กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
31 กรกฏาคม 2565
space
space
space

บอกวิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง



ถาม    450

>บอกวิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง

   ช่วยบอกการนั่งสมาธิที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายหรือจะแนะนำพระอาจารย์ท่านไหนก็ได้ครับ เน้นย้ำว่าขอแบบเข้าใจง่ายนะครับ

https://pantip.com/topic/41561424

- ขั้นต้นแยกคำว่า "นั่ง"  "สมาธิ"  ออกจากกันก่อน  คือว่า นั่ง ก็นั่ง  สมาธิ ก็สมาธิ คนละส่วนกัน

235 หลักท่านว่ายังงี้

  ก. สถานที่

    เริ่มต้น ถ้าจะปฏิบัติอย่างจริงจัง  พึงหาสถานที่สงบสงัด ไม่ให้มีเสียงและอารมณ์อื่นรบกวน เพื่อให้บรรยากาศแวดล้อมช่วยเกื้อกูลแก่การปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้เริ่มใหม่ เหมือนคนหัดว่ายน้ำ ได้อาศัยอุปกรณ์ช่วยหรือเริ่มหัดในน้ำสงบ  ไม่มีคลื่นลมแรงก่อน  แต่ถ้าขัดข้องโดยเหตุจำเป็นหรือปฏิบัติเพื่อประโยชน์จำเพาะสถานการณ์  ก็จำยอม

  ข. ท่านนั่ง

  หลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตาม ที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า* และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้น

  การปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่า ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้น ก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกันว่า "ขัดสมาธิ" หรือที่พระเรียกว่า "นั่งคู้บัลลังก์"

   ตั้งกายตรง คือ ให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ มีปลายจดกัน ท่านว่านั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็เดินสะดวก เป็นท่านั่งที่มันคง เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบา ไม่รู้สึกเป็นภาระ นั่งอยู่ได้แสนนาน โดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน ช่วยให้จิตเป็นสมาธิง่ายขึ้น กัมมัฏฐานไม่ตก แต่เดินหน้าได้เรื่อย

   ตามที่สอนสืบกันมา  ยังมีเพิ่มว่า ให้ส้นเท้า เอาขาขวาทับขาซ้าย (หรือเอาขาซ้ายทับขาขวาก็ได้ไม่ห้าม) ฯลฯ รายละเอียดเหล่านี้ ขึ้นต่อดุลยภาพแห่งร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

  ผู้ที่ไม่เคยนั่งท่านี้ หากทนหัดทำได้ ก็คงดี แต่ถ้าไม่อาจทำได้ ก็อาจนั่งบนเก้าอี้ ให้ตัวตรงสบาย หรืออยู่ในอิริยาบถอื่นที่สบายพอดี

  มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็ง หรือเครียด พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อยก่อนปฏิบัติต่อไป ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน ถ้าลืมตา ก็อาจทอดลง หรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย*

 

ที่อ้างอิง * (มีสำนักหนึ่งอ้างอิง 450บ่อยๆ)

* พระอรรถกถาจารย์ถือว่า อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่หนัก  เจริญยาก ท่านถึงกับสำทับความสำคัญไว้ว่า อานาปานสติเป็นยอดในประเภทกรรมฐาน เป็นภูมิมนสิการของพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และพุทธบุตรชนิดมหาบุรุษ  เท่านั้น  ไม่ใช่การนิดหน่อย มิใช่การที่สัตว์เล็กน้อยจะสร้องเสพได้  ถ้าไม่ละที่มีเสียงอื้ออึง  ก็บำเพ็ญได้ยาก   เพราะเสียงเป็นข้าศึกแห่งฌาน  และในการมนสิการต่อๆไป  ก็จะต้องใช้สติปัญญาที่กล้าแข็งด้วย  ท่านอ้างพุทธพจน์ที่ ม.อ.14/289/196  มาสนับสนุนว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่คนที่มีสติเลอะเลือน  ไร้สัมปชัญญะ"  (วิสุทธิ.2/55,75)   อย่างไรก็ตาม  น่าสังเกตว่า  ในเมื่อท่านว่าอานาปานสติยิ่งใหญ่  ทำยากอย่างนี้   เหตุไฉนท่านจึงว่าเป็นกรรมฐานที่เหมาะแก่คนโมหจิตด้วย

อานาปานสติ เป็นกรรมฐานอย่างเดียว ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมากในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า ให้พึงนั่งอย่างนี้  (ดู กายาคตาสติสูตร ม.อุ.14/292-317/203-216 ฯลฯ )

  ส่วนกัมมัฏฐานอย่างอื่น   ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไปเพราะความเหมาะสมกัน โดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อกัมมัฏฐานใดนั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึ่งนั่งอย่างนี้ ตัวอย่างเช่น การเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่างๆนานๆ เป็นต้น เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืน หรือนอน   เป็นต้น    พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้   มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป พูดอีกอย่างหนึ่งว่า    การนั่งแบบคู้บัลลังก์นี้  เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพและการงาน ดังนั้น เมื่อจะนั่ง หรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง ท่านก็แนะนำให้นั่งท่านี้  (แม้แต่นั่งคิด นั่งพัก นั่งสนทนา นั่งทำใจ เช่น ม.ม.13/589/537 ฯลฯ)  เหมือนที่แนะนำว่า เมื่อจะนอน ก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา หรือเมื่อจะเดินอยู่ลำพัง ก็ควรเดินแบบจงกรม ดังนี้เท่านั้นเอง
 



235 เมื่อเข้าใจถูกต้องว่าการ นั่ง  กับ  สมาธิ  คนละส่วนกันแล้วว่า  นั่งเป็นรูปธรรมมองด้วยตาเห็น (เขานั่งอยู่นั่น)  ส่วนสมาธิเป็นนามธรรมมองด้วยตาไม่เห็น  (ชี้ให้ใครดูไม่ได้)  เข้าใจแล้วก็ง่าย  เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ทำการทำงาน เป็นต้น เราก็ใช้สิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นบาทฐานฝึกสมาธิได้  เช่นว่า  เขียนหนังสือ  อ่านหนังสือ  ซักผ้า รีดผ้า อาบน้ำ แปรงฟัน หยิบจับวางสิ่งของ ฯลฯ  ใช้สิ่งนั้นๆเป็นอุปกรณ์ฝึกสมาธิได้หมด

 



235 เมื่อเข้าใจอย่างว่าแล้ว  ก็เห็นโล่งหมดเห็นไปถึงการนั่งคู้บัลลังก์กำหนดอารมณ์ คือ ลมหายใจเข้า-ออก  กำหนดอารมณ์ท้องที่พอง-ที่ยุบ เช่นนั้น  การเดินคือเดินจงกรมเช่นนั้น  ทำไปเพื่ออะไร  นั่งไปเพื่ออะไร  เดินไปเพื่ออะไร  เข้าใจความมุ่งหมายของการกระทำนั้นๆ 




 


Create Date : 31 กรกฎาคม 2565
Last Update : 11 ธันวาคม 2566 11:10:15 น. 0 comments
Counter : 294 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space