 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
|
* ถาม
ปิดเทอมอยากจะไปปฏิบัติธรรมมีสถานที่ไหนหรือวัดไหนแนะนำหน่อยได้มั้ยคะ ถ้าเป็นในอุตรดิตถ์ยิ่งดีเลยค่ะ
สอบถามสถานที่ปฏิบัติธรรม - Pantip
คำว่า "ปฏิบัติธรรม" ความหมายที่แท้ ได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือ การดำเนินชีวิตตามธรรม อยู่ในวัยเรียน ไปโรงเรียนเรียนหนังสือ นี่ก็ปฏิบัติธรรม ช่วยพ่อแม่ทำการทำงานที่ตนทำได้ เป็นต้น ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมแง่นี้มีความหมายกว้าง
แต่ปัจจุบัน มักเข้าใจคำนี้ในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ (ผู้ถามคงหมายถึงการปฏิบัติธรรมอย่างหลังนี่)
การปฏิบัติอย่างหลังนี้เรื่องใหญ่ แล้วก็ไม่ใช่ใหญ่ปกตินะ หญายยมากกกก ว่ากันไปพูดกันไปต่างๆตามสภาพแวดล้อมที่ผู้นั้นใกล้ชิด และสัมผัสอยู่ เราเองต้องดูเป็น มีพื้นฐานบ้าง จึงจะมองออก
ให้ดูตัวอย่างความเห็นหนึ่ง เขาพูดถึงเรื่องสมาธิ,ลมหายใจเข้า-ออก = อัสสาสะ ปัสสาสะ, เรื่องฌาน (นำมานิดหน่อย)
> ขณะนั่งสมาธิพระพุทธเจ้าให้เข้าไปสังเกตขณะดูลมหายใจ ว่าอกุศลในใจดับไปหรือยัง ถ้ากุศลดับไป แสดงว่าได้ ปฐมฌาน ถ้าวิตกวิจารณ์ดับไปก็ ทุติยฌาน จิตมีปิติ มีความสุข ดับปิติได้ ได้ ตติยฌาน ดับสุขได้ เรียก จตุตถฌาน
จตุตถฌาน มีเครื่องวัดอีกอย่างคือ อัสสาสะ ปัสสาสะ อัสสาสะ คือสุขในสมาธิ ดับไป ปัสสาสะดับ คือลมที่ไหลเข้า-ไหลออก ดับไป
คือจิตจะค่อยๆปล่อยธาตุที่หยาบๆไปเรื่อยๆ เวลานั่งสมาธิ สงบไป สักพัก จะรู้สึกว่า แขนขา ไม่มี นี่คือการเริ่มปล่อย ธาตุดิน (ของแข็ง)
อีกตัวอย่างหนึ่ง คคห. 1 เขาพูดถึงการกำหนดรู้ รูป นาม (นำมานิดหน่อย)
> แนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แบบใช้ขณิกสมาธิ กำหนดรู้ทุกข์ ที่ รูป นาม ขันธ์ ๕ ครับ ดูปัจจุบันอารมณ์ที่เกิดขึ้น เหมือนเราดูละคร ไม่ต้องไปเป็นผู้กำกับ ว่าจะเดินหนอ ๆ ๆ หรือ ยุบหนอ พองหนอ สัมมาอาระหัง
เมื่อไหรที่ เราเป็นผู้กำกับ เป็นผู้จัดการ มันจะเครียดครับ ละ อภิชฌา (ชอบ) โทมนัส (ชัง) ไม่ได้ ครับ
วัตถุประสงค์ ที่เราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อพิจารณา
๑. ดูรูปนั่ง นอน ยืน เดิน ให้เห็นเป็นรูป ไม่ใช่ตัวเรา
๒. ดูรูปนั่ง นอน ยืน เดิน ให้เห็นเป็นทุกข์ ไม่ใช่สุข
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำหนดว่า กำหนดว่า กำหนดว่า กำหนดว่า กำหนดว่า กำหนดว่า นาม นาม รูป รูป รูป นาม
การปฏิบัติธรรมแง่ที่ จขกท. ถามนั่นไม่ใช่ของง่าย ที่ว่าไม่ง่ายเพราะมันเป็นชีวิตจิตใจ เป็นธรรมะ เป็นธรรมะ-ชาติ
ดู ตัวอย่าง Blog สภาวธรรม
คคห. ทั้งสอง ตย. สรุปว่า มโนเอา (มโนในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงใจ แต่หมายถึงภาษาวัยรุ่นปัจจุบันใช้ ) บ้างก็มโนเอา บ้างก็เอาหลักธรรมที่ตำราเขาพูดไว้ลงตัวแล้วมาคิดมาตีความจนหลุดไป
รูป นาม คือ ชีวิตนี้ ภาษาทางธรรมท่านแบ่งอยู่แล้วว่าเป็นรูป กับ นาม ร่างกายเป็นรูป จิตใจ ความนึกคิดเป็นนาม แค่นี้เอง ที่นี้เราเอามาคิดมามโนซ้ำเข้าไป ก็เลยหลุดวงโคจร กลายเป็นฟุ้งซ่านธรรมไปฉิบ 
บ้างก็เอาความคิดความเห็นตนเองไปใส่ปากพระพุทธเจ้า เลอะเทอะ เสียเวลาเปล่า
- อีกที่ว่า 
๒ ดูรูปนั่ง นอน ยืน เดิน ให้เห็นเป็นทุกข์ ไม่ใช่สุข
- แล้วมันเป็นสุขล่ะ เป็นสุขเวทนาล่ะ จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ เป็นทุกขเวทนาล่ะหรือ มันแย้งไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่ตรงสภาวธรรม นี่ก็พลาดแล้ว
เวทนา มี ๓ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ภาคปฏิบัติ สภาวะใดเกิดเป็นยังไง ก็กำหนดรู้ว่ามันเป็นยังงั้น ตรงๆ ไม่ใช่ว่า สุขเวทนาเกิด รู้สึกเป็นสุข แล้วเรากำหนดว่ามันเป็นทุกข์ แค่นี้พลาดจากธรรมะแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ฝนตกจั๊กๆดังฟ้ารั่ว แต่ตนเองเห็นไปว่าแดดออกจ้า นี่มีปัญหาแล้ว ท่านให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น ฝนตกก็ฝนตก แดดออกก็แดดออก ทุกข์ก็ทุกข์ สุขก็สุข ไม่ใช่เห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นสุขไป
คำภาวนานั่นนี่โน่นก็ดี นับตัวเลขก็ดี ไม่ใช่สาระสำคัญ ท่านให้มองเหมือนเครื่องตรึงจิตให้อยู่กับกรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้า-ออก (อัสสาสะ ปัสสาสะ) เป็นต้น ได้ดีเท่านั้นเอง
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=12&group=5&gblog=5
Create Date : 03 มีนาคม 2565 |
Last Update : 15 มีนาคม 2568 12:30:23 น. |
|
0 comments
|
Counter : 725 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|