กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
21 พฤศจิกายน 2567
space
space
space

วิธีปฏิบัติ ๔ อย่าง



     วิธีปฏิบัติอย่าง ๔ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้ในบาลี คือ

        ๑. สมถปุพพังคมวิปัสสนา  วิปัสสนามีสมถะนำหน้า  (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)

        ๒. วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ  สมถะมีวิปัสสนานำหน้า  (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)

        ๓. ยุคนัทธสมถวิปัสสนา   สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน  (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)

        ๔. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส   วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธัมมุทธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรมหรือตื่นธรรม    (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)


     วิธีทั้ง ๔ นี้  สรุปจากมรรค ๔ แบบ ซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ๔ อย่าง ดังที่พระอานนท์ได้แสดงไว้  ดังนี้

        “อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปหนึ่งรูปใดก็ตาม จะพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของข้าพเจ้า ก็ย่อม (พยากรณ์) ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่ง บรรดามรรค ๔ เหล่านี้ กล่าวคือ:

           “๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า, เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น  สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้  อนุสัยทั้งหลาย  ย่อมสิ้นไป

           “๒. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า, เมื่อเธอเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป

           “๓. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน, เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป

           “๔. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์, (แต่ครั้น) ถึงคราวเหมาะที่จิตนั้นตั้งแน่ว สงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป”

        ข้อที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า  คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์  อธิบายความหมายว่า (เบื้องแรก) จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว  ไม่ซ่านส่าย  มีสมาธิเกิดขึ้น  ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ก็ดี  ด้วยอำนาจพยาบาท  อาโลกสัญญา อวิกเขปะ  ธรรมววัตถาน  ญาณ ปราโมทย์ ก็ดี  ด้วยอำนาจปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน  ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ดี  ด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ดี หรือ วิธีปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับ อานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี  ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม  (ครั้นแล้ว)  เกิดปัญญามองเห็นแจ้ง ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วในสมาธินั้นๆ  ว่าเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา อย่างนี้เรียกว่า  สมถะมาก่อน วิปัสสนามาหลัง  คือเป็น สมถปุพพังคมวิปัสสนา

     อรรถกถาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกว่า  ตามวิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ นี้ ผู้ปฏิบัติทำสมถะคือสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน  จะเป็นอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิก็ได้  จากนั้นจึงพิจารณาสมถะหรือสมาธินั้น  (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิ หรือฌานสมาบัติชั้นใดก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่นๆ  ทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้น  ให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง  เป็นต้น  จนอริยมรรคเกิดขึ้น

        ข้อที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า  คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์  อธิบายความหมายว่า (เบื้องแรก) วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา (ครั้นแล้ว) จิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฏในวิปัสสนานั้น และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเองเป็นอารมณ์  จิตจึงมีภาวะอารมณ์หนึ่งเดียว  ปราศจากความซัดส่าย  มีสมาธิ  อย่างนี้เรียกว่า  วิปัสสนามาก่อน  สมถะมาหลัง คือเป็น วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ

     ขยายความตามอรรถกถาว่า  ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย  แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น อันนับว่าเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี  จิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว (= เป็นสมาธิ) ขึ้น โดยมีความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์  อันนับว่าเป็นสมถะ  เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้  อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน


     อย่างไรก็ตาม   อรรถกถาสรุปว่า  ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม  เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคนั่นเอง วิปัสสนา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกปปะ สมถะ ได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก ๖ ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ

        ข้อ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน  คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์  อธิบายความหมายว่า ผู้ปฏิบัติเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปโดยอาการ ๑๖ เช่น โดยอรรถแห่งอารมณ์ เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ก็เกิดสมาธิ กล่าวคือภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่พล่านส่าย ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ (พร้อมกันนั้น) เมื่อละอวิชชา ก็เกิดวิปัสสนา คือการตามดูรู้เห็นแจ้ง ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่าทั้งสมถะและวิปัสสนามีกิจเดียวกัน เป็นควบคู่กัน ไม่เกินกัน โดยอรรถแห่งอารมณ์

