กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2564
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
3 สิงหาคม 2564
space
space
space

สอบถามเรื่องการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน


 
 
ถาม  450
 
> สอบถามเรื่องการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

   ผมลองปฎิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน เมื่อวานผมตั้งใจจะปฏิบัติ 4 ชม. ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงเที่ยง  ผมแบ่งเป็นเดินจงกรม 2 ชม. นั่งสมาธิอีก 2 ชม.   (ใช้เสียงมือถือเป็นตัวเตือนหมดเวลา)   ผมเดินจงกรมได้ครบ 2 ชม. แต่พอนั่งสมาธิผมนั่งได้ไม่ถึง 1 ชม. เพราะมันปวดมากๆ ต้องเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ   วันนี้ผมจะลองเปลี่ยนวิธีใหม่ ปฏิบัติ 4 ชม. เหมือนเดิม แต่จะเปลี่ยนเป็นเดินจงกรม 15 นาที  สลับกับนั่งสมาธิอีก 15 นาที สลับไปสลับมาแบบนี้จนครบ 4 ชม. อยากถามว่าจะใช้วิธีนี้ได้รึเปล่าครับ    (เพิ่งเริ่มปฏิบัติใหม่ๆครับ ก่อนหน้านี้เคยไปเรียนที่วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้เอามาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง)

สอบถามเรื่องการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน - Pantip


 

235  ประเด็น 451 สั้นๆ เพียงถามถึงวิธีฝึกอบรมเจริญปัญญาว่า  ที่ทำๆนั่นๆได้ หรือ เปล่าเท่านั้นเอง    แต่คำตอบอาจยาว เพราะเป็นเรื่องของถ้อยคำที่ชาวพุทธบ้านเรามักนำมาพูดๆกันทั่วๆไป  แต่ยังเห็นไม่ตรงกัน
 
235 ดูความหมายศัพท์ภาษาบาลีของเขาก่อน


-  วิปัสสนากัมมัฏฐาน  (วิปัสสนา+กรรมฐาน)  แปลเอาความว่า  งานเจริญปัญญา,  กรรมฐาน คือวิปัสสนา
 
- กรรมฐาน  แปลว่า  ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต  หรือที่ให้จิตทำงาน    มีความหมายเป็นทางการว่า  สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา  หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต  หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ     พูดง่ายๆว่า  สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดด้วยสติ  จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว   ไม่เลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย     พูดสั้นๆ   กรรมฐาน   คือ   สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ชองจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ     พูดให้สั้นที่สุดว่า   สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ
 
- วิปัสสนา  เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา 

- ปัญญา  ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น     เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น     ต้องฝึกปรือ   ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ  ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ  และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของความเจริญบ้าง  ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง   ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้นบ้าง  ขอยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา  ปริญญา  ญาณ  วิชชา  อัญญา  อภิญญา   พุทธิ    โพธิ    สัมโพธิ   เป็นต้น
 
- ปัญญา  เป็นภาเวตัพพธรรม    คือเป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรม    ทำให้เกิดให้มีและให้เจริญยิ่งขึ้นไป   จนทำลายโมหะ หรือ อวิชชาได้โดยสิ้นเชิง
 
- วิปัสสนา  ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;   ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,  การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
 
