ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 196 "สาเหตุของความล้มเหลว"
ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 196 "สาเหตุของความล้มเหลว" โจทย์โดยคุณ toor 36
ระยะนี้เพื่อนๆพยาบาลที่มาทำงานที่อเมริกาจนเกษียณกัน คนทีมีครอบครัวก็ยังอยู่อเมริกา ช่วยดูแลหลานๆ อยู่กับลูกหลาน ส่วนคนที่ไม่มีครอบครัว ก็อยู่กันเอง หรือบางคนก็อยู่กับเพื่อน สว.รุ่นนี้ ก็เริ่มกลับมาเมืองไทยกัน หรือวางแผนจะกลับเมืองไทยกัน แต่บางคนก็ไม่กล้ากลับเมืองไทย เพราะเรื่องประกันสุขภาพ อยู่ที่ อเมริกา จะมีประกันสุขภาพกัน ถ้ากลับมาเมืองไทยประกันสุขภาพ จะไม่จ่ายนอกประเทศ นอกจากป่วยฉุกเฉิน เลยทำให้หลายๆท่าน ไม่กล้ากลับมาอยู่เมืองไทย (เอจะตรงกับโจทย์ใหมเนี่ย?)
สาเหตุของการล้มเหลว(ผิดแผน) ของเพื่อน วันนี้ขอเขียนเรื่องสาเหตุการล้มเหลวจากการวางแผนกลับมาเมืองไทย ของเพื่อน สว. คุยกับเพื่อนอยู่ชิคาโก เพื่อนบอกว่าเริ่มเบื่อๆแล้ว อยู่คนเดียว บอกว่าขายบ้านแล้วกลับไปอยู่เมืองไทยดีกว่า ก็บอกเพื่อน ว่าดีแล้ว เพราะที่เมืองไทยมีญาติพี่น้องหลายคน เพื่อนบอกว่าหมดหนาวนี้ จะจัดการเก็บบ้านและประกาศขาย คงได้กลับบ้านปลายปีนี้

เครดิตภาพจากอินเตอร์เนต
ก่อนเกษียณเพื่อนย้ายมา ซื้อบ้านอยู่ในหมู่บ้านคนสูงอายุ เจ้าของบ้าน ต้องอายุ 50 ขี้นไปเพื่อนย้ายมาสิบกว่าปีแล้ว ระยะหลังๆ เริ่มไปไหนๆไม่ ค่อยคล่อง มีปัญหาสุขภาพ เข่าก็เจ็บ เพื่อนกำลังตัดสินใจ จะกลับเมืองไทย บ้านหลังนี้คล้ายๆบ้านของเพื่อนเป็นบ้านใหญ่มาก มีห้องนอนชั้นแรกห้องรับแขก ห้องครัว ห้องอาหาร ชั้นบนมีสามห้องนอน ชั้นล่างใตัดินมีอีกสองห้องนอน บ้านนี้มีตั้ง 6 ห้องนอน บ้านใหญ่อยู่คนเดียว ก่อนนี้เพื่อนแข็งแรงดูแลบ้านไหว อายุมากขี้น เข่าก็ไม่ค่อยดี มีโรคประจำตัว ด้วย จะออกนอกบ้านก็ลำบากต้องอาศัยเพื่อนบ้าน เพื่อนเพิ่งคุยว่าดูๆแล้ว กลับมาอยู่เมืองไทยกับหลานๆจะดีกว่า เราก็สนับสนุนว่าดีแน่ๆ เพราะ อยู่คนเดียวไปไหนๆลำบาก เพื่อนกำลังคิดจะเก็บของในบ้านและวางแผน ขายบ้าน
ต่อมาแค่สองอาทิตย์ เพื่อนเดินตกบันใด กระดูกต้นแขนขวาหัก ต้องไปโรงพยา บาลแบบฉุกเฉิน ต้องทำการผ่าตัดในวันรุ่งขี้น หลังผ่าตัดก็ต้องไปอยู่โรงพยาบาล สำหรับทำกายบำบัด เพื่อนอยู่รพ.เป็นเวลา 40 กว่าวัน ลำบากมาก เพราะไม่มีเพื่อน คนไทยที่อยู่ใกล้ ที่จะไปเยี่ยมด้วย เพื่อนต้องทานอาหารอเมริกันทุกมื้อ เรียกว่า อยากจะทานข้าวต้ม ไข่เจียว ก็ไม่มี ... เพื่อนต้องอดทน เราก็ไปเยี่ยมไม่ได้ ใช้ โทรศัพท์ โทรไปให้กำลังใจทุกวัน หลังผ่าตัดต้องทำกายบำบัดและอาชีวบำบัด วันละสองครั้ง แขนขวาใช้งานไม่ได้ ซี่งเป็นแขนที่ใช้ประจำด้วย ลำบากมากใน การใช้ชีวิตประจำ ตั้งแต่ทานอาหาร อาบน้ำ และเข้าห้องน้ำ ชีวิตเปลี่ยนไปมาก
เพื่อนอยู่รพ.40 กว่าวัน สรุปญาติมารับเพื่อนกลับเมืองไทยเมื่อวันที่ 21 มกรานี้ หลานสองคนมาพากลับเมืองไทย เพื่อนต้องมารักษาต่อเมืองไทย เรื่องบ้าน ก็เลยต้องรอจนเพื่อนอาการดีแล้ว บินกลับมาจัดการเรื่องบ้านที่หลัง ซึ่งก็ไม่แน่ว่า เมื่อไรจะได้มาจัดการ แต่ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย ก็ได้จัดการให้ทนาย ทำใบมอบฉันทะให้ญาติที่มารับ กลับมาจัดการให้ถ้ากลับมาไม่ได้
