กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2564
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
7 มิถุนายน 2564
space
space
space

ธรรมะจัดสรรค์




 235 ตัวอย่างทั้งนั้น  จะพูดว่าธรรมะจัดสรรค์ ธรรมะสร้างสรรค์ก็ได้ อ่ะน่ะ พูดแบบนี้เดี๋ยวคนเค้าก็เสียใจหรอก  คงไม่หรอกมั้ง เพราะคนคือตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันว่ามันเป็นยังงั้นไปได้ยังไง (ธรรมะในที่นี้หมายถึงกุศลธรรม)  

ตัวอย่างที่ ๑   450
 
> แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ

   แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต  ตอนแรกดิฉันคบกับแฟน    ก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน
ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญ  ทำทาน  นั่งสมาธิ และสวดมนต์   แฟนก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับ แรกๆ เมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ   เค้าตื่นมาจากสมาธิ   เค้าถามดิฉันว่า  รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไร   เวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน
เค้าถามดิฉันว่า  มันคืออะไร  ดิฉันได้แต่นั่ง  ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ 
กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ  เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน  เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ  กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า 
สวดมนต์  นั่งสมาธิ  ยิ้ม ใจเย็น และดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ   
ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือกินเหล้าอีก ความรู้สึกแบบนี้จะหายไป   เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี
ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย
มันน่าน้อยใจนัก!!

 
ตย.ที่ ๒ 
 
> ทำยังไงดีคะ   ทำไมถึงรู้สึกว่า   ตัวเองทำไมมันสกปรกจังเลย  ใจเราก็สกปรกปะปนไปด้วยกิเลสต่างๆ รู้สึกว่า ตัวเองเป็นคนบาปหนามากๆ ทั้งๆที่ก็ไม่ปรารถนาทำบาปทำชั่ว มีรักมีห่วงมีหวงมีหึง ไม่โลภไม่อยากได้ของๆใคร มีโกรธบ้าง แต่ก็ไม่แค้นหรือคิดอาฆาตใคร (โกรธแป๊บๆ) ไม่ถึงกับหลงหรือมัวเมามาก..ข้อนี้ไม่กล้าจะฟันธง แต่จะใช้สติพิจารณาเพื่อไม่ให้หลงหรือมัวเมา และก็มีพรหมวิหาร 4 อยู่กับตัว

ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้น จะรู้สึกหดหู่ใจ รู้สึกอึดอัดขัดจิตไปหมดเลยค่ะ นึกรู้ขึ้นมาทีไรแล้วรู้สึกคลื่นไส้    บางทีก็นั่งร้องไห้แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเฉยเลย   (เวลาร้องไห้ด้วยอารมณ์แบบนี้จะร้องไปคิดถึงพระพุทธเจ้าไป เพราะรู้สึกเป็นทุกข์ใจ และสับสนไม่รู้ว่าคืออะไร ? และต้องทำอย่างไร?)   อารมณ์แบบนี้  จะขึ้นมาเป็นพักๆค่ะ  ไม่ได้เกิดขึ้นตลอด  จนทำให้เกิดอาการสับสน    ทำอะไรไม่ถูก   หาทางออกให้กับอารมณ์ใจของตัวเองไม่ได้  รู้แต่โดยปกติจะนึกถึงความตายไว้กับตัวตลอด 
หลังๆจะฝึกการภาวนานึกถึงพระนิพพานอยู่บ่อยๆ เพราะภาวนานึกถึงพระนิพพานแล้วจะรู้สึกสงบเย็น   (มีบ้างอยู่บ่อยๆที่ลืมภาวนา พอนึกได้ก็จะภาวนา แต่เรื่องความตายจะนึกอยู่ตลอด แล้วก็ตั้งใจจะถือศีล 5 ตลอดชีวิตมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาน่ะค่ะ)   
ใคร่ขอคำแนะนำจากผู้รู้ค่ะ ว่าเมื่อความรู้สึกเหล่านี้เกิดจนทำให้เรารู้สึกอึดอัดไม่สบายกายไม่สบายใจไปหมด ควรทำอย่างไรดีคะ สิ่งที่เกิดนั้นคืออะไร ทำไมถึงทำให้มีความรู้สึกแบบนี้


