กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
2 กันยายน 2564
space
space
space

ตกหลุมความคิด




235  คนดีก็ทุกข์แบบคนดี   คนชั่วคนไม่ดีก็ทุกข์แบบคนชั่วคนไม่ดี  สรุปมนุษย์มีทุกข์นอนเนื่องอยู่เป็นพื้นใจ


> หมดไฟในการปฏิบัติธรรมมากๆ ทำยังไงให้มีไฟกลับมาปฏิบัติอีกครั้งดีคะ

   เคยปรึกษากับรุ่นพี่คนนึงซึ่ง จขกท. สนิทมาก  พี่เขาก็บอกนะคะว่าใจล้วนๆ เราฟังเราก็รู้ความหมายมันนะ  แต่พอเอาเข้าจริงๆจะกลับมาปฏิบัติมันยากมากเลยอ่ะค่ะ พอพูดถึงสวดมนต์ใจอยากไป   แต่ตัวไม่เอาซะงั้น ขก. บ้าง  อะไรบ้าง รู้สึกว่าแบบ  เราทำไปทำไม ?  แต่ใจเราอ่ะมันรู้นะว่า ลึกๆแล้วเราขาดธรรมะไม่ได้  เหมือนเป็นส่วนนึงในชีวิตไปแล้ว

เต็มๆที่

https://pantip.com/topic/40950182


235 อ่านหลักนี่ก่อน   450

- มรรค ในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้  มิใช่สำหรับยึดถือ หรือ แบกโก้ไว้

   "ภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพาน สำหรับข้ามไปฝั่งโน้น ก็ไม่มี บุรุษนั้นพึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง ...ถ้ากระไร   เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี"

  "คราวนั้น   เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี   ครั้นเขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้  มีอุปการะแก่เรามากแท้   เราอาศัยแพนี้...ถ้ากระไร  เราพึงยกแพนี้ขึ้นเทินบนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้   ไปตามความปรารถนา"

  "ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นเช่นไร ?   บุรุษนั้น   ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่?"

  ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า

  "บุรุษนั้นทำอย่างไร   จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ?  ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า   แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้... ถ้ากระไร   เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ    แล้วจึงไปตามปรารถนา    บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้   จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด"

  "ธรรมก็มีอุปมาเหมือนแพ    เราแสดงไว้   เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย   รู้ทั่วถึงธรรม  อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า"  (ม.มู.12/280/270)

  "ภิกษุทั้งหลาย  ทิฏฐิ (หลักการ  ความเข้าใจธรรม)   ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้  ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย   ยังยึดติดอยู่   เริงใจกระหยิ่มอยู่   เฝ้าถนอมอยู่  ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่   เธอทั้งหลาย   จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม   ที่เราแสดงแล้ว  เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป  มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ"  (ม.มู.12/445/479)



235 พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้   นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย  (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว   ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ   เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย   มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว

   ด้วยเหตุนี้    เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง   จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น

   วัตถุประสงค์ในที่นี้   มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้  เป็นต้น

   เหมือนการเดินทางไกลที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุมๆ เพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้ เป็นต้น *

   การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย

  เพราะการปฏิบัติอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้   ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น


* พระสูตรที่ช่วยเน้นข้อความที่กล่าวมานี้ ได้แก่ รถวินีตสูตร ม.มู.12/292-300/287-297   ซึ่งแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ทั่วไป   และวัตถุประสงค์เฉพาะของธรรมแต่ละอย่าง ตามลำดับวิสุทธิ ๗



235 พุทธพจน์ข้างบน  เป็นจุดหมายขั้นสูงสุดแล้ว  ไม่มียิ่งไปกว่านั้นแล้ว   แต่ก็อย่างว่า  เราๆท่านๆ อยู่ในขั้นในระดับที่กำลังเดินทาง ติดบ้าง ท้อบ้าง สู้บ้าง  

   สำหรับ จขกท. ยังอยู่ในวัยรุ่นวัยเรียน   ก็ให้เรียนไปด้วย  เรียนก็คือการปฏิบัติธรรม  ทำงานอื่นๆไปด้วย (ตามอาชีพที่บ้าน   ทำงานก็เรียกว่าการปฏิบัติธรรม)  เพื่อไม่ให้จิตใจติดหล่มตกหลุมความคิดนี่นั่นข้างเดียว  พึงมองธรรมะให้รอบด้าน  มองความหมายธรรมะให้กว้างสุด

คนรักธรรมต้องคู่กับรู้จักธรรม   https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=21-05-2021&group=6&gblog=25  รักอย่างเดียวไม่พอ รักข้างเดียวก็หลงได้  เพราะเหตุนั้นต้องรู้จักรู้ใจเขาด้วย    107

https://www.facebook.com/imfromandromed/posts/404036921080694







 




 

Create Date : 02 กันยายน 2564
0 comments
Last Update : 10 ธันวาคม 2566 12:35:52 น.
Counter : 804 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space