(สำคัญถ้าไม่ทำใบมอบฉันทะให้ใครจัดการให้ เกิดเพื่อนเป็นอะไรไป ทรัพย์สิน 30% จะเป็นของรัฐ )
ข้อแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ
สาเหตุเพื่อนตกบันใด คือลงบันใดผิด ขั้นสุดท้าย เลยล้มแล้วใช้มือขวารับ แขนเลยหัก สว. ต้องระวังมากๆ กระดูกหักแล้วหายยาก ปัญหาเยอะ เวลาลงบันใด ห้องน้ำ ส่วนมาก สว.จะหกล้มบ่อย จากสถิติของที่นี่ สว.จะหกล้มในห้องน้ำ ตกบันใด และสำลักอาหารเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิต สว.ต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก สำลักอาหาร เคี้ยวไม่ละเอียด พูดคุย หัวเราะเวลาทานอาหาร อาหารตกลงหลอดลม หายใจไม่ออก ช่วยไม่ทัน อันตรายถึงชีวิต
******
ฝ่ายศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา July 18, 2017 · กระดูกต้นแขนหัก (humerus fracture)
มารู้จักว่าหากมีกระดูกต้นแขนหักจะเกิดไรขึ้นบ้าง รักษาอย่างไรนะครับ
บทความโดย นพ สุรศักดิ์ ศรีมงคลพิทักษ์ แพทย์หน่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
#แนะนำโรคกระดูก
กระดูกต้นแขนหักเป็น หนึ่งในภาวะกระดูกหักที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้ป่วย ที่อายุน้อยที่มี อุบัติเหตุรุนแรง หรือ อายุมากที่มีภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกหัก ชนิดนี้สามารถรักษาได้โดยการที่ไม่ต้องผ่าตัดได้บ่อยครั้ง ซึ่งโอกาสที่จะสามารถ ประสบความสำเร็จในการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด มีค่อนข้างมาก เช่น การใส่เผือก แต่อย่างไรก็ตามหากกระดูกที่หักมีการเคลื่อนมาก เพศหญิงที่มีหน้าอกใหญ่ ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้การรักษาโดยการ ใส่เผือกประสบความสำเร็จได้น้อย
ในปัจจุบันการรักษาโดยการผ่าตัดจะทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วย มี กระดูกต้นแขน ที่มีการเคลื่อนมาก กระดูกต้นแขนหักสองข้าง กระดูกต้นแขนหักที่รอยร้าว เข้าไปยังข้อศอก มีปัญหาของเส้นประสาท และเส้นเลือด ภาวะกระดูกที่มี สาเหตุมาก่อน เช่น มะเร็งที่กระดูก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนไข้เหล่านี้จะรักษา โดยการผ่าตัดจะประสบความสำเร็จมากกว่า
การผ่าตัดมีทั้งการใส่เหล็กเพื่อไปยึดตรึงกระดูก เช่น plate , intramedullary nail เป็นต้น การรักษาโดยการใช้ plate มีข้อดีที่ รอยหักจะสามารถกลับมาได้ปกติมากที่สุด แต่มีข้อเสียที่ต้อง เปิดแผลใหญ่ และมีความเสี่ยงต่อการโดนเส้นประสาท การผ่าตัดโดยใช้วิธี intramedullary nail มีข้อดีที่ เปิดแผลเล็ก ผ่าตัดใช้เวลาสั้น แต่มีข้อเสียที่ หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักมีปัญหาปวดไหล่
อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งปัญหาของกระดูกต้นแขนหักมักเกิดปัญหาแทรกซ้อน จากเรื่องเส้นประสาท radial ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ กระดกข้อมือ และ นิ้วได้ ร่วมถึงมีอาการชา ซึ่งหากพบภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น ผู้เชียวชาญมักแนะนำให้ ทำการติดตามการรักษา และ รอดูการกลับคืนมา ของภาวะเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บก่อน หากอาการไม่ดีขึ้นในระยะเวลา 4 เดือน ก็แนะนำให้ตรวจ EMG เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการผ่าตัด เพื่อดูการบาดเจ็บของเส้นประสาทต่อไป
แต่หากในตอนเริ่มแรกบาดเจ็บมีภาวะกระดูกหักที่มีแผลเปิดออกถึงกระดูก ถูกปืนยิง ถูกแทง มีภาวะเส้นเลือดได้รับการบาดเจ็บร่วมด้วย แนะนำให้ทำ การผ่าตัดในวันที่บาดเจ็บเพื่อตรวจสอบการบาดเจ็บของเส้นประสาททันที ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/orthosomdej/posts/1917727658484495
*********

เหตุผลที่เราต้องทำกายภาพหลังผ่าตัด
เหตุผลที่ 1 : เพื่อลดปวด ลดบวม ลดอักเสบบริเวณรอบๆแผลผ่าตัด
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด แน่นอนเลยหลังผ่าตัดพบว่ามีอาการปวดกันทุกราย นอกจากนี้จะมีอาการบวม แดง ร้อนด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากสารนํ้าและเลือด มาหล่อเลี้ยงบริเวณแผลมาก เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย และเส้นเลือด ฝอยบางเส้นฉีกขาดการไหลเวียนเลือดบริเวณแผลจึงทำได้ไม่ดี เกิดอาการบวมขึ้น นักกายภาพจะมีหน้าที่ลดปวด ลดบวม โดยการยกอวัยวะให้สูงกว่าระดับหัวใจ (ในกรณีที่ผ่าตัดแขนหรือขา) ประคบเย็นบริเวณแผลเพื่อลดอักเสบ กระตุ้นไฟฟ้า รอบๆแผลเพื่อลดปวด การนวดไล่สารนํ้ารอบๆแผลผ่าตัดเพื่อลดบวม ให้คำปรึกษา ในการดูแลตนเอง ข้อห้ามข้อควรระวังต่างๆ เช่น ห้ามใช้ผ้าร้อนประคบบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลบวมมากขึ้น เป็นต้น
เหตุผลที่ 2 : เพื่อฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อให้แข็งแรงดังเดิม
หลังจากที่ผ่าตัดมาใหม่ๆ คงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้ร่างกายส่วนนั้น อยู่นิ่งๆ เพื่อให้แผลยึดติดกันดี ซึ่งการที่เราไม่ขยับร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดๆ ส่วนหนึ่งนานเกิน 2 อาทิตย์ก็เพียงพอที่ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อแล้วละครับ สังเกตุง่ายๆเลย ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดขามาแล้วมาฝึกเดินใหม่ๆจะพบว่าเดินเพียง ไม่กี่ก้าวก็รู้สึกล้าขา รู้สึกเมื่อยขามากกว่าขาข้างที่ไม่ได้ผ่า หรือถ้าผ่าที่แขนก็ รู้สึกว่ายกแขนไม่กี่ทีก็ล้า แขนสั่นเมื่อยกของหนัก บางรายต้องใส่เฝือกที่แขน อีกก็มีปัญหาเรื่องไหล่ติดตามมาอีก ดังนั้น การฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อจึงมี ส่วนสำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ถ้าไม่ฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อตามที่นักกายภาพบอกละจะเกิดอะไรขึ้น?
