กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
19 พฤษภาคม 2564
space
space
space

ทำให้ถูกดี  ทำให้พอดี  ทำให้ถึงดี


235 ทำให้ถูกดี  ทำให้พอดี  ทำให้ถึงดี

> “ภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต ถึงจะมีความปรารถนาว่า “ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด”   ดังนี้   จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่ ...เหมือนไข่ไก่ ๘ ฟองก็ตาม ๑๐ ฟองก็ตาม ๑๒ ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก ถึงแม้แม่ไก่มีความปรารถนาว่า “ขอให้ลูกของเราใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาโดยสวัสดี เถิด”  ดังนี้  ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บ หรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่” (สํ.ข.17/261/186)



 

 

 
235ก. กระบวนการปฏิบัติ

   ๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวทำการ ที่คอยสังเกตตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกตตามดูรู้ทัน)

     ก. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ คือ สภาวะ ที่ถูกมอง หรือถูกตามดูรู้ทัน ได้แก่ สิ่งธรรมดาสามัญ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย  การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

     ข. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ องค์ธรรมที่ถึงที่ทันอยู่ต่อหน้ากับสิ่งนั้นๆ ไม่คลาดคลา ไม่ทิ้งไป คอยตามดูรู้ทัน เป็นองค์ธรรมของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ

      สติเป็นตัวดึงตัวเกาะจับสิ่งที่จะมองจะดูจะรู้เอาไว้  สัมปชัญญะ คือปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการ ที่ถูกมอง หรือตามดูนั้น โดยตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น ขณะเดิน  ก็มีสติให้ใจอยู่พร้อมหน้ากับการเดิน และมีสัมปชัญญะที่รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน อย่างไร เพื่ออะไร รู้ตระหนักภาวะและสภาพของผู้เดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเดินนั้น เป็น ต้น เข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ เป็นต้นของตน เข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง

     มีข้อควรระวังที่ควรย้ำไว้    เกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ บางคนเข้าใจความหมายของคำแปล “สติ” ที่ว่าระลึกได้ และ “สัมปชัญญะ” ที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป   โดยเอาสติมากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา   แล้วจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรืออย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป

     สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ และมองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าเราทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ) ไม่ใช่นึกถึงตัวตน (ผู้ทำ) ให้สติดึงใจไว้ให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไปจนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉัน หรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

    ๒. อาการที่ว่าตามดูรู้ทัน มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู – เห็น – เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าไปอยู่ต่อหน้า หรือพร้อมหน้า รับรู้ เข้าใจ ตามดูรู้มันไป ให้ทันทุกย่างขณะเท่า นั้น ไม่สร้างกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการคิดกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นต้น ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของ สิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆเองโดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่าของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข.เป็นต้น

      ตัวอย่าง เช่น ตามดูเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไรหรือตามดูธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความกลุ้มใจขึ้น ก็ตามดความกลุ้มหรือกังวลใจนั้นว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร หรือเวลาเกิดความโกรธ พอนึกได้ รู้ตัวว่า โกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาคุณ โทษ เหตุเกิด และอาการที่มันหายไป เป็นต้น กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลยเพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เอง ล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ

      แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตาม ที่มีอยู่หรือปรากฏขึ้นในจิตใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้า ไม่เลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป เหมือนดูคนเล่นละคร หรือดุจเป็นคนข้างนอก มองเข้ามาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นท่าทีที่เปรียบได้กับแพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษา ที่กำลังพิจารณาคดี ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย เป็นการดูแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)

     อาการที่เป็นอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือ สติตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือกระทำอยู่ขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ ไม่ ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มี และยังไม่มีไม่เลื่อนไกลถอยลงสู่อดีต ไม่เลือนลอยไปในอนาคต

     หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆกลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อยเพ้อ ของความเป็นอดีตหรืออนาคต

     การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้  ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้ หรือชักจูงไปนั่นเอง แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญาทำให้พ้นจากอาการต่างๆของความทุกข์ เช่น ความเศร้าซึม เสียดาย ความร้อนใจ กลุ้ม กังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิตใจ



235 ข. ผลของการปฏิบัติ

   ๑. ในแง่ความบริสุทธิ์   เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการอย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อม เป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามโน้มเอียง และความใฝ่นิยมต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย (subjective ) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น ความโกรธ จะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่ ไม่ให้เกิดขึ้น

   ๒. ในแง่ความเป็นอิสระ   เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑ แล้วก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบเพราะอารมณ์เหล่านั้น ถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาววิสัย (objective) ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะ ที่เป็นสกวิสัย (subjective) สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัย แก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐิ) ไม่ถือมั่นสิ่งใดในโลก

   ๓. ในแง่ของปัญญา    เมื่อยอยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูกเคลือบหรือหันเหไปด้วยความรู้สึกความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นตามที่มันเป็น คือรู้ตามความเป็นจริง

   ๔. ในแง่ความพ้นทุกข์   เมื่อจิตอยู่ในภาวะที่ตื่นตัวเข้าใจสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวกหรือลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านติดใคร่กระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส) ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆเป็นภาวะจิต ที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบาผ่อนคลายสงบผ่องใสเป็นตัวของตัวเอง อย่างไม่มีขีดคั่นพรมแดน