 
> อย่างว่าว่า  ปัญญาก็ต้องฝึก  ทีนี้การฝึกอบรมเจริญปัญญา  ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปจากน้อยไปหามาก   (มากสุดบัลลังก์หนึ่ง ไม่เกิน ๖๐ นาที เกินได้บ้างนิดหน่อย วันหนึ่งๆทำกี่ชั่วโมงแล้วแต่ไม่กำหนด  ไม่ใช่โผล่มาก็เล่นนั่งครั้งละ ๒ ชั่วโมงเลย)   พูดเป็นกลางๆ ไว้ก่อน  เช่น  เดินจงกรม  ๑๐ นาที   นั่งกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ก็ ๑๐ นาที  นั่ง-เดิน  ทำไป  แค่นี้ก็ใช้เวลาหลายวันแล้ว (ดูความพร้อมทั้งของกายของจิต)     แล้วจึงปรับเวลาขึ้นอีก ๑๐ นาที  เป็น ๒๐  นาที  เดินจงกรม  ๒๐ นาที  นั่งกำหนดอารมณ์ ๒๐ นาที  ฯลฯ  เมื่อร่างกายพร้อมใจพร้อม  ก็ปรับเวลาขึ้นอีก ๑๐ นาที  ฯลฯ  จน ถึง ๖๐ นาที  เดิน ๖๐ นาที  นั่ง ๖๐ นาที   วันหนึ่งๆทำกี่ชั่วโมงก็ได้  แต่นั่ง-เดิน ครั้งละไม่เกิน ๖๐ นาที  ฝึกไปเป็นเดือนเป็นปี 11 ใจเย็นๆว่านี่คือการฝึกเจริญปัญญา  (เจริญวิปัสสนากรรมฐาน)  110  ไม่ได้ทำแข่งกันกับใคร อีกอย่าง การฝึกจิตเจริญปัญญาไม่มีทางลัด   ทางลัดไม่มี  อย่าชวนกันหลอกตัวเอง  




จงกรม   เดินไปมาโดยมีสติกำกับ  (สติกำกับการก้าวๆไป ไม่เผลอ)  ดูหัวข้ออานิสงส์จงกรม

 



    ปล. แม้ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น  อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ฯลฯ  ทำงานนั่นนี่โน่นอยู่   ก็ใช้งานที่ทำนั่นฝึกจิตเจริญใจไปด้วย  คือให้ใจกับกิจจิตอยู่กับสิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้นๆ       

 - สติ    ความระลึกได้,  นึกได้,  ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้องต้องทำ,  จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้  มักมาคู่กับสัมปชัญญะ (ชื่อของปัญญาระดับเริ่มต้น)

- สภาวะ, สภาพ     ความเป็นเอง,  สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

- สภาวธรรม   หลักแห่งความเป็นเอง,  สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย


235 ตัวอย่างสภาวะ, สภาพ, สภาวธรรม  ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้จากของจริง  ทุกๆสภาวะผู้ปฏิบัติจะต้องผ่านให้ได้   ผ่านก็ด้วยการกำหนดรู้ตรงๆตามนี่เอง   รู้สึกยังไงกำหนดยังงั้น  เป็นยังไงกำหนดยังงั้น  ไม่เลี่ยงหนี  

- อาจมีคำถามว่า  หากผ่านไม่ได้ล่ะจะเป็นยังไง   ตอบ.  ก็ติดวนไปวนมาอยู่ตรงนั้น ไม่ไปไหน ตัวอย่าง 450  


> ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

   วันแรกๆ ก็ไม่เป็นอะไร  พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจนเวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเอง  จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ  หายใจตอนแรกก็ยาว    ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน    คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ   จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง  ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา  ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

   1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี   ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

   2. จุดมุ่งหมายจริงๆ   คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ     

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ  พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว  เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา     เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา  ทำให้เราเข้าใจว่า  ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด   แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร  หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง   จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ   หลังสึกออกมาทุกวันนี้     เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน   แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง    ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน.


 235 นักเขียน  นักอ่าน  นักพูด  นักคิด  จะรู้เข้าใจเท่า > เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา.  เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา ทำให้เราเข้าใจว่า  ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด.   แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร 

235 แม้กระทั่งสติปัฏฐาน ๔  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  ก็ทำนองเดียวกัน  เขาก็รู้  แต่พอมาภาคปฏิบัติจริงๆไปต่อไม่ได้  ตันเพราะประสบกับสภาวะของรูปของนาม ทั้งๆที่ท่องได้จำได้  สติปัฏฐาน ๔  กาย  เวทนา จิต  ธรรม  รูปนาม ขันธ์ ๕ ก็รู้ ก็จำได้   9   หากนำหลัก ปริยัติ  ปฏิบัติ  ปฏิเวธ  วางดู  ก็รู้ได้ว่า จขกท.  เดินทางถึงระดับกลาง  คือ  ปฏิบัติ  ส่วนปฏิเวธเขาก็พอมี  ดังที่บอกตอนท้ายว่า เมื่อก่อนเป็นคนใจร้อน  แต่พอมาปฏิบัติแล้วเวลาโกรธเหมือนมีสติคอยกันให้


