 |
|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
 |
|
|
พระพุทธเจ้าตรัสเป็นสาระของพระสูตรทั้งหมด ก็คือ การรู้ที่จัดเป็น ๓ ระดับใหญ่ คือ การรู้ของปุถุชน การรู้ของพระอริยบุคคลขั้นเสขะ และการรู้ของพระอรหันต์ ตลอดไปถึงการรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในขั้นที่ ๑ ของปุถุชน พุทธพจน์บาลีเดิมใช้คำว่า "สญฺชานาติ - สญฺญตฺวา" คือรู้แบบสัญญา เข้าใจไปตามสมมุติบัญญัติ ไม่รู้ทันภาษาที่สื่อสาร จึงอยู่แค่ "อปริญญาต์ - ไม่ได้ปริญญา" ในขั้นที่ ๒ ของพระเสขะ พุทธพจน์บาลีใช้คำว่า "อภิชานาติ - อภิญฺญาย/อภิญฺญตฺวา" รู้ตรงไปถึงสภาวะ พอจะรู้ทันสมมุติบัญญัติ ดีขึ้นไปเป็น "ปริญไญย - จะพึงได้ปริญญา" ในขั้นที่ ๓ ของพระอรหันต์ พุทธพจน์บาลีก็ใช้คำว่า "อภิชานาติ - อภิญฺญาย/อภิญฺญตฺวา" รู้เข้าใจตามสภาวะทั้งหมด ไม่ติดสมมุติบัญญัติ อยู่ด้วยปัญญา ถึงขั้น "ปริญญาต์ - ได้ปริญญาจบแล้ว"
จากนั้นตรัสถึงการ รู้ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็เช่นเดียวกับพระอรหันต์ แต่มีข้อพิเศษที่ทำให้เป็นการตรัสรู้
ตัดมาจากหนังสือนี้ หน้า ๖๖ เริ่มด้วยปุถุชน รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็สำคัญมั่นหมายต่อสิ่งนั้นๆ ไปในแง่ต่างๆ จนแม้แต่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน และติดเพลินนิพพาน
การ รู้ ของปุถุชนนี้ พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า สญฺชานาติ และ สญฺญตฺวา คือ รูปกิริยาของ "สัญญา" นั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ปุถุชนรู้จักสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งนิพพาน แต่รู้แค่ตามที่จำไว้ตามที่ได้ฟังได้อ่านโดยสัญญา คือว่าไปตามสมมุติบัญญัติ เพราะฉะนั้น รู้แล้วก็สำคัญมั่นหมายไปตามสัญญาเท่านั้น
จากนั้น ในระดับที่ ๒ พระอริยขั้นเสขะ รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็ไม่ปล่อยใจให้มั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน ไม่ยอมติดเพลินนิพพาน
การ รู้ ของพระเสขะนี้ พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า อภิชานาติ และ อภิญญาย หรือ อภิญฺญตฺวา คือ รูปกิริยาของ "อภิญฺญา" หมายความว่า พระอริยะรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งนิพพาน โดยรู้ด้วยปัญญาที่เจาะตรงถึงสภาวะ ทะลุสมมุติบัญญัติไปได้ แม้จะยังอยู่ระหว่างยังศึกษา ก็ตัดก็บรรเทาการสำคัญมั่นหมายลงไปได้ตามลำดับ
ในระดับที่ ๓ พระอรหันต์ รู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ส่ำสัตว์ ประดาเทพพรหม รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ เอกัตตะ (เอกภาวะ) นานัตตะ (นานาภาวะ) สัพพะ (สัพพภาวะ) จนถึงรู้นิพพาน ครั้นรู้แล้ว ก็ไม่มั่นหมายว่าเป็นนิพพานของฉัน ไม่ยอมติดเพลินนิพพาน
การ รู้ ของพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็ทรงใช้คำว่า อภิชานาติ และ อภิญญาย หรือ อภิญฺญตฺวา ที่เป็นรูปกิริยาของ "อภิญฺญา" หมายความว่า พระอริยะรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ แม้กระทั่งนิพพาน โดยรู้ด้วยปัญญาที่เจาะตรงถึงสภาวะ จนละความสำคัญมั่นหมายลงไปได้สิ้นเชิง อยู่ด้วยปัญญา ไม่ยึดติดคากับสมมุติบัญญัติใดๆเลย
จากนั้นตรัสถึงการ รู้ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็เช่นเดียวกับพระอรหันต์ แต่มีข้อพิเศษที่ทำให้เป็นการตรัสรู้ 
สมมุติ, สมมติ การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือ ยอมรับร่วมกัน; การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุตเทศน์ เป็นต้น ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า
บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ
ความหมาย สมมุติ บัญญัติ เต็มๆ ที่
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=08&group=6&gblog=4
อ่านจนรู้ความหมาย "สมมุติบัญญัติ" "สภาวะ สภาวธรรม" แยกได้แล้ว เข้าใจแล้ว สมองจะโล่งเบาเยอะเลย
Create Date : 08 เมษายน 2564 |
Last Update : 8 ธันวาคม 2566 14:51:41 น. |
|
0 comments
|
Counter : 658 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|