กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2567
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
18 กันยายน 2567
space
space
space

อานาปานสติตรงมติอรรถกถา


235 ประเด็นที่อ้างอิงกันบ่อยๆ 450 

ความคิดเห็นที่ 8
อานาปานสติ  ฝึกยากมากๆ ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือ คนที่ไม่เคยฝึกได้ความสงบดีๆมาก่อน

-- ในตำราบอกไว้ว่า อานาปานสติ เหมาะสำหรับคนที่เป็นคนจิตใจยิ่งใหญ่ เป็นมหาบุรุษ มีพื้นฐานกำลังใจดีมากๆ มีพลังมากๆมาก่อน

ฝึกอานาปานสติแต่คิดฟุ้งซ่าน บังคับให้หยุดคิดไม่ได้ - Pantip


235 เอาแค่ประเด็นที่มีในตำรา  นอกนั้นเป็นความเห็นส่วนตัวเชิงแนะนำ จขกท.

-  พระอรรถกถาจารย์ถือว่า อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่หนัก เจริญยาก ท่านถึงกับสำทับความสำคัญไว้ว่า  อานาปานสติเป็นยอดในประเภทกรรมฐาน  เป็นภูมิมนสิการของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรชนิดมหาบุรุษ เท่านั้น  ไม่ใช่การนิดหน่อย  มิใช่การที่สัตว์เล็กน้อยจะสร้องเสพได้   ถ้าไม่ละที่มีเสียงอื้ออึง  ก็บำเพ็ญได้ยาก  เพราะเสียงเป็นข้าศึกแห่งฌาน และในการมนสิการต่อๆไป  ก็จะต้องใช้สติปัญญาที่กล้าแข็งด้วย   ท่านอ้างพุทธพจน์ที่ ม.อุ.14/289/196  มาสนับสนุนว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่กล่าวอานาปานสติ  แก่คนที่มีสติเลอะเลือน  ไร้สัมปชัญญะ"  (ดู วิสุทธิ.2/55,75)  อย่างไรก็ตาม  น่าสังเกตว่า  ในเมื่อท่านว่าอานาปานสติยิ่งใหญ่  ทำยากอย่างนี้  เหตุไฉนท่านจึงว่าเป็นกรรมฐานที่เหมาะแก่คนโมหจริตด้วย


- พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ   (ดูไปเรื่อยๆให้ถึงวิธีนั่ง)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=31-10-2023&group=82&gblog=104



235 ให้ดูตัวอย่างผู้ใช้อานาปานสติ

- นี่เป็นครั้งแรกของผมในเวปบอร์ดนี้ ถ้าอย่างไรขอความกรุณาด้วยนะครับ :)

   ตอนนี้ผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔ (ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง) แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า  "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลกมัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้ว คิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น


- อานาปานสติ  ข้อ ๙  ในบรรดากรรมฐาน ๑๐ 


- ให้ดูตัวอย่างผู้ใช้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นกรรมฐานแล้วใช้พุทโธเป็นดังเชือก

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-04-2021&group=5&gblog=2


- เมื่อเข้าใจจุดประสงค์ของการปฏิบัติแล้วพลิกแพลงวิธีปฏิบัติได้รอบตัว

- อานาปานสติ  ก็เป็นกรรมฐานเด้อ     9

- สรุป จิตต้องฝึกมันแล้วก็ฝึกอย่างถูกวิธี   นึกไม่ออกนึกถึงการฝึกลิง  ฝึกจนเชื่องเชื่อฟังคำสั่งแล้วใช้มันขึ้นเก็บมะพร้าวได้  ช่วยงานสวนได้แล้วแต่ฝึกด้านไหนมัน ฝึกเล่นละครลิงก็ได้  



 


Create Date : 18 กันยายน 2567
Last Update : 17 มีนาคม 2568 14:58:33 น. 0 comments
Counter : 155 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space