 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
 |
|
อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ |
|
อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่
1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์
2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม
3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์
4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย
5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน
6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน
7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท
8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา
9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก
10. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หาย ร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์
- อนุสติ 10 นี้ เป็นชุดในกรรมฐาน 40 อย่าง
กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน กล่าวคือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด (ด้วยสติ) จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย
พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิต ที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ ที่พอจิตเพ่ง หรือจับแล้วจะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ
เมื่อนำหลักวางให้เห็นแล้วทีนี้ก็ดูตัวอย่างเขาใช้อนุสติ คือ ระลึกถึงสิ่งดีงามที่ตนเองได้กระทำแล้ว วิธีของเค้านี้เข้าที เหมือนควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบที่เป็นบุญเป็นกุศล กล่าวคือ เมื่อทำในสิ่งที่ดีงามแล้วระลึกถึงก็เกิดปีติสุขเกิดสมาธิ
ดู
>ความคิดเห็นที่ 11-1
สาธุนะคะ คุณเจ้าของเมนต์ เราเคยฝึกทั้งสองอย่างเลยค่ะ เกี่ยวกับการนั่งสมาธิ หรือฝึกตัวเอง
แบบที่ 1. ที่คุณเจ้าของเมนต์บอกว่า ฝึกเรื่องอารมณ์ เราเคยฝึกค่ะ โดยการที่เราอ่านธรรมะ แล้วนำมาปรับใช้กับตนเอง เช่น เราโกรธง่าย เราจะพยายามนิ่งและมองลึกๆค่ะ ว่าหากโกรธไป จะเกิดผลอะไรตามมา และอีกหลายเรื่องค่ะที่เราฝึกตัวเอง จนมีช่วงนึงเรานิ่งมากๆ แล้วก็กลับมาเหมือนเดิม เพราะไม่ได้ทำต่อเนื่อง
แบบที่ 2 เรานั่งสมาธิเพื่อดูการหายใจของตัวเราเอง มีสติอยู่กับการหายใจ เข้าและออกค่ะ บางทีเรานั่งไปก็นั่งภาวนา พุธโธๆ หรือบางทีนั่งไปก็จะนึกถึงความดีที่ตัวเราได้ทำค่ะ จนเรานิ่งขึ้นมาก บางทีก็จะนึกถึงคำสอนครูบาอาจารย์ต่างๆในขณะนั่งด้วยค่ะ เพื่อทบทวนไปในตัว มีครั้งนึงที่เรานั่งสมาธิแล้วนึกถึงความดีจนเราอยู่ดีๆก็ร้องให้ออกมาเลยค่ะ ไม่ทราบเช่นกันว่าเป็นเพราะอะไร
- ส่วนหนึ่งจาก
เป็นคนจิตฟุ้งซ่านง่าย ทำอย่างไร จึงจะทำให้จิตนิ่งและแข็งขึ้นดีคะ - Pantip
- สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
Create Date : 01 กันยายน 2564 |
Last Update : 14 มีนาคม 2568 19:37:01 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1181 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|