    ผลที่กล่าวมาทั้งหมด ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกส่วนในแง่ต่างๆ เมื่อสรุปตามแนวปฏิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์ก็ได้ความว่า เดิมนั้น มนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ยึดถือไว้ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยจำนวนมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกันกำลังเกิดขึ้น และเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆว่าเป็นตัวตนของตนแล้ว ตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไปรู้สึกว่า ฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯล ฯ

    การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั่นเอง เมื่ออยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับ ให้คิดเห็นรู้สึกและทำการต่างๆไปตามอำนาจของสิ่งที่ยึดว่าเป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ

     ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน   ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรม แต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแส กำลังเกิดดับอยู่ ตามสภาวะของมันเมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออก มองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้วย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้น ก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ในบงการของมัน

  > ถ้าการมองเห็นนี้เป็นไปอย่างลึกซึ้ง แจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินไปในรูปใหม่   เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระ ไม่มีความเอนเอียงยึดติดและเงื่อนปมต่างๆ ในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่

    กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

    โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งทีเป็นเงื่อนปม เป็นอุปสรรคถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่ง พร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลก ด้วยความเข้มแข็งและสดชื่นต่อไป
 
 



 


  235 "ภิกษุทั้งหลาย   เมื่อภิกษุมีสติ  (คือปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔) มีสัมปชัญญะ (คือสร้างสัมปชัญญะ ในการยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด เป็นต้น) ไม่ประมาท มีความเพียร   มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้    ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นสุขขึ้น  เธอก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาที่เป็นสุขนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ   ก็แล เวทนานั้นอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น  มิใช่ไม่อาศัยอะไรเลย อาศัยอะไร ?   ก็อาศัยกายนี้เอง   ก็กายนี้   เป็นของไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันธรรมอยู่แล้ว จักเป็นของเที่ยงได้แต่ที่ไหน   เธอมองเห็นความเป็นสิ่งไม่เที่ยง  ความเสื่อมสิ้นไป ความจางหาย ความดับ ความสลัดออกไป ทั้งในกาย และในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอมองเห็นอย่างนั้น ราคานุสัยที่มีในกาย และในสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้
 
    "เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ...อยู่อย่างนี้  ถ้าเกิดเวทนาที่เป็นทุกข์ขึ้น  เธอก็รู้ชัด...ปฏิฆานุสัยที่มีในกาย และในทุกขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้

    "เมื่อภิกษุมีสติ มีสัมปชัญญะ...อยู่อย่างนี้  ถ้าเกิดเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุขขึ้น เธอก็รู้ชัด อวิชชานุสัยที่มีในกาย และในอทุกขมสุขเวทนา ก็จะถูกละเสียได้" (สํ.สฬ.18/377/261)



235 เมื่อเข้าใจพุทธพจน์ข้างบนแล้ว 451 ก็เข้าใจสภาวะภาคปฏิบัติ 450พื้นๆข้างล่าง


 > ผมฝึกนั่งสมาธิมาได้เกือบ 2 เดือนแล้วครับ แรกๆก็จับลมหายใจ คู่ กับ พุทโธ แต่ตอนนี้จับลมหายใจอย่างเดียวแล้ว พอถึงจุดหนึ่ง ลมหายใจค่อยๆหายจนเหมือนไม่หายใจ ความรู้สึกอึดอัดมาก เหมือนขาดอากาศหายใจ   ผมก็ต้องพยายามหายใจตลอดเลยครับ เป็นแบบนี้ตลอด ไปต่อไม่ได้ ควรทำไงครับ หรือผมคิดไปเอง ขอความรู้หน่อยครับจะเอาไปปรับแก้


235 ความรู้ที่เอาไปปรับแก้  มีอย่างเดียว  คือ  รู้ตามที่มันเป็นของมัน ไม่ฝืนมันไม่ต้านมัน  แต่ที่เราพยายามหายใจนั่นเป็นความรู้ของเรา    110    ตอนนี้ความรู้ของเราไปขัดกับธรรมชาติเขา  เราเลยไปต่อไม่ได้

235 ปล. ผู้ปฏิบัติธรรม,  ปฏิบัติกรรมฐาน, นั่งสมาธิ,  เจริญภาวนา  แบบนี้แบบนั้น แบบไหนก็แล้วแต่ เคยนึกเอ๊ะใจถามตนเองบ้างไหมว่า  ปกติก่อนที่เราจะไปทำอย่างว่า  เราก็หายใจเข้าออกกันเป็นปกติสบายๆ ไม่เคยรู้สึกนั่นๆนี่ๆไม่เป็นอย่างว่ากัน   แต่พอไปทำไปปฏิบัติอย่างนั้น ๗ วันบ้าง  ๒ เดือนบ้าง ๓ เดือนบ้าง  มันจะไม่หายใจจะหยุดหายใจเอา  จะขาดอากาศหายใจตายสะงั้น   เคยนึกเอ๊ะไหม  3  มันไม่ตายหรอก  ลองคิดว่าตายเป็นตายสิ  ท้ามันไหนลองนั่งตายดูดิ สภาวธรรมจะเปลี่ยน  
 



Create Date : 19 พฤษภาคม 2564
Last Update : 2 มกราคม 2567 19:09:37 น. 0 comments
Counter : 1408 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space