     สำหรับข้อที่ ๓ นี้ อรรถกถาทำคำอธิบายเป็นรูปแบบมากขึ้น โดยบรรยายว่า การเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน มิใช่หมายความว่าทำทั้งสองอย่างพร้อมกันทีเดียว เพราะเราไม่สามารถพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกันกับที่เข้าสมาบัติ คำว่า เจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน หมายความว่า เข้าสมาบัติถึงไหน ก็พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น กล่าวคือ เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ครั้นพิจารณาสังขารแล้ว ก็เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว พิจารณาสังขารอีก ครั้นพิจารณาแล้ว เข้าตติยฌาน ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับ จนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ก็พิจารณาสังขารอีก อย่างนี้เรียกว่า เจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กันไป ตัวอย่างสำคัญที่ท่านกล่าวถึงคือ พระสารีบุตร ซึ่งได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันมา ตั้งแต่ปฐมฌานจนตลอดบรรลุมรรคผล

        ข้อที่ ๔ ทางออก หรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุธัจจ์  คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า  เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์  เกิดมีโอภาส  ญาณ  ปีติ  ปัสสัทธิ  สุข  อธิโมกข์  ปัคคาหะ  อุปัฏฐาน  อุเบกขา หรือนิกันติ ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง  ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส  เป็นต้น นั้น ว่าเป็นธรรม  (คือเข้าใจว่าเป็นมรรคผลหรือนิพพาน)  เพราะการนึกไปเช่นนั้น  ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ  ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว  ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่  โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง  โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้น จึงเรียกว่า มีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน  เด่นชัด  เป็นสมาธิ  มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้

     วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา  รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้  เมื่อรู้เท่าทันแล้ว  ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป  จิตก็จะไม่หวั่นไหว  จะบริสุทธิ์  ไม่หมองมัว  จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย


     คัมภีร์ชั้นอรรถกถา  เรียกธรรมุธัจจ์ นี้ว่า วิปัสสนูปกิเลส  คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ อย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่ผู้ได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ  (ตรุณวิปัสสนา)

     ภาวะทั้ง ๑๐ นี้ เป็นสิ่งน่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็เป็นอันคลาดออกนอกวิปัสสนาวิถี คือ พลาดทางวิปัสสนา แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

     วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือให้รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้ ญาณ นี้ ฯลฯ หรือ นิกันติ นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม  จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา  ดังนี้ เป็นต้น  จนมองเห็นว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวไปกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น  เป็นอันสางอุปกิเลสเสียได้  ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคาที่ถูกต้องต่อไป จนบรรลุมรรคผล

     บรรดาวิธีทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ ถ้าถือตามแนวอธิบายของอรรถกถาแล้ว ก็จัดได้ว่ามีวิธีที่เป็นหลักใหญ่เพียง ๒ อย่าง คือ วิธีที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า และวิธีที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า ส่วนสองวิธีหลังเป็นเพียงวิธีการที่แทรกซ้อนเข้ามาในระหว่างการปฏิบัติ หรือเป็นส่วนเสริมขยายออกไปจากสองวิธีแรก กล่าวคือ วิธีที่ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน จัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติส่วนที่ซับซ้อน ซึ่งซอยหรือขยายออกไปจากวิธีที่ ๑ นั่นเอง ส่วนวิธีที่ ๔ ทางออกเมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติที่แทรกเข้ามาในระหว่าง ในเมื่อปฏิบัติตามวิธีการข้อต้นๆ ไปบ้างแล้ว จนถึงขั้นตอนหนึ่งที่เกิดปัญหาจำเพาะอย่างนี้ขึ้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติพิเศษเฉพาะกรณี หรือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง สำหรับใช้แก้ปัญหาบางอย่างในระหว่างการปฏิบัติธรรม

     วิธีใหญ่ ๒ อย่างนี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นต้นแบบ หรือเป็นที่มาของวิธีบำเพ็ญกรรมฐาน ๒ อย่าง ที่มีชื่อเรียกในรุ่นอรรถกถา คือ สมถยาน ของพระสมถยานิก อย่างหนึ่ง และวิปัสสนายาน ของพระวิปัสสนายานิก หรือ สุทธวิปัสสนายานิก อย่างหนึ่ง

     สมถยานิก  แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้บำเพ็ญสมถะก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาทีหลัง ตามความหมายอย่างกว้าง สมถะที่บำเพ็ญก่อนนั้น อาจได้เพียงอุปจารสมาธิ หรือก้าวไปถึงอัปปนาสมาธิได้ฌานสมาบัติ ก็ได้ แต่อรรถกถานิยมใช้ในความหมายที่จำกัดหรือจำเพาะกว่านั้น คือ มุ่งเอาเฉพาะผู้ได้ฌานสมาบัติแล้ว ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า วิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ที่นำมาอ้างไว้ในตอนต้น (เกี่ยวกับการบรรลุอาสวักขัยอาศัยปฐมฌาน ก็ได้ ทุติยฌานก็ได้ ฯลฯ) เป็นปฏิปทาของพระสมถยานิก

     วิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน เรียกเต็มเพื่อย้ำความหมายให้หนักแน่นว่า สุทธวิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ เป็นยาน หมายถึง ผู้ที่เริ่มปฏิบัติด้วยเจริญวิปัสสนาทีเดียว โดยไม่เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใดๆ มาก่อนเลย แต่เมื่อเจริญวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกทางแล้ว จิตก็จะสงบขึ้น เกิดมีสมาธิตามมาเอง

     ในตอนแรก สมาธิที่เกิดขึ้น  อาจเป็นเพียงขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะ ซึ่งเป็นสมาธิอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้วิปัสสนาดำเนินต่อไปได้ ดังที่ท่านกล่าวว่า “ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไม่ได้”

     (แม้ผู้ได้ขณิกสมาธิอยู่แล้ว มาปฏิบัติวิปัสสนา ก็เรียกว่าวิปัสสนายานิกอยู่นั่นเอง เพราะตามปกติ ในชีวิตประจำวัน คนทั่วๆ ไป ย่อมได้ขณิกสมาธิกันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย ในโอกาสที่จิตใจสงบหรือแน่วแน่ด้วยการงานหรือเหตุแวดล้อมบางอย่าง ดังนั้น แม้จะเคยได้ขณิกสมาธิมาแล้วด้วยเหตุอำนวยต่างๆ เช่น พื้นจิตดี เป็นต้น ก็ถือว่ารวมอยู่ในจำพวกผู้ไม่เคยฝึกเจริญสมาธิมาก่อนเหมือนกัน)

     เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆ ไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือสมาธิจวนจะถึงฌาน) ก็ได้ จนในที่สุด เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปนาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ หรือรูปฌานที่ ๑) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสอง ทั่วกันทุกบุคคล

135

- เนกขัมมะ   ความคิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม

อพยาบาท  คิดเมตตา

อาโลกสัญญา  ทำใจนึกถึงแสงสว่าง ไม่ให้ง่วงเหงา

อวิกเขปะ  ความไม่ฟุ้งซ่าน ปราศจากอุทธัจจะ

ธรรมววัตถาน   การกำหนดข้อธรรมซึ่งทำให้ไม่มีวิจิกิจฉา

ญาณ   ความรู้

- ปราโมทย์  ความแช่มชื่นใจ
 




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2567
1 comments
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2567 17:57:43 น.
Counter : 121 Pageviews.

 

แวะมาทักทาย เป็นกำลังใจให้เสมอนะจ้า ร้อยไหมจมูก ดีท็อกลำไส้ Linear Z ยกกระชับ ยกมุมปาก EIS BIO SCAN Morpheus Morpheus8 ยกกระชับ ICELAB ลดร่องแก้ม Harmonyca ฟิลเลอร์ ดูดไขมัน P-SHOT สมรรถภาพทางเพศ ฉีดฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องชาย Ultherapy Prime Profhilo ฉีดฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์น้องสาว เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ขมับ เลเซอร์บิกินี่ Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Ultraformer III Ultraforme Ultraformer MPT Ultraformer ฉีดโบลดกราม โบลดกราม Radiesse ร้อยไหม เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน บราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์ขน ฟิลเลอร์หน้าผาก O-Shot Aviclear Aviclear Laser IV DRIP ดริปวิตามิน ฉีดโบรักแร้ โบรักแร้ ปลูกผม LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผม ผมบาง ปลูกผมเทคนิคแขนกล รักษาผมร่วง ผมร่วง Hair Restart ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ยกกระชับ Ulthera อัลเทอร่า Thermage Thermage FLX ฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ปาก โบลดริ้วรอย ฉีดโบลดริ้วรอย สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Coolsculpting Sculptra ฟิลเลอร์ ปลูกผม ปลูกผม FUE Pico Pico Majesty Pico Majesty Laser ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม Radiesse ฟิลเลอร์ โบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย Oligio เลเซอร์ขน วีเนียร์ AviClear Laser AviClear เลเซอร์รักษาสิว ปลูกผมเทคนิคแขนกล ปลูกผม เลเซอร์รักษาสิว Accure Laser Accure เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา Emface Skinvive Oligio เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน กำจัดขน ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ Reepot Laser Reepot Sculptra Hifu ยกกระชับ ยกกระชับหน้า Ulthera ยกกระชับ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Apex ให้ใจ สุขภาพ

 

โดย: น้องเมย์น่ารัก 21 พฤศจิกายน 2567 16:00:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space