กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
2 มิถุนายน 2565
space
space
space

ไม่เข้าใจสมาธิก็ไม่เข้าใจไตรสิกขา

สมาธิก็ธรรมะ  เรียกว่าธรรมะเหมือนกัน
 

 



 

"เพราะไม่เข้าใจธรรมจึงสอนให้ทำสมาธิ"

235 กล่าวย้อนว่า  เพราะไม่เข้าใจสมาธิจึงไม่เข้าใจไตรสิกขา  คือศีล  สมาธิ  ปัญญา  เมื่อไม่เข้าใจไตรสิกขา  ก็ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา  110 ซึ่งมีคติว่า  ศีลเพื่อสมาธิ  สมาธิเพื่อปัญญา  ปัญญาเพื่อวิมุตติ  

   234 ศีลกำจัดกิเลสอย่างหยาบ  

   227 สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลาง

   235 ปัญญากำจัดกิเลสอย่างละเอียด

    สรุป เสียเวลาเปล่า  2   เมื่อเข้าใจหลักใหญ่ผิดเสียแล้ว  ต่อให้พูดหลักย่อยๆอีกกี่หน้ากี่บรรทัดกี่เล่มกี่คลิปก็ตามผิดหมด   เพราะนั่นมันเกิดจากการเข้าใจหลักใหญ่ผิดเข้าใจพุทธธรรมคลาดเคลื่อน  เหมือนคนติดกระดุมเม็ดแรกผิด  ถึงเขาพยายามติดเม็ดที่เหลือทั้งหมด ก็ผิดไปตามๆกันหมด ฉะนั้น.


 
"ทรงสรรเสริญคุณธรรมในการเจริญกายคตาสติไว้มาก"

ทรงสรรเสริญคุณธรรมในการเจริญกายคตาสติไว้มาก (อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์) - Pantip

- กายคตาสติ   ก็เป็นหนึ่งในบรรดาอนุสติ ๑๐  (ข้อ ๘)  อนุสติ ๑๐ เป็นธรรมหมวดหนึ่งในหลายๆหมวดแห่งกัมมัฏฐาน ๔๐ 

- อนุสสติ ๑๐  คือ  อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่

   ๑. พุทธานุสติ   
 
   ๒. ธัมมานุสติ

   ๓. สังฆานุสติ

   ๔. สีลานุสติ

   ๕. จาคานุสติ

   ๖. เทวตานุสติ

   ๗. มรณสติ

   ๘. กายคตาสติ     สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย  คือ  กำหนดพิจารณากายนี้  ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ  คือ  อาการ ๓๒  อันไม่สะอาด  ไม่งาม  น่าเกลียด  เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้  มิให้หลงใหลมัวเมา

   ๙. อานาปานสติ    สติกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

   ๑๐. อุปสมานุสติ



235 ข้อ ๘ ข้อ ๙ พูดถึงกันบ่อย

   สติปัฏฐาน  ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ,  ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน    การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง,  การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆและความเป็นไปทั้งหลาย  โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน  ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย   ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส

    วิปัสสนา    ความเห็นแจ้ง  คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;  ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,  การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


235 รู้เห็นตามที่มันเป็น  ไม่ใช่รู้เห็นตามที่ตัวเองอยากให้มันเป็นหรือไม่อยากให้มันเป็น


   สมาธิ    ความมีใจตั้งมั่น,  ความตั้งมั่นแห่งจิต,  การทำให้ใจสงบแน่วแน่  ไม่ฟุ้งซ่าน,  ภาวะที่จิตตั้งมั่นเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์คือสิ่งอันหนึ่งอันเดียว,  มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา  (อธิสีลสิกขา  อธิจิตตสิกขา  อธิปัญญาสิกขา - ศีล  สมาธิ  ปัญญา)

   กรรมฐาน  (กัมมัฏฐาน)  ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิตหรือที่ให้จิตทำงาน  มีความหมายเป็นทางการว่า  สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ  พูดง่ายๆว่า  สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดด้วยสติ  จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว  สงบอยู่ที่ได้  ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไปอย่างไร้จุดหมาย

   พูดสั้นๆ กรรมฐาน  คือ  สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ  หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว  และมั่นคงที่สุด  พูดให้สั้นที่สุดว่า  สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ  (สิ่งที่ใช้ฝึกจิต - อธิจิตตสิกขา)  


   คำว่า "ธรรม"  ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง  ไม่มีอะไรอยู่นอกเหนือคำว่า "ธรรม"  ไม่ว่าสิ่งใดๆ ใช้คำว่าธรรมเรียกได้ทั้งหมด

    เมื่อธรรม  ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง  ธรรม  จึงจำแนกออกไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด  แต่อาจจัดประมวลได้เป็นกลุ่มเป็นประเภท   การจัดกลุ่มหรือประเภท  ได้แก่  สังขตธรรม  และอสังขตธรรม  

    สังขตธรรม  คือ ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือสภาวะที่เกิดจากปัจจัยหนุนเนื่องกันขึ้นมา  เรียกง่ายๆว่า "สังขาร" ได้แก่ รูปธรรมและนามธรรมทั่วไป  ที่จัดเข้าในขันธ์  ๕

    อสังขตธรรม  คือ ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง หรือสภาวะที่มิใช่เกิดจากปัจจัยหนุนเนื่องกันขึ้นมา  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  "วิสังขาร"    ได้แก่  สภาวะอันพ้นจากขันธ์ทั้ง ๕  คือ นิพพาน


235 ดูความหมายหลักเข้าใจแล้ว  ไม่ใช่จบแค่นั้น  ยังต้องไปเจริญไปภาวนาอีก (ปริยัติ  ปฏิบัติ ปฏิเวธ) ขณะที่ฝึกหัดปฏิบัติทำก็ยังมีปัญหาให้ต้องแก้    1   



 



Create Date : 02 มิถุนายน 2565
Last Update : 15 มีนาคม 2568 13:17:55 น. 0 comments
Counter : 447 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space