กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
25 ธันวาคม 2564
space
space
space

ถีนมิทธะแทรกระหว่างภาวนา


ถาม  450

> ถีนมิทธะแทรกระหว่างภาวนา

   อาการสัปหงก เผลอสติหลับไปชั่วขณะ เป็นปัญหาที่หนักพอสมควร  รู้ตัวว่าผมสติยังไม่มากพอ  อาการแบบนี้ควรเอาอุบายอะไรมาแก้ไขควบคู่กับการบริกรรมพุทโธครับ
ขอบคุณครับ

https://pantip.com/topic/41171355

235 วิธีปฏิบัติของผู้ใช้พุท-โธ ถูกสอนกันมาว่า  ลมหายใจเข้าว่า พุท  ลมหายใจออกว่า โธ  พุท-โธๆๆๆ ว่าย้ำๆอยู่เท่านี้  เป็นวิธีฝึกสมถะหรือฝึกสมาธิเพียวๆ  ยังไม่เคยได้ยินสำนักใดสักแห่งแนะนำวิธีแก้ถีนมิทธนิวรณ์เลย  ยังไม่เคยได้ยิน  เห็นแต่บอกกันและกันว่า  ง่วงก็ลุกขึ้นเดิน, ง่วงก็ไปนอนให้อิ่มแล้วมาทำใหม่ 1 แบบนี้แก้ได้ชั่วครั้งชั่วคราว (บางคนเดินยังง่วงเลย) วิธีดังว่ายังไม่ใช่แก้ที่ต้นเหตุคือที่ตัวกิเลสนิวรณ์เอง

ตัวอย่างนั้น  ผู้ปฏิบัติเองก็รู้ตัวว่าสติยังไม่แข็งแรง  คือว่าสติยังตามไม่ทันธรรมารมณ์  เมื่อสติตามไม่ทันนิวรณ์  จิตก็ถูกมันครอบงำสัปหงกหรือหลับหัวทิ่มไปเลย 
วิธีเจริญสติให้แข็งแรงมีอยู่  แต่ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักพลิกแพลงวิธี ไม่ใช่พุทโธๆๆอย่างเดียว ต้องกำหนดสภาวะนิวรณ์นั้นๆด้วย  นี่คือวิธีแก้พร้อมกับคำภาวนาใดๆก็แล้วแต่ 

> ยกตัวอย่างผู้ใช้ พอง-ยุบ  คือ พองหนอ ยุบหนอ  กำหนดนิวรณ์ตัวนั้นๆตรงๆเลย  รู้สึกง่วงวิบ  กำหนดทันทีทันควัน ง่วงหนอๆๆๆๆ กำหนดไม่ทันมันก็เสร็จมันเหมือนกัน  กำหนดทุกๆขณะที่มันเกิด (ผู้ใช้พุทโธๆ อย่างเดียว  ก็ต้องพลิกแพลงวิธีปฏิบัติตามแนวนี้)

นิวรณ์ท่านจัดเข้าในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สติปัฏฐาน ๔ ข้อ) ก็เท่ากับว่า  โยคีจะต้องกำหนดรู้กิเลสตัวนี้ด้วยทุกครั้งทุกขณะเมื่อมันเกิด เกิดปุ๊บกำหนดปับๆๆๆ   เมื่อกำหนดดูรู้ทันมันทุกขณะแล้ว (แบบนี้แสดงว่าสติแข็งแรงแล้ว)  กิเลสก็เข้าแทรกไม่ได้  เพราะสติคอยกันไว้  นี่คือหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน  

สติปัฏฐาน ๔ ข้อ  ต้องปฏิบัติไปด้วยกัน  ไม่ใช่ไปเลือกทำทีละข้อๆ  เรานั่งเจริญสติอยู่ตรงนี้ตรงโน้นตรงไหน ใช้เวลาเท่าใดก็ตาม  มันเกิดได้หมดเกิดได้ทุกข้อ  ถ้าเราไปเลือกทำทีละข้อๆ ก็ตามไม่ทันมันอีก  บางรายบอกกันว่า  ข้อนี้มันยากก็ข้ามไปก่อน  ยังไม่ต้องเอายังไม่ต้องทำว่าซั่น   


 
 


235 สมมติว่านี่ใช้เวลา ๓๐ นาที  สติปัฏฐานเกิดได้หมด  (ข้อไหนไม่เกิดก็ไม่ต้องกำหนด  ไม่ใช่มันไม่เกิดก็ไปทำให้เกิดเพื่อจะดู  เพื่อจะกำหนดเวทนา  จะดูเวทนา  เอาไฟเอาเทียนไปจี้แขนขาให้เกิดเวทนาแล้วดูเวทนา  ไม่ใช่  อย่าไปทำ)


 

  
ปัญหาที่ถาม  450

> ลองแก้หลายวิธีไม่หาย เดินจงกรมจะง่วงแต่พอหันมาทำอย่างอื่น  อย่างเข้าเว้ปลานธรรมตอนนี้  มันหายทันที  เป็นอารมณ์ที่แพ้มานานแล้ว ทำอย่างไรดี 

235 อีกรายหนึ่ง 450 เดินจงกรมนิวรณ์ก็ครอบงำ

มีปัญหากับความง่วงมาก  ปกติไม่ชอบนอนเลย  วันนึงนอน  5  ชม. แต่มักโดนนิวรณ์ตัวนี้  ขณะปฏิบัติ เช่น  เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา  และไม่สามารถผ่านไปได้   ทำให้การภาวนาไม่ดีขึ้น   ซึ่งเป็นมานานแล้วค่ะ   ลองทำตามวิธิที่พระพุทธเจ้าสอนก็ไม่รอด
กรุณา แนะนำด้วยค่ะ ไม่ทราบว่าระหว่างวันมันไปเผลอตอนไหน หรือควรระวังอะไรในการภาวนาในชีวิตประจำวันค่ะ



235 กิเลสต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงจะละได้ซึ่งมันไม่ง่ายนัก



ที่ว่า 450 

> ไม่ทราบว่าระหว่างวันมันไปเผลอตอนไหน หรือควรระวังอะไรในการภาวนาในชีวิตประจำวันค่ะ


235 บางทีผู้สอน  ประดิษฐวาทกรรมใหม่  แล้วอธิบายไม่เคลียร์ ทำให้คนผู้รับคำสอนมาปฏิบัติเข้าใจผิด.  คิดดูตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงวันนี้อายุก็มากๆกันแล้ว  กิเลสที่มันไหลเข้าทางอายตนะไปหมักดองอยู่ในจิตในใจ (อาสวะ)  เท่าไหร่  นั่นกิเลสเก่า  ส่วนกิเลสใหม่ที่ไหลเข้าทางอายตนะปัจจุบัน  คนเราก็ยังไม่เข้าใจวิธีกัน  (กันกิเลสใหม่ กำจัดกิเลสเก่า เรายังไม่รู้)  ในระหว่างใช้อายตนะแต่ละวันๆมันก็เข้าไปอีก 


235 เหตุใดสติตามทันขณะปัจจุบัน  จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ?

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=88

 


Create Date : 25 ธันวาคม 2564
Last Update : 18 ธันวาคม 2566 16:16:43 น. 0 comments
Counter : 489 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space