เมื่อสูติแพทย์ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย - มลรัฐนิวยอร์ก
จขบ.ไม่ใช่นักกฎหมาย เรื่องที่เล่าเป็นประสบการณ์ที่จขบ.ประสบมา ที่ต้องไปขีันศาลกับสูติแพทย์ที่ถูกฟ้องค่าเสียหาย อาจจะยาวหน่อย เป็นขั้นตอนที่ต้องไป เพื่อน้องๆพยาบาลที่มาทำงานอเมริกาทราบไว้ค่ะ ที่สำคัญคือต้องเขียน บันทึกการดูแลทุกขั้นตอนเวลามีการขีันศาลจะได้มีหล้กฐาน เราจะบอกว่าทำโน้นทำนี่ แต่ไม่ได้บันทึกไว้ เขาก็ถือว่าไม่ทำ เพราะฉนั้นพยาบาลทุกท่านต้องเขียนรายงานการพยาบาลอย่างละเอียด เพราะไม่รู้หรอกว่าเคส (case ) ไหนจะฟ้อง ก็ควรทำให้เป็นนิสัยไปเลย และก็เป็นความจริง ที่อเมริกากรมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาลสูงมาก มีทนายที่พร้อมจะช่วยฟ้องแล้วไม่คิดเงินจนกว่าจะชนะอีกด้วย
เวลาไปให้การ(Deposition)กับทนาย ที่สำนักงานทนายฝ่ายฟ้อง ในห้องจะมีทนายของรพ.พยาบาล หรือแพทย์ จะไปคนละครั้ง ทนายฝ่ายฟ้อง และพนักงานจดคำให้การ เรียกว่า - deposition

สูติแพทย์ที่อเมริกา เป็นสาขาที่ต้องจ่ายประกันทุจริตต่อหน้าที่ ( malpractice insurance) สูงมาก ทุจริตต่อหน้าที่? หมายความว่าถ้ามีการสงสัยว่าแพทย์ไม่ได้ดูแลแม่และเด็กให้ปลอดภัย เกิดจากการผิดพลาดของแพทย์ ในกรณีต่างๆ อัตราเบีัยประกันปี 2009 ราคาปีละ 130,000-140,000 เหรียญต่อปี สูติแพทย์ต้องทำงานหนักกว่าสาขาอื่นๆ ต้องรับผิดชอบชีวิตแม่และเด็กในครรภ์ ถ้าเด็กคลอดมาไม่ปลอดภัย แม่ไม่ปลอดภัย ก็จะมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
กฎหมายที่นิวยอร์ก สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ถึงสิบปี ทำให้สูติแพทย์ มีน้อยลง บางรัฐจะไม่มีสูติแพทย์เลย เป็นแพทย์ทั่วไป ทำหน้าที่ทำคลอด เพราะค่าเบีัยประกันสูงมาก ก็ไม่มีแพทย์อยากทำทางสูติแพทย์ที่รัฐนอกๆเมือง
เมื่อสูติแพทย์ถูกฟ้อง ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องไปให้การกับศาลด้วย นั้นหมายถึงพยาบาลที่ดูแลคนไขัทุกท่าน ที่ผลัดเวรกันดูแลคนไข้ที่เกี่ยวข้อง ก็จะต้องไปให้การในศาล เป็นเหตุการที่ตึงเครียดมาก ไม่มีใครอยากจะพบปัญหานี้ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่จขบ.ทำงานในห้องคลอด ต้องมีเหตุการณ์ที่คนไข้ฟ้องสูติแพทย์และ จขบ.ต้องไปให้การสามราย อีกสองรายตกลงกันได้ แม้แต่ขณะนี้ จขบ.เกษียณแล้ว ก็ยังมีหนี่งรายกำลังฟ้องอยู่และทนายของรพ.ติดต่อจขบ.ว่า ถ้าต้องการจะมาเชิญไปเป็นพยานด้วย จขบ.ถามว่าไม่ไปได้ไหม ทนายบอกว่า ไม่ไปได้ แต่ทางทนายก็มีสิทธิส่งหมายศาลมาได้ ถ้าต้องการจริงๆ
