ที่สำคัญ จะต้องกำหนดรู้
เวทนานั้นๆด้วย รู้สึกเจ็บ ปวด (ทุกขเวทนา) ให้กำหนดตามสภาพของมัน รู้สึกเจ็บ ก็เจ็บหนอๆๆๆ รู้สึกปวด ก็ปวดหนอๆๆๆ ไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆโดยไม่กำหนดรู้มัน
เมื่อกำหนดรู้มันตามสภาพแล้ว ก็กำหนดรู้ลมเข้า-ลมออกไปใหม่ (สำหรับผู้ใช้กรรมฐานคือลมเข้า-ออก) ผู้ใช้พอง-ยุบ ก็กำหนดพอง ยุบไปใหม่ พูดสั้นๆคือ พอง ยุบ ลมเข้า ลมออก เป็นอารมณ์หลัก อย่างอื่นที่กระทบความรู้สึกเป็นอารมณ์รอง กำหนดตอนที่รู้สึกเท่านั้น
มีประเด็นสำคัญอีก ก็คือว่า เราจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ปฏิบัติกรรมฐาน อะไรสุดแล้วแต่ ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อ
ค้นหาความสุขความสบาย ไม่ใช่

แต่ปฏิบัติเพื่อให้รู้จัก
ชีวิต (
รูปนาม) ตามความเป็นจริง ม้นจะ
สุข (สุขเวทนา) จะ
ทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็เรื่องของรูปของนามมัน
หน้าที่ของเราคือรู้ตามที่มันเป็น สุขก็ไม่ติด (เรื่องของมัน)
ทุกข์ก็ไม่เลี่ยงหนี (เรื่องของมัน) แต่รู้ตามที่มันเป็น
หลักคือ
กาย เวทนา จิต ธรรม (= รูปนาม = ชีวิต) ผู้ปฏิบัติพึงกำหนดรู้ตามที่มันเป็น (ปริญญากิจ) อะไรเกิดรู้สึก กำหนดรู้ทันที ไม่เกิดก็ไม่ต้อง
ค้นหามัน


ภาพภาคปฏิบัติ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=01-06-2023&group=46&gblog=64
แม่สุจิน ถาม
ลองคิดถึงภาวะที่สภาพธรรมปรากฏที่ละหนึ่ง จะเป็นอย่างไร มีใครคิดออกบ้าง คาดคะเนได้มั้ยว่าจะเป็นยังไง - Pantip ใช้คำถาม จขกท. นั้นตอบได้เบย

ไม่ต้องคาดคะเนคาดเดาให้ฟุ้งซ่าน เช่น
-
เริ่มหลับตานั่งขัดสมาธิไปได้ไม่ถึง 5 นาทีจะมีอาการเหน็บชาทุกครั้ง-
เพราะปวดมากๆในทุกๆครั้งจึงไม่สามารถนั่งสมาธิได้เกิน 5 นาทีเลย
เขาเป็นเหน็บรู้ไหม รู้ เขารู้ ปวดมากๆเขารู้ไหม รู้

ไม่ต้องไปหาธรรมะที่ไหนดอก มันเกิดตามปกติของมันอยู่แล้ว แต่เกิดแล้วเราเองนั่นแหละคิดว่าไม่ใช่ธรรมะ คิดว่าไม่ใช่ธรรมะแล้วไงต่อ ก็ค้นหาธรรมะกันสิ นั่นใช่ธรรมะไหม ใช่ ไม่ใช่ หมดทั้งเนื้อทั้งตัวมันธรรมะทั้งนั้น (รูปนาม)