235 เอาอีกสักตัวอย่างหนึ่ง  450

> ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พองหนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ

กระผมคิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนดยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้วเพราะ เหมือนกับว่าร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ    ผมเลยใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป   จนผมเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ แต่ใจผมยังคงหยุดอยู่ที่สิ่งแรกอยู่  แต่รู้สึกสิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น   ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะหนึ่งครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะ เหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด คือ เหมือนร่างกาย ก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่าไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้อ่ะครับ

ผมเลย   นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆๆถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา   ในตอนนั้น  ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกายอ่ะครับ   ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่า ร่างกายผมอ่ะครับมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น)   และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวันเหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลยครับ

หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน  แต่ทุกๆ คืน จนถึงวันนี้  ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยากเจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเองวัน ๆ อยากนั่งทำสมาธิ เพราะในช่วงที่เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

ในสิ่งที่ผมถามและอยากรู้นะครับ คือ

   1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ
   2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ
   3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ

วันต่อมา   เมื่อวานนี้   ได้นั่งพิจารณาอารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ

พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง คราวนี้  มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรกแต่   ครั้งนี้  เกิดนิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็กๆๆ กลายเป็นลูกใหญ่ แล้วคือเวลาเราหลับตาอ่ะครับ    มันจะดำๆๆ ใช่ไหมครับ   แต่พอลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่หลับตาอยู่นั่นเอง  และพอกำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไรได้หมด

ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้ว แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใดๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น  พิจารณาอยู่นานเหมือนกัน  ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆ ตัว หายไป หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหายไป   ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ    คราวนี้   เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆ ขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน ค่อยๆ ปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่า ได้กลับไปอยู่ในสถานการณ์นั่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง   ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต ค่อย ๆๆ ผุดขึ้นมาที่ละนิดๆ   จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็ก ๆๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง  บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็ รู้สึกดี   ก็ตามพิจารณารู้ว่ารู้สึกดีตลอด   บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว    สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง   รู้ถึงตอนที่    พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล   พอถึงตอนนี้   ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล   ที่เห็นพ่อแม่อยู่ด้วยกัน   (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว)   เลยอธิฐานขอออกจากสมาธิ   ภาพเหล่านั่นก็หายไป   แล้วความรู้สึก    ถึงสภาวะรอบตัว   และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ออกจากสมาธิครับ

สิ่งที่ผมเห็น   ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ   หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้   ความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง   เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไม่ได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น   แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ

ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ ไม่อยากยึดติดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป


235 ไม่มีสภาวะใดคงที่เลย  451 เปลี่ยนไปเรื่อย  นั่นนี่โน่น  เพราะฉะนั้น  ภาคปฏิบัติทางจิต  ปฏิบัติธรรม  ปฏิบัติกรรมฐาน ปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน เป็นต้น  ท่านจึงว่า ให้ดูมันเหมือนดูหนังดูละคร ซึ่งรูปนามมันเล่นให้ดูแสดงให้ดู  พูดให้เข้าหลักก็ว่าดูไตรลักษณ์  ปัญหาเกิดตอนที่เรายินดียินร้ายเกลียดกลัว เป็นต้นไปกับมัน    ท่านจึงให้โยคีกำหนดตามที่มันเป็น    121    อย่างเราดูลิเกเห็นพระเอกนางเอกถูกตัวโกงนางอิจฉาทำร้ายทุบตี  คนที่อินสงสารร้องไห้เสียใจฉันใดก็ฉันนั้น    

 



Create Date : 03 สิงหาคม 2564
Last Update : 14 มีนาคม 2568 19:30:16 น. 1 comments
Counter : 1332 Pageviews.

 
อนุโมทนาบุญครับผม


โดย: สมาชิกหมายเลข 4149951 วันที่: 6 สิงหาคม 2564 เวลา:22:38:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space