การดูแลคนไข้สูติกรรมมีขั้นตอนมากมาย ที่จะทำให้คนไข้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ ถ้าหากพยาบาลไม่เขียนรายงานให้ถี่ถ้วน เมื่อเวลาต้องไปให้การ ทนายก็จะถามตามที่เราเขียนรายงาน ไม่เขียนก็แสดงว่าไม่ได้ทำ เช่นคนไข้ ได้รับยาแก้ปวด อาจจะทำให้คลื่นหัวใจเด็กลดลง หรือเวลาเบ่งคลื่นหัวใจเด็กลดลง จากกระดาษรายงานมอนิเตอร์(monitor strip )เดียวนี้เป็นการบันทีกด้วยคอมพิวเต้อร์หมด จากสาเหตุหลายประการ พยาบาลและแพทย์ ต้องเขียนให้เด่นชัดว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ นั้นแล้ว ได้ทำอะไรเพื่อให้สถานะการณ์ดีขีันหรือเปล่า เช่นต้องเปลี่ยนท่านอนของคนไข้ ให้ออกซิเจน ให้น้ำเกลือมากขีัน แพทย์มาที่เตียงคนไข้ ถ้าเกิดเด็กคลอดมาแล้วมีปัญหา คนไข้ฟ้องว่า เป็นความผิดของทางรพ. ทนายของรพ.ก็จะมาอ่านที่ประวัติว่าเกิดอะไรขี้น และมีการแก้ไขอะไรหรือเปล่า เพราะการทีคนไข้ ฟ้อง ไม่ใช่จะชนะทุกราย บางรายคนฟ้องก็ไม่ชนะ
แต่การฟ้องรพ.เป็นสิ่งทีแพร่หลายสำหรับคนไข้เมืองนี้ ทนายเองก็ประกาศทั่วไปเลยว่า ถ้าคิดว่าทางรพ.ทำอะไรผิดเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มาคุยแล้วเขาดูว่าสามารถฟ้องได้หรือเปล่า ถ้ามีเหตุผลพอที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหาย ทนายก็จะดำเนินการให้ โดยที่ผู้ฟ้องยังไม่ต้องจ่ายเงินเลย จนกว่าจะชนะ ถ้าแพ้ก็ไม่ต้องจ่าย แต่เป็นการส่วนแบ่งของรายได้ที่จะได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย เพราะฉนั้น จะมีการฟ้องกันมากมาย
จขบ.จะเล่าเป็นขั้นตอนนะคะ เมื่อทางรพ.ทราบว่าคนไข้ฟ้อง ทนายของรพ.จะบอกมากทางแผนก risk management ของรพ. ทางแผนก risk management ก็จะเอาประว้ติคนไข้มาอ่านแล้วดูว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง และดูว่าการเขียนรายงานครบ ถูกต้องกับการรักษาพยาบาลหรือเปล่า แล้วก็เชิญพยาบาลแต่ละท่านไปพบ เพื่อทบทวนเหตุการ์ณนั้นๆ และดูว่าเขียนครบทีควรจะต้องทำหรือเปล่า จากนั้นทนายของรพ.ก็จะเชิญไปพบ ดูการเขียนรายงานของเราอีก และเน้นจุดสำคัญว่า อาจจะถูกทนายฝ่ายฟ้องถาม ก็ให้ตอบตามที่เราเขียนและไม่ตอบเกินจากนั้น ถ้าถามแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามทนายให้แน่ใจก่อนที่จะตอบ เรียกว่าเตรียมต้วเราไปนั้นเอง
