กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
25 เมษายน 2566
space
space
space

ความหมาย ปฏิบัติธรรม


  > กิจกรรมปฏิบัติธรรมกับทีมครูเงาะรอบนี้ เป็นกิจกรรมพิเศษสำหรับ นักเรียน VIP คลาส Wisdom Journey 2023 (1 Year Subscription)

และเรายังมีกิจกรรมปฏิบัติธรรมรอบต่อไป

ในเดือน สิงหาคม และกิจกรรมอื่น ๆ อีกถึง 10 กิจกรรมให้คุณเข้าร่วมได้

 

 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=829603481858163&set=pcb.829603708524807


   เรื่องหนึ่งที่ควรกล่าวถึงไว้ด้วย  คือ  ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำซึ่งมีความหมายคลาดเคลื่อน เลือนกลายแปลกออกไปตามกาลสมัย

   ตัวอย่างสำคัญ  คือ คำว่า "ปฏิบัติธรรม"  ซึ่งความหมายที่แท้  ควรได้แก่การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม   แต่ปัจจุบัน   มักเข้าใจคำนี้ในความหมายว่า  เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ   ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ  และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้   หนังสือนี้เองก็ได้พลอยใช้ตามความหมายแคบๆ อย่างนี้ด้วยหลายแห่ง  ผู้ศึกษาพึงอ่านโดยตระหนักตามคำชี้แจงนี้


   ที่กลายไปจนน่าขำ  ก็คือ  คำว่า "ศึกษา"  ที่มาคู่กับ "ปฏิบัติ"  เป็น  ศึกษาและปฏืบัติ   ความจริงแต่เดิมนั้น  ศึกษาหรือสิกขานั่นแหละ  คือ  ตัวแท้ของการปฏิบัติ  หรือเป็นตัวการปฏิบัตินั่นเอง  เพราะสิกขา  ได้แก่  ศีล  สมาธิ ปัญญา  ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติฝึกหัดอบรม (ดู วินย.อ.1/264 ฯลฯ)  โดยเฉพาะการเจริญปัญญา  หรือทำให้เกิดปัญญา  ย่อมเป็นการปฏิบัติระดับสูงสุด  ซึ่งจะทำให้บรรลุผลคือปฏิเวธ   ต่อมา  คำว่าศึกษาคงถูกใช้ในความหมายของการเล่าเรียน  อาจถึงกับเล่าเรียนโดยไม่ต้องคิด   หรือคิดอย่างเลื่อนลอย  คิดฟุ้งซ่าน  ไม่มีหลักไม่มีระเบียบ  คำว่า  "ศึกษา"   จึงมีความหมายกลายมาเท่ากับคำว่า "ปริยัติ"

(พุทธธรรม หน้า ๑๑๔๙)



235 ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบ หรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบ คือ

     ๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ   (สามัญธรรมปฏิบัติ)

     ๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น   (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)

   การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้มีคำจำกัดความ และความมุ่งหมายที่กว้าง และแคบต่างกัน ดังนี้

     ๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ  (สามัญธรรมปฏิบัติ: General Dhamma Practice) หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรม หรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามีสติสัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้งเพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่ การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

     กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือ สติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือหิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อปฏิบัติกิจ หรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เช่น ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คืออิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

     แม้แต่การออกไปที่ท้องถนน หรือ การขับรถ ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง หรือง่วงนอนหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

     นอกจากนี้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น นำหลักอิทธิบาท ๔ โดยมีฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ มีวิริยะ มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเท สู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน มีจิตตะ เอาใจใส่สนใจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และ มีวิมังสา คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ข้าราชการผู้นั้น ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ

     ๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น  (วิสามัญธรรมปฏิบัติ: Intensive Dhamma Practice) หมายถึง การเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือ หลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรมมาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือ บำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการปลีกตัวออกไปจากสังคม หามุมสงบประคบประหงมจิต เช่น ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม หรือไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด ก็คือความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนาในวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่มีพระภิกษุผู้มุ่งวิปัสสนาธุระเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิชากัมมัฏฐานทั้งสายสมถะและวิปัสสนาโดยตรง ดังนั้น การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเน้น หรือลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจ อย่างมีระบบ กำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง.

 


Create Date : 25 เมษายน 2566
Last Update : 21 ธันวาคม 2566 12:32:32 น. 0 comments
Counter : 296 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space