 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
 |
|
|
พูดกับทำ ทำแล้วพูด พูดแต่ไม่ทำไม่เคยทำ มีที่ดูที่สังเกตอยู่เหมือนกัน
เรื่องการปฏิบัติ จะเรียกปฏิบัติกรรมฐาน, อานาปานสติ, เจริญภาวนา ภาวนาอะไรต่ออะไรที่พูดๆกันทั่วๆไป ต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติด้วยไม่ใช่พูดเฉยๆ แล้วก็ปฏิบัติอย่างถูกวิธี เรียกว่าเป็นสัมมาปฏิปทาจึงจะได้ผลที่ต้องการ หากปฏิบัติผิดไม่ถูกวิธี ที่เรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่ามิจฉาปฏิปทาแล้ว ผลก็ไม่เกิด และที่สำคัญผู้ปฏิบัติจะต้องมีกัลยาณมิตรแนะนำ
* ถาม 
- อยากรู้ว่า อานาปานสติ ที่หนังสือตำราต่าง ๆ บอกไว้ หายใจออกสั้นก็รู้ ยาว ก็รู้ จริงๆ แล้วไม่มีใครฝึกได้ใช่มั้ย ?
คนยุคนี้ไม่มีปัญญาเท่าคนสมัยพุทธกาล ต้องเป็นติเหตุบุคคล อย่างคนสมัยนี้เป็นทวิเหตุบุคคล ยังไงก็ไม่มีทางฝึกได้
อยากรู้ว่า อานาปาณสติ ที่หนังสือตำราต่าง ๆ บอกไว้ หายใจออกสั้นก็รู้ ยาว ก็รู้ จริง ๆ แล้วไม่มีใครฝึกได้ใช่มั้ย ? - Pantip
นี่ เขาปฏิบัติแล้วระบายออกจากความรู้สึก ใช้คำตอบข้างบน คำถามภาคปฏิบัติได้ทั้งนั้น
- นี่เป็นครั้งแรกของผมในเวปบอร์ดนี้ (ลานธรรมเสวนา ล่มสลายไปแล้ว) ถ้าอย่างไรขอความกรุณาด้วยนะครับ :)
>ตอนนี้ผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์ ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา
หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้
หลังจากนั้น ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก) ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔ (ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง) แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด
จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้" จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)
ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุดก็แค่ทำปิติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปิติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

หลักธรรมหมวดหนึ่งว่า ความสุข มี ๒ คือ สามิสสุข ความสุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ ๑ นิรามิสสุข สุขไม่เจืออามิส,สุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ ๑
อามิส เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ ได้แก่ กามคุณ ๕
ความสุขที่ผู้ปฏิบัติท่านนั้นเข้าถึง ได้แก่ ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นความสุขที่เป็นอิสระตรรกะหยั่งไม่ถึง ซึ่งละทุจริตละอกุศลได้
Create Date : 12 ตุลาคม 2565 |
Last Update : 15 มีนาคม 2568 15:39:32 น. |
|
0 comments
|
Counter : 380 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|