เราดูว่าเร็ว แต่ไม่เร็วเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเดือน พอเรารู้ว่าเคสเราถูกฟ้อง ก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับเป็นเดือนแหละ ทั้งๆที่ไม่ได้ทำผิด แต่ก็เครียด กลัวไปหมด กลัวตอบคำถามไม่ได้ กลัวตอบไม่ตรงจุด สารพัด อย่างกับจะถูกจับไปติดคุก และทนายฝ่ายฟ้องเวลาถามเราก็ดุด้วย ยิ่งทำให้ใจไม่ดีใหญ่
ทรมานมาก และแถมเขาก็ห้ามพูดกับใครเรืองนี้ และที่สำคัญไม่ให้พูดกับแพทย์ที่ทำเคสนี้ด้วย ถ้าแพทย์โทรมาให้ไปบอกทนาย ห้ามพูดเด็ดขาด
พอทนายรพ.คุยกับเราแล้ว ก็หายไปเป็นเดือน กว่าจะได้หมายศาลว่าเราต้องไปวันนั้นๆ เวลาอะไร ที่ไหน ก่อนสองสามว้นเราก็ไดพบทนายของรพ.อีกครั้งเพื่อเป็นการทบทวนที่เราเขียนและเตรียมตัวตอบ และทนายของรพ.ก็ให้กำลังใจเราว่าไม่ต้องกลัว เขาจะไปด้วย ก็ตอบไปตามความจริงทีเราเขียน ไม่ต้องห่วงว่าจะเรื่องจะเป็นอย่างไร
ถึงวันก็ไปเขาเรียกว่า Deposition ไม่ทราบว่าแปลไทยตรงๆว่าอย่างไร แต่ก็เป็นการไปให้การ ก้บทนายฝ่ายฟ้อง และทนายของแพทย์ ทนายของรพ.จะไปพบกันที่ ที่ทำงานของทนายฝ่ายฟ้อง และมีพนักงานจดรายงานที่เกิดขีันในห้องนั้น การถามและตอบ
จขบ.ไปสามครั้ง ครั้งแรกกล้วมาก ต้วเย็นไปหมด ถึงแม้จะมีทนายของรพ.ไปด้วย แต่ก็นั่งตรงข้ามเรา ทนายฝ่ายฟ้องจะนั่งห้วโต๊ะ และข้างๆเราจะเป็นทนายของแพทย์ที่ถูกฟ้อง เขาต้องมาฟ้งว่าเรารายงานอย่างไร จะได้ไปเตรียมแพทย์เวลาพบทนายฝ่ายฟ้อง แต่แพทย์อาจจะมาก่อนแล้ว จะได้ฟังว่าเราพูดตรงกันหรือเปล่า
ขั้นตอนแรก เราก็มีการสาบานว่าจะพูดเรื่องจริง และ ทนายก็จะให้เราบอกว่าเราเรียนที่ไหน จบอะไร มีการเรียนเพิ่มเติมอะไรหรือเปล่าขณะทำงาน เช่นไปสัมมนาเกี่ยวกับการดูแลคนไข้ ที่ทันกับเทคโนโลยีสมั้ยใหม่ และก็ต้องบอกที่อยู่ของเรา จากนั้นทนายก็จะเอาประวัติคนไข้มาถามส่วนที่เราเกียวข้อง เช่นถามว่าว้นนั้นในห้องผ่าตัดมีใครในห้องผ่าตัดบ้าง แพทย์ทำอะไร แพทย์ดมยาทำอะไรมีอะไรผิดปกติไปจากที่เคยทำไหม จะมีการซักถามหลายช้วโมง ถ้าทนายทางรพ.เห็นเราจะไม่ไหว ก็บอกขอไปเข้าห้องน้ำ แล้วทนายก็มาพบเราก็จะบอกว่าเวลาตอบต้องตอบอย่างไร จับจุดคนถามต่างๆ กว่าว้นนั้นจะเสร็จ เราก็งอม