ตย.ที่ ๓ 

> ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พองหนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมา   
กระผม คิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึกว่า  ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป  ผมพยายาม  กำหนดต่อไป
แต่คราวนี้   มันกำหนด ยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้ว เพราะเหมือนกับว่า ร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ 
ผมเลยใช้การกำหนดดูจิต  ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป จนผม เริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ ผมไม่ได้หายใจ แต่ใจผม ยังคงหยุดอยู่ที่สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึก สิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น     
ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะหนึ่งครับ  แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะเหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ    เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด คือ เหมือนร่างกายก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่า ไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้   
ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ  ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว  กลับมาอีกครั้ง   รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง    ผมค่อยๆ ถอดออกจากสมาธิ  แล้วลืมตา  ในตอนนั้น  ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกาย   ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง   เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่าร่างกายผมมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (ไม่ได้กิเลสนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น)    และผมก็เกิดความกลัวไปหมด  กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวัน  เหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลย  หลังจากคืนนั่น
ในคืนต่อ ๆ มา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน

แต่ทุก ๆ คืน จนถึงวันนี้  ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย  ที่จะทำงาน  ไม่อยากเจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่  ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเอง  วันๆอยากนั่งทำสมาธิ เพราะในช่วงที่เล่าให้ฟัง  มันมีความสุขมาก  เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย


ตย.ที่ ๔  

>ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆ ก็ไม่เป็นอะไร  พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจนเวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก  จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก
จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเอง  จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ  หายใจตอนแรกก็ยาว    ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน    คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย
ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ   จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง  ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา  ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

    1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี   ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

    2. จุดมุ่งหมายจริงๆ   คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ     

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ  พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว  เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา     เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา  ทำให้เราเข้าใจว่า  ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด   แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร  หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง   จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ   หลังสึกออกมาทุกวันนี้  เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน   แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง    ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันที เพราะเป็นคนใจร้อน 



235 มันเป็นของมันเอง  ธรรมะสร้างสรรค์  (กุศลจิต กุศลธรรมสรรค์สร้างให้เป็นไปตามวิถีของมัน  ส่วนอกุศลธรรม  ก็สร้างสรรค์ไปอีกแนวหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกัน ประเด็นนี้เห็นได้ในการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆไป) 
 
 
235 วางวิปัสสนาญาณไว้ด้วย  

 - วิปัสสนาญาณ 9 ดังนี้

     1. อุทยัพพยานุปัสสนา   หรือเรียกสั้นๆว่า  อุทยัพพยญาณ    ญาณอันตามเห็นความเกิด-ดับ  คือ   พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด  เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือ ผู้รู้ที่เกิดขึ้น  แล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้น  ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้ (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้
 
      2. ภังคานุปัสสนาญาณ  เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ  ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิด-ดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ   ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
 
     3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ  ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย  อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด  ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

     4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
 
     5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
 
     6. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
 
     7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ  ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย  จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
 
     8. สังขารุเปกขาญาณ  ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป  ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย  แต่นั้น  ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน  เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย  ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

     9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ  ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ   เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย   ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
 
      อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม สัมมสนญาณ เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10 (สงฺคห.55)



235 วางสิ่งที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ไว้ด้วย  ท่านว่าต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงจะละมันได้

     “ภิกษุทั้งหลาย     ธรรมที่พึงละด้วยกาย    มิใช่ด้วยวาจา ก็มี    ธรรมที่พึงละด้วยวาจา   มิใช่ด้วยกาย ก็มี  ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย    มิใช่ด้วยวาจา    ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้   ก็มี”  

     “ธรรมที่พึงละด้วยกาย   มิใช่ด้วยวาจา เป็นไฉน?    คือ   ภิกษุในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย    เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว    กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า   ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย    จะเป็นการดีแท้     ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละกายทุจริต   จงบำเพ็ญกายสุจริตเถิด   เธอถูกเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่    จึงละกายทุจริต    บำเพ็ญกายสุจริต   นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ละด้วยวาจา”
 
     “ธรรมที่พึงละด้วยวาจา    มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน?    คือ   ภิกษุในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา    เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว    กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า    ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา จะเป็นการดีแท้    ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละวจีทุจริต   จงบำเพ็ญวจีสุจริตเถิด   เธอถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่    จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต  นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย”

      “ธรรมที่พึงละ  มิใช่ด้วยกาย  มิใช่ด้วยวาจา  ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้  เป็นไฉน ?   คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความหลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่....พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญา    จึงละได้...”   (อง.ทสก. 24/23/41) 

 


Create Date : 07 มิถุนายน 2564
Last Update : 9 ธันวาคม 2566 21:50:52 น. 0 comments
Counter : 1084 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space