มีผลเสียแน่นอนครับ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อสะโพก หรือข้อเข่า ท่านทั้ง หลายอาจเคยเจอญาติหรือคนรู้จักที่ผ่าตัดข้อสะโพกเสร็จแล้ว ปรากฎว่า หลังผ่าตัดผ่านไปหลายเดือนแล้วผู้ป่วยก็ยังคงเดินไม่ได้ ต้องใช้ชีวิต บนวีลแชร์ตลอดเวลา หรือที่แย่กว่านั้นก็คือ ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่เพราะ ข้อสะโพกหลุดซํ้า เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากกำลังกล้ามเนื้อที่ อ่อนแรงทั้งสิ้น ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะพยุง ข้อต่อนั่นเองครับ
เหตุผลที่ 3 : เพื่อป้องกันปัญหาข้อติด หรือเพื่อเพิ่มองศาข้อต่อที่ติดแข็ง
ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อติดหลังผ่าตัดแทบทุกรายคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด บริเวณเข่าครับ ก่อนผ่าตัดนี่ก็งอเข่าได้ดีอยู่แต่หลังผ่าตัดปรากฎงอเข่าไม่ได้ ขาแข็งทื้อเหมือนท่อนซุงกันเลย เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากอาการปวด นั่นแหละครับ ผู้ป่วยจึงเลี่ยงที่จะงอเข่า และเมื่อไม่ยอมงอเข่าติดต่อกันเป็น เวลานานเข้าจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และพังผืดภายในข้อเกิดการหดรั้ง จนในที่สุดผู้ป่วยก็เกิดภาวะข้อติดขึ้น ซึ่งสร้างปัญหาการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการนั่ง การขึ้นบันได หรือแม้กระทั่งการเดินที่ไม่สามารถงอเข่าได้เต็มที่ และเสี่ยงต่อการล้มอย่างมาก นักกายภาพจะมีบทบาทในส่วนนี้อย่างมาก ในการทำความเข้าใจกับผู้ป่วยทั้งก่อนผ่าและหลังผ่า ให้ผู้ป่วยพยายามฝืน เคลื่อนไหวข้อต่อให้ได้มากที่สุด และผู้ป่วยก็ไม่ค่อยยอมทำกันหรอกครับ เพราะมันเจ็บไงครับ นักกายภาพจึงต้องกระตุ้นผู้ป่วย ในส่วนนี้อย่างมากเลยละครับ
เครดิตภาพ
https://www.bodywisesarasota.com/
สาขา Health Blog
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากอินเตอร์เนต
newyorknurse 
Create Date : 31 มกราคม 2561 |
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2561 3:31:20 น. |
|
55 comments
|
Counter : 1722 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณกะว่าก๋า, คุณหงต้าหยา, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณThe Kop Civil, คุณmoresaw, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณkae+aoe, คุณหอมกร, คุณInsignia_Museum, คุณกาปอมซ่า, คุณALDI, คุณวลีลักษณา, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณตะลีกีปัส, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtoor36, คุณCherry_Wawa, คุณมยุรธุชบูรพา, คุณชีริว, คุณRinsa Yoyolive, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณ**mp5**, คุณSai Eeuu, คุณSweet Toddy Palm, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณSweet_pills, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณmcayenne94, คุณSakormaree, คุณชมพร, คุณก้นกะลา, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณAppleWi |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:6:07:55 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:7:47:18 น. |
|
|
|
โดย: moresaw วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:27:39 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:11:46:06 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:12:37:07 น. |
|
|
|
โดย: กาปอมซ่า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:17:39:52 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:18:04:57 น. |
|
|
|
โดย: ALDI วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:18:34:35 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:19:14:43 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:20:36:12 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:21:00:47 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:21:08:01 น. |
|
|
|
โดย: Cherry iwa วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:23:23:19 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:23:56:33 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:1:11:17 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:6:20:39 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:56:01 น. |
|
|
|
โดย: กาปอมซ่า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:12:33:39 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:58:48 น. |
|
|
|
โดย: Sai Eeuu วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:16:37:29 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:19:15:21 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:20:39:52 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:1:49:42 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:6:02:51 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:7:24:07 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:37:17 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:56:06 น. |
|
|
|
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:9:00:18 น. |
|
|
|
โดย: mcayenne94 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:11:01:00 น. |
|
|
|
โดย: Sakormaree วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:11:48:34 น. |
|
|
|
โดย: Sai Eeuu วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:44:31 น. |
|
|
|
โดย: ชมพร วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:17:39:06 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:18:52:46 น. |
|
|
|
โดย: ก้นกะลา วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:20:01:29 น. |
|
|
|
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:20:10:13 น. |
|
|
|
โดย: AppleWi วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:08:37 น. |
|
|
|
โดย: ไอเอิร์ธ วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:23:57:17 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:4:49:40 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:6:09:14 น. |
|
|
|
|
|
|
|
อรุณสวัสดิ์ครับพี่น้อย
ปัญหาเรื่องการล้มในคนสูงอายุ
เป็นปัญหาใหญ่จริงๆครับ
การรักษา 40 วัน
ผมว่าทรมานมากจริงๆครับ
ทั้งอาหาร ทั้งความเหงา
อาม่าผมล้มตอน 80
แล้วท่านก็ต้องนอนติดเตียงจน 96 ถึงเสีย
ถ้าไม่ล้มจนเดินไม่ได้ ผมว่าอาม่าคงอยู่เกิน 100 ปีแน่นอนเลยครับ
โหวตครับ