ย้งไม่เสร็จน้า จากนั้นเป็นเดือน ทนายก็จะส่งมาเป็นเล่มใหญ่เลย เป็นการรายงานว่าวันนั้นเราตอบคำถามต่างๆอย่างไร และเรายังคิดว่าตอบเช่นนั้นหรือเปล่า มีส่วนไหนทีเราอยากให้แก้ไขบ้าง เราก็แก้ส่วนทีเห็นว่าเขาพิมพ์ไม่ตรงที่เราตอบ แล้วก็เซ็นต์รับและส่งกลับไปให้ทนายฝ่ายฟ้องที่ส่งมา
จากนั้นก็รอ ฟังผล อาจจะโชคดี เรืองจบลงเอย เขาตกลงกันได้ก็จบ ถ้าตกลงไม่ได้ก็ต้องไปต่ออีกขั้นหนี่ง ส่วนมากก็จข จขบ.ไปสามเคส ก็จบแค่นี้ไม่ต้องไปขีันศาลสูงต่อ คงตกลงกันได้
เรืองที่ถูกฟ้องก็คือแม่มารพ.สามีอุ้มมาเลย คนไข้ท้องไม่ค่อยรู้ต้วนัก ไม่เคยมาฝากครรภ์ พอเอาขีันเตียง วัดความดันก็สูงมาก 240/190 แพทย์ พยาบาลมากันเต็มห้องเตรียมช่วยดูแลเต็มที่ มีการเจาะเลือด ให้น้ำเกลือ แพทย์ดมยาก็ซักประวัติกับสามี คนไข้ก็พอรู้ต้วลุกเปลียนเสื้อผ้าของรพ.ได้ ทางสุติแพทย์ก็ลงความเห็นว่าต้องดูแล ความดันให้อยู่ในระดับทีวิสัญญีแพทย์พอใจ แล้วจึงจะผ่าต้ดเอาเด็กออก ก็เป็นเวลาไม่นาน คนไข้ก็เข้าห้องผ่าต้ด คลอดลูกที่แข็งแรง
ส่วนแม่ไม่ฟื้นจากการผ่าตัดต้องไปอยุ่ทีไอ ซี ยู จากนั้นก็ได้ข่าวว่าแม่เสีย พ่อมาเยี่ยมลูกทุกว้น และก็รับลูกกลับบ้าน พวกเราไม่ได้ข่าวเลย จนเก้าปีต่อมาถึงจะได้ข่าวว่ารพ.ถูกฟ้อง จขบ.และพยาบาลหลายท่านก็ถูก เชิญไปพบทนายฝ่ายฟ้องให้การกับเหตุการ์ณวันนั้น ใครจะจำได้จริงไหม เกือบสิบปี เขาถึงเชื่อจากที่เราเขียนรายงานในประวัติคนไข้ เราเองก็ต้องไปอ่านว่าเราเขียนว่าอะไร เราทำอะไรบ้าง เพราะฉนั้นไม่เขียนก็แปลว่าไม่ได้ทำ การเขียนรายงานอย่างละเอียดจึงสำคัญมาก
monitor คลื่นห้วใจเด็กตลอดเวลาจนคลอด เป็นการดีที่ทำให้รู้ว่าเด็กในท้องเป็นอย่างไร และมีผลกระทบอย่างไร เวลาคุณแม่ได้ยาแก้ปวด หรือตอนเบ่ง และท่าที่คุณแม่นอน ก็มีผล พยาบาลทีดูแลคนไข้ ต้องมีความรู้ในการ fetal monitor strip ให้ออกซิเจน ให้น้ำเกลือ รายงานแพทย์ เมือเห็นสมควร การเขียนรายงานจึงสำคัญมาก

ในห้องผ่าต้ดก็ต้องเขียนรายงานที่ครบตามระเบียบของแต่ละโรงพยาบาล มีการนับเครื่องมือและผ้าทีใชัในการผ่าตัด ให้ครบทุกครั้ง


เรื่องที่จขบ.ต้องไปให้การอีกสีเรืองก็เกียวกับเด็ก เล่าแค่คร่าวๆก็แล้วกัน อีกเรื่องแพทย์ถูกฟ้องเพราะเด็กกลับบ้านแล้ว โตประมาณห้าขวบ เด็กคงเจริญเติบโตช้า พ่อแม่ก็ฟ้องแพทย์ที่ทำคลอดว่าคงทำอะไรผิดทำให้ลูกไม่ฉลาด เมื่อเอาประวัติมากทบทวนก็ดุว่าไม่มีอะไรผิดปกติ มีส่วนที่ว่าเด็กไปอยู่ห้องเด็กแล้วหายใจไม่คล่อง เลยย้ายไปอยู่ไอ ซี ยู เด็ก หนี่งคืนเพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิดและย้ายออกมาทีเดิมตอนเช้า จากการตรวจต่างๆ เด็กก็ไม่มีปัญหาอะไร ตกลงก็ไป พบทนาย และเรืองก็วตกลงกันได้ ไม่ต้องไปขีันศาลอีกขั้นหนีงไปแค่ Deposition
