 |
|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
 |
|
|
ว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลส ก็ยังไม่ใช่ คือยังไม่ได้เจริญภาวนาจนถึงขั้นเกิดวิปัสสนูปกิเลส ถ้ายังงั้น อาจมีคำถามว่า แล้วมันเป็นอะไรล่ะ ? มันเป็นการคิดโน่นนี่นั่นไปเรื่อยเปื่อย
- จากการทำ นั่งสมาธิ คือ สมถะ ฝึกสติรู้ตัว เดินจงกรม วิปัสสนา คือ เกิดดวงตาเห็นธรรมเกิดปัญญาในการแยกรูปแยกนาม สิ่งใดสมมุติ สิ่งใดคือความยึดมั่นถือมั่นในสมมุติ ผู้ใดมาด้วยความยึดมั่นถือมั่นใดในสมมุติ
เข้าใจว่าการวิปัสสนาทำได้ทุกที่ กินนั่งยืนเดินนอน ดูว่าเวทนากุศลอกุศลใดเกิดนิวรณ์ใดเกิด เกิดการมองธาตุขันธ์ในทุกๆอย่างตามกำลังสมถะคือสติรู้ เมื่อไหร่หยุดนั่งสมาธิคือสมถะ สติรู้ จะเสื่อมลงรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง มิน่าถึงว่า ตถาคตจึงบอกให้ ละนันทิ
แต่ปัญญาในการแยกรูปแยกนามยังเหมือนปกติ เมื่อได้พิจารณา เช่น มองออกว่า ใครมาด้วยตวามยึดมั่นถือมั่น ในกฎเกณฑ์ใดๆ ว่าที่เจ้าตัวยึดไว้ว่า ถ้าไม่จริงตามนี้คือ ถูกผิด ดีชั่ว บุญบาป คือหลงกฎเกณฑ์ ยึดถือมั่นในกฎเกณฑ์สมมุติ อะไรคือต่างจากนี้คือผิดหมด
จะมองเเต่ความเป็นจริงโดยไม่ใช้ความคิด แต่ยังมีความคิดที่ผุดขึ้นมาอยู่บ้าง เมื่อเกิดสัญญา จนสังขารปรุงแต่งแต่จะระลึกรู้ ดับทันที
อุปมาคือ เมื่อมองบุคคล จะมองออกว่า เค้ายึดมั่นถือมั่น ในฝั่งเลข 6 หรือ เลข 9 และ พิจราณา ออกว่าผู้สนทนายึดมั่น ในฝั่งใด แท้จริงแล้ว แค่เอาตัวเองออกมาจากฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และมองตามความเป็นจริง เรียกว่า ถคตา คือเกิดดวงตาเห็นธรรม
แต่แท้จริงแล้วหลักของศาสดาไม่เคยสอนให้พิจารณาผู้อื่น แต่สอนให้พิจารณาตัวเอง มองตัวเองเท่าทันตัวเองเป็นหลัก
แต่ผมคิดว่าตัวเองเป็นวิปัสสนูเพราะผมเคยหลงว่าตัวเองบรรลุธรรมมาไม่รู้กี่ร้อยรอบแล้วครับ
ไม่ต้องก๊อปข้อความมาลงนะครับ ผมอ่านมาพอแล้ว ทุกคนเค้าอ่านเหมือนคุณละครับ มี กูเกิ้ลเหมือนคุณ
ถ้าจะสนทนาธรรม เอาธรรมจากการปฎิบัติมาสนทนานะครับ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและผู้ปฎิบัติด้วยกันนะครับ
01.33 16/11/67 อัพเดท ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาหล่อหลอมให้ผมพิจารณาตัวเองมากยิ่งขึ้น จากการดูจิตและดูกิเลสตัวเองในแต่ละการแสดงความคิดเห็น สรุปตัวเองแล้วว่า หลง ยังต้องฝึกอีกเยอะ และขออภัยหากกระแทกกิเลสตัวใดของท่านจนสะดุ้ง ขอบคุณทุกท่านครับ
ผมบรรลุธรรมแล้วครับ - Pantip
ความคิดเห็นที่ 2 จขกท. จะบรรลุธรรมเอาไปทำอะไร
ความคิดเห็นที่ 2-1 อยากพิสูจน์ครับ เพราะก่อนหน้านี้ได้แต่อ่านและฟังไม่เคยปฎิบัติ ธรรมของพระพุทธเจ้าคือการปฎิบัติ
ความคิดเห็นที่ 2-2 ธรรมที่ จขกท.บรรลุนี่อะไรหรอครับ
ความคิดเห็นที่ 2-3 คิดว่าเป็นวิปัสสนูครับ หลงว่าตัวเองบรรลุธรรม
ความคิดเห็นที่ 2-4 รู้ได้ไงว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลสล่ะครับผม
ความคิดเห็นที่ 2-5 จิตปราโมทย์ครับ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็เข้ามารู้ ข้อมูลที่เป็น สัญญามันไหลเข้ามา จิตไม่เป็นอกุศล มีแต่เจตนาดี ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์สมมุติ ว่าแบบนี้ดีเลว แต่จะมองตามความจริงว่า เหตุใดจึงเรียกเลวหรือดี และไม่ตัดสินเพราะมันคือสมมุติ แต่ผู้ที่ยึดติด จะมองว่าไม่ดี แต่ถ้าเป็นผู้ปฎิบัติด้วยกันจะเข้าใจ ด้วยว่า เหตุและผล สิ่งไหนมี สิ่งไหนจึงมี
ความคิดเห็นที่ 2-6 จขกท. ปฏิบัติแบบใดครับ จึงปราโมทย์วิปัสสนูปกิเลสได้

ธรรมุทธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม ๑๐
วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนา ได้แก่ ธรรมารมณ์อันน่าชื่นชม ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ (บาลีเรียก ธรรมุทธัจจ์ ความฟุ้งซ่านธรรม) มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน (โอภาส นี่หลงกันเยอะ)
๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว (สภาวะของปีตินี่พิสดาร)
๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด
๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย
๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว
๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน
๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง
๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด
๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง
๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส
ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นมรรคผลนิพพาน เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้คิดฟุ้งซ่านไป
วิปัสสนูปกิเลสนี้ ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว (เพราะพ้นไปแล้ว) ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง และไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน แต่เกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น
ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพานว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อ โอภาส เป็นต้นนั้น ทีละอย่าง โดยไม่มีชื่อเรียกรวม, "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธัมมุธัจจ์ ก็ คือความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส)
เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะไม่ฟุ้งซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป
วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่า โอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง
นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ
วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือนามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้า หรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)
เมื่อปฏิบัติถูกทางแล้วธัมมุทธัจจ์เกิดแล้ว ทางออกดังนี้
ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุทธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดโดยไตรลักษณ์ เกิดมีโอภาส ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐาน อุเบกขา หรือนิกันติขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส เป็นต้น นั้นว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผลหรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะเป็นทุกข์ โดยภาวะเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงเรียกว่า มีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุทธัจจ์
แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายในเด่นชัดเป็นสมาธิ มรรค ก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย
Create Date : 17 พฤศจิกายน 2567 |
Last Update : 17 มีนาคม 2568 19:07:31 น. |
|
0 comments
|
Counter : 229 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|