็ได้ ให้จิตร่วมเป็นจุดเดียว ขณะที่นั่งก็จะหาจุดอะไรก็ได้ที่อยู่ตรงหน้า จนรู้สึกว่าจิตเกือบจะรวมได้แล้ว ก็ทำต่อไปเรื่อยๆ
จนวันหนึ่งมีญาติมาจากเมืองไทย ฉันพาเขาไปซื้อของที่ห้าง ฉันขี้เกียจเดินขอนั่งรอในรถ ขณะที่รอ ฉันก็ใช้เวลาที่รอเพ่งจุดขี้ผึ้ง นานเป็นชั่วโมง ฉันรู้สึกเหมือนตัวจะลอยได้ มันเบาหวิว ไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็นอะไรเลย มันว่างเปล่า ฉันจึงรู้ว่าฉันทำได้แล้ว มันเป็นความสบายโล่งอย่างบอกไม่ถูก บุญกุศลคงจะสนองฉัน ฉันดีใจมากที่ทำสำเร็จ
ตั้งแต่นั้นมา ฉันอยากจะทำสมาธิเมื่อไหร่ก็ทำได้ แม้เพียงนั่งอยู่แค่ไม่กี่นาทีก็ทำได้
ทุกครั้งที่ฉันเหนื่อย เครียด ฉันก็จะหยุดจิตนั่งสมาธิแค่ ๑๕ นาทีก็หายเหนื่อย ใครจะนำวิธีของฉันไปใช้บ้างก็ได้ จะได้เป็นกุศลมาถึงฉันด้วย คุณไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกที่วัด แค่เพียง ทำจิตให้นิ่งได้ สักวันหนึ่งคุณก็จะพบความสุขที่แท้จริง.
ลักษณะไทย | ย้อนเรื่องราวชีวิตจริงที่ยิ่งกว่านิยาย | Facebook
Create Date : 22 ธันวาคม 2564 |
Last Update : 15 มีนาคม 2568 12:04:54 น. |
|
0 comments
|
Counter : 492 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|