อีกรายหนี่ง เป็นคนไข้มาไม่ค่อยร่วมมือร้องเอะอะมาก เป็นคนไข้ติดยาเสพติด เวลาเบ่งก็ดิ้นไปทั้งเตียง กว่าสูติแพทย์จะได้ทำคลอด ก็ต้องมีคนจับแขนขากันมากมาย ในห้องเต็มไปด้วยพยาบาลและแพทย์ แพทย์ทางเด็กก็มา เวลาแม่มีปัญหา ต้องเรียกให้แพทย์ห้องเด็กมาตรวจเด็กตอนคลอด เนื่องจากไม่ได้รับการร่วมมือจากคนไข้ เวลาคลอดเด็ก เด็กเลยคลอดมาด้วยแขนเคลื่อนไหวไม่ได้ข้างหนี่ง แต่ก้มีการ x-ray ไม่พบว่ากระดูกหัก เป็น erbs plasty แต่แขนข้างนั้นจะอ่อนแอ ยกไม่ขีัน อาจจะหาย หรือเป็นมากก็ต้องผ่าตัดและอาจจะไม่หาย 100 % คนไข้รายนี้ก็ฟ้องทางรพ. ทันทีทีกลับบ้าน ก็ต้องไปให้การกับทนายแล้วเรื่องก็เงียบไป แสดงว่าตกลงกันได้ จากเรื่องนี้ พยาบาลทีดูแลเคส (case)นี้ ต้องเขียนรายงานอย่างละเอียดจะได้ช่วยเวลาไปตอบคำถามทนาย ต้องเขียนว่าคนไข้มาถึงสภาพอย่างไร ดิ้นมากมาย ต้องมีคนช่วย เวลาเบ่งก็ไม่เชื่อฟ้งแพทย์ ดิ้นจนแพทย์ทำคลอดในท่าที่ไม่ปกติ การทำคลอดที่ยากลำบากในท่าที่ไม่ปกติทำให้เด็กเกิดอันตรายได้ ถ้าไม่เขียน ก็จะมองไปว่าแพทย์ไม่มีความชำนาณในการทำคลอด เด็กถึงมีปัญหา รายนี้ก็ไป Deposition ทุกครั้งทีต้องไป ก็เครียดเป็นหลายเดือนจนกว่าจะจบ case
ที่เล่ามาก็เป็นคร่าวๆ พอให้เพื่อนๆ น้องๆพยาบาลทีทำงานที่อเมริกา พยายามเขียนรายงานให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะถ้าเราต้องไปพูดกับทนายฝ่ายฟ้อง เราจะได้มีหล้กฐานและสามารถพูดได้อย่างเต็มปากคำ ไม่อ้อมแอ้ม ตอบคิดว่า คงทำ เพราะเขาก็ไม่เชื่อเราอยู่ดี อะไรที่ไม่ได้เขียนลงเขาก็ถือว่าไม่ได้ทำ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างนะคะ
ข้างล่างนี้เป็นราคาเบีัยประกันที่ แพทย์แต่ละสาขาต้องจ่ายประจำปีและความหมายของ Depositionไม่ได้แปลนะคะ จขบ.ได้ประสบการณ์ มาสามครั้งและครั้งที่สี่ก็รออยู่ ถ้าเขาตกลงกันได้ จขบ.ก็ไม่ต้องไปค่ะ แต่เขาก็จะไม่ได้บอกว่าเราไปไหนไม่ได้ เขาติดต่อมาว่าเราว่างตอนไหน และก็ไม่รึบร้อน การฟ้องแต่ละเรื่องถึงกินเวลานานมาก กว่าแต่ละคนจะว่างไปให้การ อาจจะเป็นเพราะว่าตอนนี้จขบ.ไม่ได้ทำงาน เขาก็ต้องรอเราว่าง ไม่บังคับเรา เพราะถือเราไปให้การเป็นผลประโยชน์แก่ทางรพ.
