 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
 |
|
|
ถาม
> ปัจจุบัน จขกท รักษาศีล 5 พยายามดูลมหายใจ บริกรรม พุทโธ เเละรู้ทันความคิด ความรู้สึกของตนเอง เช่น เวลาไปซื้อของในห้าง พนักงานบริการไม่ดี พูดไม่ดี เราจะโกธร อันนี้รู้ตัวว่าโกธร ว่าทุกข์อยู่ เพราะเรามีกิเลส มีความถือตัว มีความยึดติดว่าตัวเป็นของเรา ปฏิบัติถูกต้องมั้ยคะ
- การ เเยกขันธ์
- ดูการเกิด ดับ ดูยังไงคะ (เข้าใจว่าดูอารมณ์+ความคิด เริ่มเฝ้าดูตั่งเเต่มันเกิดจนมันหายไปรึปาวคะ เข้าใจถูกมั้ยคะ)
- การเจริญปัญญาคืออะไร (ดูใน ยูทูปบอกว่าเข้าใจว่าอบรมจิตใจตนเอง เเล้วอบรมอย่างไรคะ)
ถามเรื่องการภาวนาค่ะ (มือใหม่หัดภาวนา) ยังไม่เข้าใจวิธีขั้นตอนปฏิบัติหลายๆอย่าง - Pantip
เพิ่งได้แง่คิด ชาวพุทธเราก็ถามเรื่องภาวนา เรื่องความคิดจิตใจ สิ่งในตัวแท้ๆ แต่เข้าใจยากสุดๆหินสุดๆ ส่วนศาสนาอื่นๆเขาสนทนาพูดคุยเรื่องพระเจ้า เรื่องสารภาพบาป ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า ไม่เชื่อก็ลองฟังสักเพลง
เม็ดเกลือและแสง
วิดีโอ | Facebook
สบายๆ
ภาวนา นี่ก็ต้องรู้ความหมาย แยกขันธ์ แยกรูปแยกนาม ความโกรธ โทสะ เกิดดับ แต่ละด่านยากๆทั้งนั้น 
ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา
1. การฝึกอบรม หรือ การเจริญพัฒนา มี ๒ อย่าง คือ ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกัน คือ ๑. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน
กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจและเจริญปัญญา (นิยมเขียน กรรมฐาน) คือ
๑. สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการทำจิตใจให้สงบ, วิธีฝึกอบรมเจริญจิตใจ
๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝึกอบรมเจริญปัญญา
กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ สิ่งที่นิยมใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
สรุปก็เป็นวิธีฝึกจิตเจริญปัญญานั่นเอง สมถะ (สมาธิ) วิธีฝึกอบรมจิต วิปัสสนา วิธีเจริญปัญญา ก็ไตรสิกขานั่นเอง อธิศีลสิกขา (ศีล) อธิจิตตสิกขา (จิต) อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) กลวิธีฝึกคนสามด้าน
ดูลมหายใจเข้าออกว่า พุท ว่า โธ เบื้องต้นก็พอได้
- นี่ก็พอได้ในเบื้องต้น
> พอมาอยู่อเมริกาคนเดียวในที่สงบ ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำสมาธิ
ฉันเริ่มจากการเพ่งจุดที่เพดาน ขณะที่นอน จุดอะไรก็ได้ ให้จิตร่วมเป็นจุดเดียว ขณะที่นั่งก็จะหาจุดอะไรก็ได้ที่อยู่ตรงหน้า จนรู้สึกว่าจิตเกือบจะรวมได้แล้ว ก็ทำต่อไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งมีญาติมาจากเมืองไทย ฉันพาเขาไปซื้อของที่ห้าง ฉันขี้เกียจเดินขอนั่งรอในรถ ขณะที่รอ ฉันก็ใช้เวลาที่รอเพ่งจุดขี้ผึ้ง นานเป็นชั่วโมง ฉันรู้สึกเหมือนตัวจะลอยได้ มันเบาหวิว ไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็นอะไรเลย มันว่างเปล่า ฉันจึงรู้ว่าฉันทำได้แล้ว มันเป็น ความสบายโล่งอย่างบอกไม่ถูก บุญกุศลคงจะสนองฉัน ฉันดีใจมากที่ทำสำเร็จ ตั้งแต่นั้นมา ฉันอยากจะทำสมาธิเมื่อไหร่ก็ทำได้ แม้เพียงนั่งอยู่แค่ไม่กี่นาทีก็ทำได้ ทุกครั้งที่ฉันเหนื่อย เครียด ฉันก็จะหยุดจิตนั่งสมาธิแค่ ๑๕ นาทีก็หายเหนื่อย คุณไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกที่วัด แค่เพียง ทำจิตให้นิ่งได้ สักวันหนึ่งคุณก็จะพบความสุขที่แท้จริง
ลักษณะไทย | ย้อนเรื่องราวชีวิตจริงที่ยิ่งกว่านิยาย | Facebook
Create Date : 09 มิถุนายน 2567 |
Last Update : 1 กรกฎาคม 2568 18:59:45 น. |
|
0 comments
|
Counter : 285 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|