2009 แต่ละแห่งเสียค่าเบีัยประกันต่างกันมาก เอามาให้ชมสามแห่งค่ะ Request a Free Medical Malpractice Insurance Quote in New York
Medical Liability Mutual Insurance Co. (MLMIC) - $1.3M/$3.9M limits are shown
NEW YORK INTERNAL MEDICINE $25,814 GENERAL SURGERY $82,473 OB/GYN $137,642
Nassau and Suffolk Counties per year Internal Medicine $33,360 General Surgery $106,583 OB/GYN $177,880
Upstate New York per year Internal medicine $9,404 General Surgery $30,045 OBS?GYN $50,143
Deposition
The testimony of a party or witness in a civil or criminal proceeding taken before trial, usually in an attorney's office.
Deposition testimony is taken orally, with an attorney asking questions and the deponent (the individual being questioned) answering while a court reporter or tape recorder (or sometimes both) records the testimony. Deposition testimony
is generally taken under oath, and the court reporter and the deponent often sign affidavits attesting to the accuracy of the subsequent printed transcript.
Depositions are a discovery tool. (Discovery is the process of assembling the testimonial and documentary evidence in a case before trial.) Other forms of discovery include interrogatories (written questions that are provided to a party and require written answers) and requests for production of documents.
Depositions are commonly used in civil litigation (suits for money damages or equitable relief); they are not commonly used in criminal proceedings (actions by a government entity seeking fines or imprisonment). A minority of states provide for depositions in criminal matters under special circumstances, such as to compel statements from an uncooperative witness and a few provide for depositions in criminal matters generally.

Create Date : 06 สิงหาคม 2554 |
Last Update : 13 เมษายน 2555 6:14:56 น. |
|
26 comments
|
Counter : 5231 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ทนายเบิ้ม IP: 203.155.234.98 วันที่: 6 สิงหาคม 2554 เวลา:20:37:31 น. |
|
|
|
โดย: newyorknurse (newyorknurse ) วันที่: 6 สิงหาคม 2554 เวลา:21:13:54 น. |
|
|
|
โดย: หมูตอนพ่อเต๊าะ IP: 58.137.174.225 วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:11:36:29 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:12:04:48 น. |
|
|
|
โดย: ก้อนเงิน วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:20:50:36 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:21:27:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:6:52:52 น. |
|
|
|
โดย: panwat วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:8:11:27 น. |
|
|
|
โดย: newyorknurse (newyorknurse ) วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:8:18:44 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:12:13:44 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:14:20:59 น. |
|
|
|
โดย: ปรียนิตย์ วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:14:38:56 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:18:04:33 น. |
|
|
|
โดย: find me pr วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:18:55:52 น. |
|
|
|
โดย: ก้อนเงิน วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:20:21:39 น. |
|
|
|
โดย: คนบ้า(น)ป่า (nulaw.m ) วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:21:54:02 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:23:32:46 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:6:42:24 น. |
|
|
|
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:8:38:18 น. |
|
|
|
โดย: jamaica วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:9:26:51 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:9:48:10 น. |
|
|
|
โดย: mamamodern วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:10:54:01 น. |
|
|
|
โดย: find me pr วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:13:02:18 น. |
|
|
|
โดย: วนารักษ์ วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:13:57:01 น. |
|
|
|
|
|
|
|